xs
xsm
sm
md
lg

รู้ยัง ! ไออย่างนี้...กินยาแบบไหน / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

“สวัสดีครับเฮีย” พี่หมอทันคุณชูสง่าในเช้าวันหนึ่งขณะฝนพรำ เฮียรับไหว้...ขยับปาก แต่ไม่มีเสียงออกมา แต่กลับเป็ฯกระแอมไอถี่ ๆ ส่อว่าหลอดลมอักเสบจากหวัดชัดเจน เจ้าเก่งสบตาพี่หมอแล้วกล่าว “เฮียกับผม เพิ่งตรวจ ATK ไปเมื่อกี้ เน็กกาทีฟ ทั้งคู่ครับ” “เออ! ดีมาก...เดี๋ยวพี่หมอหายาแก้ไอให้กิน ไอมีเสมหะอย่างนี้ ต้องกินยาละลายเสมหะดีกว่า” “แล้วผมไอแห้ง ๆ ครับ กินยาแบบไหน” “ของมึงไม่ต้องกินยา...เปลือง! ไปอดบุหรี่..ไป”

ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาขับเสมหะ แต่ละตัวยาใช้ต่างกันอย่างไร ถ้าไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ เลือกใช้ตัวยาไหนดี

ยาแก้ไอ หรือ ยาละลายเสมหะ ที่เราเคยได้จากเภสัชกร หรือหมอ บางทีก็มาในรูปยาแก้ไอแบบเม็ด ยาน้ำ หรือยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ ซึ่งก็อาจทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า นี่เราต้องกินยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ หรือกินยาตัวไหน ไอแบบมีเสมหะต้องใช้ยาอะไร หรือเสมหะลงปอดไปแล้วอยากขับเสมหะ ใช้ยาตัวไหนดี วันนี้มาทำความเข้าใจกันหน่อย

เราต้องรู้ก่อนว่า ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ และยาขับเสมหะ เป็นยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการไอ ด้วยกันทั้งนั้น โดยแต่ละตัวก็จะมีสรรพคุณที่ต่างกันออกไป ดังนี้

- ยาแก้ไอที่ออกฤทธิ์ ระงับ หรือลดอาการไอ (Antitussive) ยาแก้ไอที่นิยมใช้กัน จะเป็นกลุ่มยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan), โคเดอีน (Codeine) หรือ ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง ทำให้อาการไอลดลงได้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไอแห้งเรื้อรังจนเจ็บหน้าอกหรือไอจนอาเจียน แต่ไม่สามารถรักษาอาการไอจากการสูบบุหรี่ ไอจากโรคหืด ไอจากถุงลมโป่งพอง หรือจากผลข้างเคียงของยารักษาความดันได้ ในกรณีไอไม่มาก แพทย์จะไม่จ่ายยาแก้ให้ เพราะการไอเป็นกลไกที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ ทั้งยานี้อาจทำให้เสมหะเหนียวขึ้นได้ด้วย

ข้อควรระวัง คือ ยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับรถ หากใช้นานอาจทำให้เสพติดได้ และหากใช้เกินขนาด จะมีอาการคลื่นไส้ อาจียน เกร็งกระดูก พูดไม่ชัด หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ประสาทหลอน กดการหายใจ อาจถึงตายได้

- ยาขับเสมหะ (Expectorants) ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ไกวเฟนิซิน หรือ กลีเซอริล ไกรอะคอเลต รวมทั้งสมุนไพรไทยอย่างมะขามป้อม หรือมะแว้ง ซึ่งเหมาะกับอาการไอแบบมีเสมหะ เช่น หลอดลมอักเสบโรคภูมิแพ้ และจากโควิด 19 ยากลุ่มนี้มีสรรพคุณกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจให้ขับสารเหลวออกมามากขึ้น ทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง เพื่อให้ขับออกง่ายขึ้น ดังนั้น ในระยะแรก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีเสมหะเยอะไอมากขึ้นได้ และเมื่อไอเสมหะออกมาหมดจะรู้สึกโล่งขึ้น

- ยาละลายเสมหะ (Mucolytic) ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ อะเวทิสซีสเทอีนบรอมเฮกซีน แอมบรอกซอล เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ เพื่อให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น โดยไม่ได้เพิ่มปริมาณของเสมหะเหมือนยาขับเสมหะ ผลข้างเคียงที่อาจพบแต่น้อยมาก คือ มีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร
กำลังโหลดความคิดเห็น