ผู้ประกอบการอสังหาฯ-บริษัทบริหารกองทุนฯนอก ยัน พิษซับไพรม์ที่ลามกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างหนัก ไม่กระทบต่อการเข้ามาลงทุนโครงการอสังหาฯในไทย "ธีระชน มโนมัยพิบูลย์" ชี้นักลงทุนฮ่องกงและสิงคโปร์จ่อเข้ามาอีกเพียบ หากธปท.ยกเลิกกันสำรอง 30% ด้านบริษัทแปซิฟิค สตาร์ฯ จากสิงคโปร์ ระบุผู้ลงทุนต่างชาติไม่ถอดใจถอนเงินออก
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยถึงกรณีความรุนแรงของผลกระทบสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในสหรัฐอเมริกา (ซับไพรม์ ) ที่เกิดขึ้นจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และอาจส่งผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้าลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยว่า จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนจากประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาฯและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะเมื่อความเชื่อมั่นด้านการเมือง ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา ต่างชาติยอมรับในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ แต่ปัญหาที่คงมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของต่างประเทศ คือ การกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
" การตั้งสำรอง 30% ดังกล่าว มีผลอยู่บ้างต่อการเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากกังวลว่า เงินลงทุนที่นำเข้ามาแล้ว ส่วนหนึ่งจะต้องกันไว้ตามเกณฑ์ของธปท. ขณะที่หากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะทำให้ไม่สามารถถอนการลงทุนออกไปได้ทั้งหมด แต่หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินลงทุน30% จะช่วยให้นักลงทุนกล้าที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น "นายธีระชน กล่าวถึงผลบวกหากมีการยกเลิก 30%
นายธีระชน กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาซับไพรม์มาแล้วหลายๆ ด้าน ทั้งการพยายามลดค่าเงิน การออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกบ้าง เนื่องจากวงเงินในระบบเศรษฐกิจของอเมริกาฯ มีขนาดใหญ่มากทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และอาจส่งผลโดยรวมต่อเศรษฐกิจโลกบ้าง โดยเฉพาะประเทศยุโรป ส่วนประเทศในกลุ่มเอเชีย จะได้รับผลกระทบที่น้อย
"ที่ผ่านมา การลงทุนของสหรัฐฯในต่างประเทศ จะเลือกและทยอยลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว หรืออาจจะได้รับผลกระทบที่น้อย เช่นเดียวกับประเทศต่างๆที่เข้ามาลงทุนในในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่ต่ำ ทำให้เชื่อว่า ทิศทางการลงทุนในประเทศไทย ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง มีความต้องการที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง "
สำหรับแนวโน้มการเปิดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการในประเทศ นายธีระชนกล่าวเชื่อว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์บ้าง แต่ในระยะยาวแล้วปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขไปได้ ซึ่งล่าสุดได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง0.75% เพื่อช่วยให้ค่าเงินอ่อนตัวลง และกระตุ้นการบริโภคในประเทศ คาดว่ามาตรการที่สหรัฐฯทำ จะส่งผลให้เห็นได้ชัดเจนในเดือน มี.ค.นี้
ทางด้านการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ มูลค่า 500 ล้านบาท นายธีระชนกล่าวว่า จะไม่มีการชะลอการขายระดมทุน โดยคาดว่า เมื่อได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 51
นายอุรเสฏฐ นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการด้านบริหารสินทรัพย์บริษัทแปซิฟิค สตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์จากต่างประเทศที่บริษัทบริหารอยู่ จะชะลอการเข้ามาลงทุนในโครงการอสังหาฯในไทย หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับผลกระทบมากขึ้นจากวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ โดยแนวทางการลงทุนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะดึงผู้ลงทุนจากต่างประเทศร่วมกันจัดตั้งกองทุนอสังหาฯได้ จากนโยบายที่เฟดใช้มาตรการรุนแรงลดดอกเบี้ยลงถึง 0.75%
" หากกรณีดอกเบี้ยในประเทศต่ำลง การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทโครงการอสังหาฯจะให้ผลตอบแทนคืนที่ดีสูงขึ้น ซึ่งการลงทุนโครงการอสังหาฯของบริษัท จะให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของการลงทุน หรือ IRR ประมาณ 10% และหากแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศขาลง คาดว่า IRR จะสูงกว่านี้ แต่ทั้งหมดแล้ว ประเด็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไทยก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน "นายอุรเสฏฐ กล่าว
อนึ่ง ในปี 2551 ทางกองทุนรวมอสังหาฯที่บริษัทฯบริหารอยู่ มีแผนที่จะเข้าลงทุนโครงการอสังหาฯในหลากหลายประเภท ทั้ง โครงการอสังหาฯตามเมืองท่องเที่ยว โครงการอาคารสำนักงานให้เช่า คาดว่าจะมีการลงทุนใหม่ใน 2-3 โครงการ มูลค่าขายกว่า 10,000 ล้านบาท และก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯยังได้นำเงินทุนจากกองทุนจากกองทุนเอเชีย เรียล เอสเตท อินคัม ฟันด์ หรือ( AREIF ) และกองทุนเอเชีย เรียล เอสเตท ไพร์ม ดีเวลลอปเม้นท์ ฟันด์ หรือ (AREPDF ) เข้ามาลงทุนอสังหาฯในไทย
