xs
xsm
sm
md
lg

คนเล่นของตัวจริง! "เนวิน" ทำบุญวันเกิดกับ "ช้าง" 20 เชือก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 62 ปีของ เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พร้อมผู้เล่นในสังกัด ได้ร่วมกันทำพิธีเซ่นปะกำช้าง ซึ่งเป็นประเพณีของตระกูลควาญช้าง โดยได้มีการนำช้าง 20 เชือก เข้าร่วมพิธี ซึ่งมีการนำหมอช้าง 9 คน จาก จ.สุรินทร์ มาทำพิธี

ซึ่งเป็นพิธีที่ในอดีตของหมอช้าง เมื่อต้องออกไปคล้องช้างป่า ต้องทำพิธีเส้นไหว้เชือกปะกำช้าง ซึ่งเป็นเชือกในการคล้องช้าง โดยเชือกปะกำ หรือหนังปะกำทำจากหนังควาย ตัวละ 1 เส้น เพราะต้องใช้ความยาวเส้นละ 30 เมตร และใช้ควาย 3 ตัว เพื่อให้ได้หนังควาย 3 เส้นมาพันเป็นเกลียวให้เป็นเส้นเดียวกัน แล้วทำเป็นบ่วงบาศก์ปะกำสำหรับคล้องช้าง จากนั้นนำไปปลุกเสกในพิธีอัญเชิญผีปะกำ ซึ่งเป็นวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกุยเคารพบูชา ให้เข้ามาสิงสถิตย์ในเชือกบ่วงบาศก์ หรือเชือกปะกำ

แต่ละบ้านจะต้องสร้างศาลเก็บเชือกปะกำให้แยกออกจากตัวบ้าน ทำให้ทุกครอบครัวจะต้องเคารพกราบไหว้เป็นประจำ ห้ามล่วงเกิน ห้ามเหยียบ ห้ามสตรีและบุคคลที่ไม่ใช่สายโลหิตแตะต้อง หรือขึ้นไปบนหอหรือศาลประกำ ถ้าละเมิดเรียกว่า “ผิดปะกำ” บางคนอาจมีอาการเหมือนคนบ้า เสียสติ ต้องทำพิธีขอขมา

ดังนั้นควาญช้างเมื่อต้องออกไปคล้องช้างต้องเซ่นไหว้ก่อน และเสี่ยงทายคางไก่ โดยควาญช้างแต่ละคนต้องใช้คางไก่ต้มมาทำนาย หากคางไก่ก้มงอ หรือเงยคอไปข้างหลังมากเกินไป ถือว่าลางไม่ดี ออกไปคล้องช้างแล้วอาจจะไม่ได้กลับมา เป็นการทำนายเหตุการณ์ดูฤกษ์ลางก่อนเข้าป่า

การคล้องช้างในอดีตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะควาญช้างถือว่าช้างเป็นสัตว์พิเศษ เปรียบเหมือนเทวดา แต่ปัจจุบันช้างป่าได้รับการคุ้มครองไม่สามารถไปคล้องได้อีกแล้ว













ดูโพสต์นี้บน Instagram

“ขอให้ทุกอย่างเป็นเรื่องกล้วยๆ” เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของลุงเนวิน ลุงเนวิน พร้อมด้วยนักฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ร่วมกันทำพิธีเซ่นปะกำช้าง ซึ่งเป็นประเพณีของตระกูลควาญช้าง ได้มีการนำช้าง 20 เชือก เข้าร่วมพิธี โดยมีหมอช้าง 9 คน จาก จ.สุรินทร์ มาทำพิธี เป็นพิธีที่ในอดีตของหมอช้าง เมื่อต้องออกไปคล้องช้างป่า ต้องทำพิธีเส้นไหว้เชือกปะกำช้าง ซึ่งเป็นเชือกในการคล้องช้าง โดยเชือกปะกำ หรือหนังปะกำทำจากหนังควาย ตัวละ 1 เส้น เพราะต้องใช้ความยาวเส้นละ 30 เมตร และใช้ควาย 3 ตัว เพื่อให้ได้หนังควาย 3 เส้นมาพันเป็นเกลียวให้เป็นเส้นเดียวกัน แล้วทำเป็นบ่วงบาศก์ปะกำสำหรับคล้องช้าง จากนั้นนำไปปลุกเสกในพิธีอัญเชิญผีปะกำ ซึ่งเป็นวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกุยเคารพบูชา ให้เข้ามาสิงสถิตย์ในเชือกบ่วงบาศก์ หรือเชือกปะกำ แต่ละบ้านจะต้องสร้างศาลเก็บเชือกปะกำให้แยกออกจากตัวบ้าน ทำให้ทุกครอบครัวจะต้องเคารพกราบไหว้เป็นประจำ ห้ามล่วงเกิน ห้ามเหยียบ ห้ามสตรีและบุคคลที่ไม่ใช่สายโลหิตแตะต้อง หรือขึ้นไปบนหอหรือศาลประกำ ถ้าละเมิดเรียกว่า “ผิดปะกำ” บางคนอาจมีอาการเหมือนคนบ้า เสียสติ ต้องทำพิธีขอขมา ดังนั้นควาญช้างเมื่อต้องออกไปคล้องช้างต้องเซ่นไหว้ก่อน และเสี่ยงทายคางไก่ โดยควาญช้างแต่ละคนต้องใช้คางไก่ต้มมาทำนาย หากคางไก่ก้มงอ หรือเงยคอไปข้างหลังมากเกินไป ถือว่าลางไม่ดี ออกไปคล้องช้างแล้วอาจจะไม่ได้กลับมา เป็นการทำนายเหตุการณ์ดูฤกษ์ลางก่อนเข้าป่า การคล้องช้างในอดีตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะควาญช้างถือว่าช้างเป็นสัตว์พิเศษ เปรียบเหมือนเทวดา แต่ปัจจุบันช้างป่าได้รับการคุ้มครองไม่สามารถไปคล้องได้อีกแล้ว

โพสต์ที่แชร์โดย BURIRAM UNITED (@buriramunitedofficial) เมื่อ




กำลังโหลดความคิดเห็น