“หมอเลี้ยบ” ลั่นยืดแวต 7% อีก 2 ปีไม่ห่วงรายได้รัฐทรุด ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุด 2 จะทยอยประกาศออกมาภายในเดือนนี้ เน้นสร้างรายได้ให้กับประชาชนหลังฐานรายจ่ายเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ระบุหลังคลอดแพ็กเกจครบชุดจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างรอบด้าน ด้าน "กรณ์" จวกมาตรการภาษีสับสน ชำแหละไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมเสนอ 3 มาตรการ ปชป.เกาถูกที่คันให้
หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ออกมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันอังคารที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่ไม่มีมาตรการยืดอายุการคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% นั้น วานนี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า มาตรการภาษี 16 รายการถือว่าเป็นมาตรการชุดแรกที่รัฐบาลประกาศออกมาโดยเฉพาะมาตรการวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจะช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้มากขึ้น ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่จะหมดอายุตามมติ ครม.เดิมในวันที่ 30 กันยายนนี้นั้น รัฐบาลชุดนี้จะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% เช่นเดิมอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปี จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% หรือไม่
เหตุผลที่การประชุม ครม.วันอังคารที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไม่ได้เสนอเรื่องการคงภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังเหลือระยะเวลาอีกหลายเดือนจึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบเสนอเข้าที่ประชุมครม.แต่อย่างใด
“การคงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% อีก 2 ปีนั้นอาจกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลบ้างเล็กน้อย แต่ผมเชื่อว่าในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตในระดับนี้การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะขยายตัวตามไปด้วยตามฐานของเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน” นพ.สุรพงษ์กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลังกล่าวด้วยว่า ภายในเดือนมีนาคมนี้รัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอีกครั้งโดยจะเน้นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนมากขึ้นในช่วงที่ฐานรายจ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมาตรการชุดที่สองนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นรากหญ้า เกษตรกร ซึ่งจะต่างกับมาตรการชุดแรกที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมานั้นอยากให้คนส่วนใหญ่รอดูแพ็กเกจทั้งหมดที่จะทยอยประกาศออกมาซึ่งจะเป็นมาตรการทั้งทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี เพราะหากประกาศใช้มาตรการครบทั้งหมดจะทำให้เห็นภาพของการต่อจิ๊กซอว์ซึ่งจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบให้สามารถขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น
“มาตรการต่างๆ ที่จะทยอยออกมาจะเป็นการดูแลประชาชนได้ครบทุกภาคส่วน บางมาตรการจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น บางมาตรการจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว โดยรัฐบาลจะเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
***กรณ์จวกลดภาษีไม่ช่วยคนจนจริง
นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรค ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เงา) แถลงถึง 19 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 4 มี.ค. ว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยประชาชนเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและสูง แต่ไม่มีผลโดยตรงกับประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพ
"คิดว่ายังมีความสับสนในเป้าหมาย เพราะมาตรการกระตุ้นเงินออมจะส่งผลให้ประชาชนลดการบริโภค ซึ่งสวนทางการเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมา ผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจะน้อย เพราะโดยธรรมชาติประชาชนจะบริโภคจากเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าไม่ใช่บริโภคจากเงินที่คาดว่าจะมีในอนาคตจากการหักค่าลดหย่อนที่เพิ่มขึ้น"
นอกจากนี้ ค่าลดหย่อนที่เพิ่มให้ผู้ประกอบการ จะมีส่วนเพิ่มกำไรสุทธิของกิจการ ซึ่งโดยปกติจะกลับเข้ามาในระบบเศรษฐกิจเพียงส่วนเดียว เนื่องจากบางส่วนจะถูกเก็บเป็นกำไรสะสม และบางส่วนจะจ่ายออกไปเป็นเงินปันผลในช่วงสิ้นปี ส่งผลให้การหมุนเวียนของเงินกลับมา
นายกรณ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าถ้ารัฐบาลเสียรายได้ 40,000 ล้านบาทจริง เชื่อว่าส่วนที่จะกลับเข้ามาสู่ระบบ จะน้อยกว่านั้นแน่นอน และประชาชนที่มีรายได้ต่ำบวกกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น จะไม่มีส่วนได้ประโยชน์จากนโยบายนี้เลย ดังนั้น พรรคของเสนอแนววิธีการใช้เงินของรัฐ ที่จะส่งผลต่อการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่เดือดร้อนมากที่สุด คือการเพิ่มงบประมาณที่มีผลกับการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำลังการซื้อโดยตรง โดยอยากให้รับบาลพิจารณาเพิ่มงบประมาณ ด้วยการเสนองบกลางปี จำนวน 40,000 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อดำเนินนโยบายเร่งด่วน คือ 1. จัดให้มีการเรียนฟรีจริง ซึ่งพรรคประเมินว่าจะต้องใช้งบประมาณทั้งหมด 35,000 ล้านบาท ให้ทันเปิดเทอมเดือนพฤษภาคมนี้ 2. จัดงบประมาณเบี้ยเลี้ยงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานทั่วประเทศ ปีละ 5,700 ล้านบาท และ 3.สนับสนุนโครงการเอสเอ็มแอล ด้วยงบประมาณเพิ่มเติม 19,000 ล้านบาท สบทบกับงบโครงการอยู่ดีมีสุขปี 2551 จำนวน 18,000 ล้านบาท
" ทั้ง 3 มาตรการนี้ จะส่งผลทั้งในแง่ของการสร้างความยุติธรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมได้ทันทีและได้ผลมากกว่ามาตรการที่รัฐบาลประกาศ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์คือประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยข้อเสนอเหล่านี้ ตนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเงา ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะนำเสนอต่อรัฐบาลในรูปแบบใด ทั้งนี้ คิดว่ารัฐบาลน่าจะรับฟังข้อเสนอของพรรค มากกว่าที่จะมองว่าเป็นนโยบายของพรรคใดพรรคหนึ่ง" นายกรณ์กล่าว
หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ออกมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันอังคารที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่ไม่มีมาตรการยืดอายุการคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% นั้น วานนี้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า มาตรการภาษี 16 รายการถือว่าเป็นมาตรการชุดแรกที่รัฐบาลประกาศออกมาโดยเฉพาะมาตรการวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจะช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้มากขึ้น ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่จะหมดอายุตามมติ ครม.เดิมในวันที่ 30 กันยายนนี้นั้น รัฐบาลชุดนี้จะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% เช่นเดิมอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปี จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% หรือไม่
เหตุผลที่การประชุม ครม.วันอังคารที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไม่ได้เสนอเรื่องการคงภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากยังเหลือระยะเวลาอีกหลายเดือนจึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบเสนอเข้าที่ประชุมครม.แต่อย่างใด
“การคงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% อีก 2 ปีนั้นอาจกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลบ้างเล็กน้อย แต่ผมเชื่อว่าในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตในระดับนี้การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะขยายตัวตามไปด้วยตามฐานของเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน” นพ.สุรพงษ์กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลังกล่าวด้วยว่า ภายในเดือนมีนาคมนี้รัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอีกครั้งโดยจะเน้นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนมากขึ้นในช่วงที่ฐานรายจ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมาตรการชุดที่สองนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นรากหญ้า เกษตรกร ซึ่งจะต่างกับมาตรการชุดแรกที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมานั้นอยากให้คนส่วนใหญ่รอดูแพ็กเกจทั้งหมดที่จะทยอยประกาศออกมาซึ่งจะเป็นมาตรการทั้งทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี เพราะหากประกาศใช้มาตรการครบทั้งหมดจะทำให้เห็นภาพของการต่อจิ๊กซอว์ซึ่งจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบให้สามารถขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น
“มาตรการต่างๆ ที่จะทยอยออกมาจะเป็นการดูแลประชาชนได้ครบทุกภาคส่วน บางมาตรการจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น บางมาตรการจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว โดยรัฐบาลจะเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพต่อไป” รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
***กรณ์จวกลดภาษีไม่ช่วยคนจนจริง
นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรค ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เงา) แถลงถึง 19 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 4 มี.ค. ว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยประชาชนเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและสูง แต่ไม่มีผลโดยตรงกับประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพ
"คิดว่ายังมีความสับสนในเป้าหมาย เพราะมาตรการกระตุ้นเงินออมจะส่งผลให้ประชาชนลดการบริโภค ซึ่งสวนทางการเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมา ผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจะน้อย เพราะโดยธรรมชาติประชาชนจะบริโภคจากเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าไม่ใช่บริโภคจากเงินที่คาดว่าจะมีในอนาคตจากการหักค่าลดหย่อนที่เพิ่มขึ้น"
นอกจากนี้ ค่าลดหย่อนที่เพิ่มให้ผู้ประกอบการ จะมีส่วนเพิ่มกำไรสุทธิของกิจการ ซึ่งโดยปกติจะกลับเข้ามาในระบบเศรษฐกิจเพียงส่วนเดียว เนื่องจากบางส่วนจะถูกเก็บเป็นกำไรสะสม และบางส่วนจะจ่ายออกไปเป็นเงินปันผลในช่วงสิ้นปี ส่งผลให้การหมุนเวียนของเงินกลับมา
นายกรณ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าถ้ารัฐบาลเสียรายได้ 40,000 ล้านบาทจริง เชื่อว่าส่วนที่จะกลับเข้ามาสู่ระบบ จะน้อยกว่านั้นแน่นอน และประชาชนที่มีรายได้ต่ำบวกกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น จะไม่มีส่วนได้ประโยชน์จากนโยบายนี้เลย ดังนั้น พรรคของเสนอแนววิธีการใช้เงินของรัฐ ที่จะส่งผลต่อการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่เดือดร้อนมากที่สุด คือการเพิ่มงบประมาณที่มีผลกับการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำลังการซื้อโดยตรง โดยอยากให้รับบาลพิจารณาเพิ่มงบประมาณ ด้วยการเสนองบกลางปี จำนวน 40,000 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อดำเนินนโยบายเร่งด่วน คือ 1. จัดให้มีการเรียนฟรีจริง ซึ่งพรรคประเมินว่าจะต้องใช้งบประมาณทั้งหมด 35,000 ล้านบาท ให้ทันเปิดเทอมเดือนพฤษภาคมนี้ 2. จัดงบประมาณเบี้ยเลี้ยงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานทั่วประเทศ ปีละ 5,700 ล้านบาท และ 3.สนับสนุนโครงการเอสเอ็มแอล ด้วยงบประมาณเพิ่มเติม 19,000 ล้านบาท สบทบกับงบโครงการอยู่ดีมีสุขปี 2551 จำนวน 18,000 ล้านบาท
" ทั้ง 3 มาตรการนี้ จะส่งผลทั้งในแง่ของการสร้างความยุติธรรมและการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมได้ทันทีและได้ผลมากกว่ามาตรการที่รัฐบาลประกาศ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์คือประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยข้อเสนอเหล่านี้ ตนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเงา ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะนำเสนอต่อรัฐบาลในรูปแบบใด ทั้งนี้ คิดว่ารัฐบาลน่าจะรับฟังข้อเสนอของพรรค มากกว่าที่จะมองว่าเป็นนโยบายของพรรคใดพรรคหนึ่ง" นายกรณ์กล่าว