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF เปิดเผยถึงกรณีความรุนแรงของผลกระทบสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพในสหรัฐอเมริกา (ซับไพรม์ ) ที่เกิดขึ้นจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และอาจส่งผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้าลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทยว่า จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนจากประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อตลาดอสังหาฯและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะเมื่อความเชื่อมั่นด้านการเมือง ซึ่งหลังจากที่มีการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา ต่างชาติยอมรับในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ แต่ปัญหาที่คงมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของต่างประเทศ คือ การกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
" การตั้งสำรอง 30% ดังกล่าว มีผลอยู่บ้างต่อการเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากกังวลว่า เงินลงทุนที่นำเข้ามาแล้ว ส่วนหนึ่งจะต้องกันไว้ตามเกณฑ์ของธปท. ขณะที่หากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะทำให้ไม่สามารถถอนการลงทุนออกไปได้ทั้งหมด แต่หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินลงทุน30% จะช่วยให้นักลงทุนกล้าที่จะตัดสินใจเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น "นายธีระชน กล่าวถึงผลบวกหากมีการยกเลิก 30%
นายธีระชน กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาซับไพรม์มาแล้วหลายๆ ด้าน ทั้งการพยายามลดค่าเงิน การออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกบ้าง เนื่องจากวงเงินในระบบเศรษฐกิจของอเมริกาฯ มีขนาดใหญ่มากทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และอาจส่งผลโดยรวมต่อเศรษฐกิจโลกบ้าง โดยเฉพาะประเทศยุโรป ส่วนประเทศในกลุ่มเอเชีย จะได้รับผลกระทบที่น้อย
"ที่ผ่านมา การลงทุนของสหรัฐฯในต่างประเทศ จะเลือกและทยอยลงทุนในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว หรืออาจจะได้รับผลกระทบที่น้อย เช่นเดียวกับประเทศต่างๆที่เข้ามาลงทุนในในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่ต่ำ ทำให้เชื่อว่า ทิศทางการลงทุนในประเทศไทย ยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง มีความต้องการที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง "
สำหรับแนวโน้มการเปิดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการในประเทศ นายธีระชนกล่าวเชื่อว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์บ้าง แต่ในระยะยาวแล้วปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขไปได้ ซึ่งล่าสุดได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง0.75% เพื่อช่วยให้ค่าเงินอ่อนตัวลง และกระตุ้นการบริโภคในประเทศ คาดว่ามาตรการที่สหรัฐฯทำ จะส่งผลให้เห็นได้ชัดเจนในเดือน มี.ค.นี้
ทางด้านการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ มูลค่า 500 ล้านบาท นายธีระชนกล่าวว่า จะไม่มีการชะลอการขายระดมทุน โดยคาดว่า เมื่อได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 51
นายอุรเสฏฐ นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการด้านบริหารสินทรัพย์บริษัทแปซิฟิค สตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์จากต่างประเทศที่บริษัทบริหารอยู่ จะชะลอการเข้ามาลงทุนในโครงการอสังหาฯในไทย หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับผลกระทบมากขึ้นจากวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ โดยแนวทางการลงทุนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะดึงผู้ลงทุนจากต่างประเทศร่วมกันจัดตั้งกองทุนอสังหาฯได้ จากนโยบายที่เฟดใช้มาตรการรุนแรงลดดอกเบี้ยลงถึง 0.75%
" หากกรณีดอกเบี้ยในประเทศต่ำลง การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทโครงการอสังหาฯจะให้ผลตอบแทนคืนที่ดีสูงขึ้น ซึ่งการลงทุนโครงการอสังหาฯของบริษัท จะให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของการลงทุน หรือ IRR ประมาณ 10% และหากแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศขาลง คาดว่า IRR จะสูงกว่านี้ แต่ทั้งหมดแล้ว ประเด็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไทยก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน "นายอุรเสฏฐ กล่าว
อนึ่ง ในปี 2551 ทางกองทุนรวมอสังหาฯที่บริษัทฯบริหารอยู่ มีแผนที่จะเข้าลงทุนโครงการอสังหาฯในหลากหลายประเภท ทั้ง โครงการอสังหาฯตามเมืองท่องเที่ยว โครงการอาคารสำนักงานให้เช่า คาดว่าจะมีการลงทุนใหม่ใน 2-3 โครงการ มูลค่าขายกว่า 10,000 ล้านบาท และก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯยังได้นำเงินทุนจากกองทุนจากกองทุนเอเชีย เรียล เอสเตท อินคัม ฟันด์ หรือ( AREIF ) และกองทุนเอเชีย เรียล เอสเตท ไพร์ม ดีเวลลอปเม้นท์ ฟันด์ หรือ (AREPDF ) เข้ามาลงทุนอสังหาฯในไทย