ศูนย์ข้อมูลฯ สรุปตัวเลขสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ปี 50 พบ สินเชื่อบุคคลยอดปล่อย 270,466 ล้านบาทโตเพียง 3% ขณะที่สินเชื่อคงค้างผู้ประกอบการลดลง 3% ชี้ผู้ประกอบการหันออกหุ้นกู้แทน 59,492 ล้านบาท โต 49% ไตรมาสสามฮอตสุด 22,792 ล้านบาท
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่และมูลค่าสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ต่างเพิ่มขึ้น แต่หุ้นกู้อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อนแรงกว่า โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 49
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ปี 2550 ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ มีมูลค่ารวม 270,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปี 2549 ที่มีมูลค่ารวม 262,993 ล้านบาท และยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากมูลค่าคงค้างประมาณ 1.35 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549 เป็นประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2550
ในไตรมาสแรกของปี 2550 สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมกันเพียง 59,486 ล้านบาท แต่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในแต่ละไตรมาสถัดมา กล่าวคือ เพิ่มขึ้นเป็น 67,198 ล้านบาทในไตรมาสที่สอง เพิ่มขึ้นเป็น 69,057 ล้านบาทในไตรมาสที่สาม และขยายมากขึ้นอีกเป็น 74,725 ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปี
ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงตลอดทั้งปี 2550 อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ได้หันมาแข่งขันกันในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างดุเดือด โดยมียอดปล่อยสินเชื่อที่อยู่บุคคลทั่วไปเฉพาะธนาคารพาณิชย์ในปี 2550 เป็นมูลค่าถึง 161,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับยอด 127,761 ล้านบาทในปี 2549 และหากทิศทางดอกเบี้ยในปี 2551 ยังคงเป็นขาลง คาดว่าตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณร้อยละ 5
สำหรับสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในรอบปี 2550 มีมูลค่ารวม 31,448 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับมูลค่า 29,404 ล้านบาทในรอบปี 2549 แต่ยอดสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยคงค้างกลับลดลงประมาณร้อยละ 3 โดย ณ สิ้นปี 2550 มียอดคงค้างประมาณ 178,994 ล้านบาท เทียบกับยอดคงค้างประมาณ 183,864 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549
ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้มากกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 โดยในปี 2549 มีการออกหุ้นกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์รวมกันประมาณ 39,980 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 59,492 ล้านบาทในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้น 49% โดยในไตรมาสสามมีการออกหุ้นกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดในปี 2550 ถึง 22,792 ล้านบาท
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่และมูลค่าสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ต่างเพิ่มขึ้น แต่หุ้นกู้อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อนแรงกว่า โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 49
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ปี 2550 ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ มีมูลค่ารวม 270,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปี 2549 ที่มีมูลค่ารวม 262,993 ล้านบาท และยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากมูลค่าคงค้างประมาณ 1.35 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549 เป็นประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2550
ในไตรมาสแรกของปี 2550 สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมกันเพียง 59,486 ล้านบาท แต่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในแต่ละไตรมาสถัดมา กล่าวคือ เพิ่มขึ้นเป็น 67,198 ล้านบาทในไตรมาสที่สอง เพิ่มขึ้นเป็น 69,057 ล้านบาทในไตรมาสที่สาม และขยายมากขึ้นอีกเป็น 74,725 ล้านบาทในไตรมาสสุดท้ายของปี
ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลงตลอดทั้งปี 2550 อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ได้หันมาแข่งขันกันในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างดุเดือด โดยมียอดปล่อยสินเชื่อที่อยู่บุคคลทั่วไปเฉพาะธนาคารพาณิชย์ในปี 2550 เป็นมูลค่าถึง 161,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับยอด 127,761 ล้านบาทในปี 2549 และหากทิศทางดอกเบี้ยในปี 2551 ยังคงเป็นขาลง คาดว่าตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณร้อยละ 5
สำหรับสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในรอบปี 2550 มีมูลค่ารวม 31,448 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับมูลค่า 29,404 ล้านบาทในรอบปี 2549 แต่ยอดสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยคงค้างกลับลดลงประมาณร้อยละ 3 โดย ณ สิ้นปี 2550 มียอดคงค้างประมาณ 178,994 ล้านบาท เทียบกับยอดคงค้างประมาณ 183,864 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2549
ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้มากกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 โดยในปี 2549 มีการออกหุ้นกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์รวมกันประมาณ 39,980 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 59,492 ล้านบาทในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้น 49% โดยในไตรมาสสามมีการออกหุ้นกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดในปี 2550 ถึง 22,792 ล้านบาท