ผลิตภัณฑ์พลาสติก-น้ำมันพืช เจอพิษยักษ์ค้าปลีกอีกแล้ว รีดค่าแรกเข้าค่าธรรมเนียมพิเศษมหาโหด “พาณิชย์” เรียกให้ข้อมูล พร้อมจับมือให้ทั้งสองฝ่ายเซ็น MOU แก้ไขปัญหา ส่วนข้าวถุงที่โดนโขกก่อนหน้า คาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ “ยรรยง” เดินหน้าดูแลโชวห่วยช่วงไร้กฎหมาย มั่นใจหลักเกณฑ์การขยายสาขาได้รับการยอมรับ จัดเวิร์กชอป 9 ม.ค.นี้ ดึงโชวห่วยอาเซียนร่วมแจงปัญหาและแนวทางแก้ไข
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ทางกรมจะเรียกผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำมันพืช มาให้ข้อมูลกรณีร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (เอนทรานซ์ฟี) และเรียกเก็บค่าล่วนลดที่ทำยอดขายสินค้าได้ตามเป้า (รีเบต) อย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อน
โดยแนวทางแก้ไขปัญหาจะใช้แนวทางเช่นเดียวกับข้าวถุง ที่จะให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะให้มีการระบุอัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้ชัดเจน และเป็นธรรม
“ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน ได้แก่ ถ้วย ชาม แก้วน้ำ ถังน้ำ กล่องเก็บของ และมีการร้องเรียนว่าถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ แพงมาก กรมจึงต้องเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ สำหรับน้ำมันพืช มีลักษณะเดียวกัน ซึ่งกรมจะหาทางให้ทั้งสองฝ่ายมีการเซ็น MOU ร่วมกัน” นายยรรยง กล่าว
ส่วนความคืบหน้าการลงนามใน MOU ระหว่างร้านค้าปลีกขนาดใหญ่กับผู้ประกอบการข้าวถุงนั้น ล่าสุด ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือร่วมกันแล้ว คาดว่า จะมีการลงนามได้ในเร็วๆ นี้ โดยสาระสำคัญจะมีการระบุชัดเจนว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า จะเรียกเก็บในอัตราเท่าใด คำนวณจากอะไร ค่ารีเบต ที่ผู้ผลิตสินค้าจะต้องจ่ายให้แก่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ จะคิดจากอะไรมีอัตราเท่าใด รวมทั้งจะมีการกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินค่าสินค้าที่ชัดเจน เป็นต้น
นายยรรยง กล่าวอีกว่า สำหรับการดูแลร้านค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก (โชวห่วย) ในช่วงที่ไม่มีกฎหมายค้าปลีก ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และโชวห่วย ไปหารือร่วมกันว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กรม กำหนดในการขยายสาขาของค้าปลีกประเภทต่างๆ โดยดูจากระยะห่างจากตัวเมือง ระยะเวลาเปิด-ปิด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้เช่นกัน โดยล่าสุด ร้านค้าปลีกรายใหญ่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ส่วนเทสโก้ โลตัส ยังไม่มีความชัดเจนแต่เชื่อว่าจะให้ความร่วมมือเช่นกัน
นอกจากนี้ ในวันที่ 8 ม.ค.2551 นี้ กรมจะจัดให้มีการประชุมผู้บริหารนโยบายค้าปลีก-ค้าส่งแห่งเอเชีย โดยเชิญผู้แทนจากภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบกฎระเบียบว่าด้วยการค้าปลีก-ค้าส่ง และผู้แทนจากสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งดั้งเดิมจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และญี่ปุ่น มาร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงนโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ของประเทศต่างๆ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน จะมีการชี้แจงถึงแนวทางในการปรับตัวและการพัฒนาของโชวห่วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ด้วย
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ทางกรมจะเรียกผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำมันพืช มาให้ข้อมูลกรณีร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า (เอนทรานซ์ฟี) และเรียกเก็บค่าล่วนลดที่ทำยอดขายสินค้าได้ตามเป้า (รีเบต) อย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อน
โดยแนวทางแก้ไขปัญหาจะใช้แนวทางเช่นเดียวกับข้าวถุง ที่จะให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะให้มีการระบุอัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้ชัดเจน และเป็นธรรม
“ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน ได้แก่ ถ้วย ชาม แก้วน้ำ ถังน้ำ กล่องเก็บของ และมีการร้องเรียนว่าถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ แพงมาก กรมจึงต้องเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ สำหรับน้ำมันพืช มีลักษณะเดียวกัน ซึ่งกรมจะหาทางให้ทั้งสองฝ่ายมีการเซ็น MOU ร่วมกัน” นายยรรยง กล่าว
ส่วนความคืบหน้าการลงนามใน MOU ระหว่างร้านค้าปลีกขนาดใหญ่กับผู้ประกอบการข้าวถุงนั้น ล่าสุด ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือร่วมกันแล้ว คาดว่า จะมีการลงนามได้ในเร็วๆ นี้ โดยสาระสำคัญจะมีการระบุชัดเจนว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า จะเรียกเก็บในอัตราเท่าใด คำนวณจากอะไร ค่ารีเบต ที่ผู้ผลิตสินค้าจะต้องจ่ายให้แก่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ จะคิดจากอะไรมีอัตราเท่าใด รวมทั้งจะมีการกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินค่าสินค้าที่ชัดเจน เป็นต้น
นายยรรยง กล่าวอีกว่า สำหรับการดูแลร้านค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก (โชวห่วย) ในช่วงที่ไม่มีกฎหมายค้าปลีก ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และโชวห่วย ไปหารือร่วมกันว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กรม กำหนดในการขยายสาขาของค้าปลีกประเภทต่างๆ โดยดูจากระยะห่างจากตัวเมือง ระยะเวลาเปิด-ปิด ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้เช่นกัน โดยล่าสุด ร้านค้าปลีกรายใหญ่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ส่วนเทสโก้ โลตัส ยังไม่มีความชัดเจนแต่เชื่อว่าจะให้ความร่วมมือเช่นกัน
นอกจากนี้ ในวันที่ 8 ม.ค.2551 นี้ กรมจะจัดให้มีการประชุมผู้บริหารนโยบายค้าปลีก-ค้าส่งแห่งเอเชีย โดยเชิญผู้แทนจากภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบกฎระเบียบว่าด้วยการค้าปลีก-ค้าส่ง และผู้แทนจากสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งดั้งเดิมจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และญี่ปุ่น มาร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงนโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ของประเทศต่างๆ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน จะมีการชี้แจงถึงแนวทางในการปรับตัวและการพัฒนาของโชวห่วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ด้วย