คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “สรเดช เพชรแสงใสกุล”
สัปดาห์ที่แล้วเรื่องลีดของหน้ากีฬานำความยอดเยี่ยมของนักกีฬาไทยที่ไปโกยเหรียญรางวัลคล้องคอเป็นว่าเล่นในศึก พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล มาเล่าสู่กันฟังไปแล้ว ทว่าตอนนั้นการแข่งขันยังไม่จบตัวเลขการันตีความยอดเยี่ยมยังไม่นิ่ง
ล่าสุด ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเช้าวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย โดยผลงานนักกีฬาคนพิการไทยอยู่อันดับที่ 23 คว้าไป 6 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน และ 6 เหรียญทองแดง รวม 18 เหรียญ ดีกว่า 4 ปีที่แล้ว ที่ได้ที่ 31 รวม 8 เหรียญจาก 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงินและ 2 เหรียญทองแดง
ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญรางวัลมากที่สุด พร้อมทำลายสถิติเดิม 5 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดงรวม 11 เหรียญ ที่เคยทำไว้เมื่อปี 2000 ที่ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย อีกด้วย
สำหรับนักกีฬาที่สร้างชื่อคว้าเหรียญทองก็นำโดย ประวัติ วะโฮรัมย์ และ พงศกร แปะยอ จากวีลแชร์ ซิวไปคนละ 2 เหรียญทอง ตามด้วยบอคเซียที่มี พัทธยา เทศทอง นำทัพ ส่วนเหรียญเงิน ก็มี สายสุนีย์ จ๊ะนะ จากฟันดาบ และเหรียญทองแดง คือ รุ่งโรจน์ ไทยนิยม จากเทเบิลเทนนิส
แน่นอนว่า ต้องมีเงินอัดฉีดตอบแทนความมุ่งมั่นเกินร้อย แม้ร่างกายจะไม่เอื้ออำนวยแต่ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งใจได้ โดยเบื้องต้นรับเงินจากรัฐบาลราว 180,700,000 บาท
โดยจะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ทางเลือกแรก รับเงินสดก้อนเดียว 100 เปอร์เซ็นต์ เหรียญทอง 6 ล้านบาท เหรียญเงิน 4 ล้านบาท เหรียญทองแดง 2.5 ล้านบาท โดยแนวทางนี้สรุปนักกีฬาจะรับเงิน 120,500,000 บาท ผู้ฝึกสอนรับ 24,100,000 บาท และสมาคมกีฬาฯ รับ 12,000,000 บาท รวมทั้งสิ้น 156,600,000 บาท
ส่วนแนวทางที่สอง รับเงินสดก้อนแรก 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งจ่ายรายเดือนภายในเวลา 4 ปี จะได้รับเหรียญทอง 7.2 ล้านบาท เหรียญเงิน 4.8 ล้านบาท เหรียญทองแดง 3 ล้านบาท แนวทางนี้จะมียอดเงินในส่วนนักกีฬา 144,600,000 บาท ผู้ฝึกสอน 24,100,000 บาท สมาคมกีฬาฯ 12,000,000 บาท ซึ่งมีกระแสว่าอยากให้อัดฉีดเพิ่มเท่ากับนักกีฬาปกติทั่วไป เพราะก็สร้างชื่อเสียงเหมือนกัน
ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังกำหนดวันในการจัดงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จเพื่อมอบเงินให้นักกีฬาอยู่ เพราะเดินทางกลับมากันหมดแล้วแบ่งเป็น 2 ชุดคือวันที่ 21 กับ 22 กันยายนที่ผ่านมา
ส่วน พงศกร แปยอ นักกรีฑาวีลแชร์เรซซิ่ง เป็นนักกีฬาไทยคว้าเงินรางวัลจากรัฐบาลได้มากที่สุด 24 ล้านบาท จากผลงาน 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน โดย 2 เหรียญทอง ได้จาก วีลแชร์เรซซิ่ง 400 ม.ชาย ที 53, วีลแชร์เรซซิ่ง 800 ม.ชาย ที 53 ส่วน 2 เหรียญเงิน จากวีลแชร์เรซซิง 100 ม.ชาย ที 53, ผลัด 4x400 ม. ชาย ที 53-54
เมื่อพูดถึง พงศกร นั้น ถือเป็นเลือดใหม่ของทัพนักกีฬาคนพิการไทยและจะเป็นความหวังในอีก 4 ปีข้างหน้าที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการได้เห็นเช่นนี้ถือเรื่องดี
เพราะเดิมที จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย หวังจะใช้ที่ประเทศบราซิลเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่ดันทำได้ดีเกินคาดคว้าเหรียญทองเลยทีเดียว เมื่อได้เห็นผลงานอันน่าชื่นใจแบบนี้หัวเรือใหญ่จึงมีกำลังผลักดันเดินเครื่องต่อทันที
เห็นอย่างนี้แล้วปิดท้ายก็ต้องชื่นชมทางด้าน สิงห์ ที่คอยผลักดันจ่ายเงินสนับสนุนตลอด ยามไม่มีการแข่งขันก็รับนักกีฬามาเป็นพนักงานที่บริษัท ดังนั้นไม่อยากจะคิดเลยหากไม่มี “บิ๊กนิดหน่อย” หรือ จุตินันท์ นั้นจะเป็นเช่นไร อันนี้ต้องปรบมือให้ดัง ๆ เลย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
สัปดาห์ที่แล้วเรื่องลีดของหน้ากีฬานำความยอดเยี่ยมของนักกีฬาไทยที่ไปโกยเหรียญรางวัลคล้องคอเป็นว่าเล่นในศึก พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล มาเล่าสู่กันฟังไปแล้ว ทว่าตอนนั้นการแข่งขันยังไม่จบตัวเลขการันตีความยอดเยี่ยมยังไม่นิ่ง
ล่าสุด ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเช้าวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย โดยผลงานนักกีฬาคนพิการไทยอยู่อันดับที่ 23 คว้าไป 6 เหรียญทอง 6 เหรียญเงิน และ 6 เหรียญทองแดง รวม 18 เหรียญ ดีกว่า 4 ปีที่แล้ว ที่ได้ที่ 31 รวม 8 เหรียญจาก 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงินและ 2 เหรียญทองแดง
ซึ่งถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญรางวัลมากที่สุด พร้อมทำลายสถิติเดิม 5 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดงรวม 11 เหรียญ ที่เคยทำไว้เมื่อปี 2000 ที่ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย อีกด้วย
สำหรับนักกีฬาที่สร้างชื่อคว้าเหรียญทองก็นำโดย ประวัติ วะโฮรัมย์ และ พงศกร แปะยอ จากวีลแชร์ ซิวไปคนละ 2 เหรียญทอง ตามด้วยบอคเซียที่มี พัทธยา เทศทอง นำทัพ ส่วนเหรียญเงิน ก็มี สายสุนีย์ จ๊ะนะ จากฟันดาบ และเหรียญทองแดง คือ รุ่งโรจน์ ไทยนิยม จากเทเบิลเทนนิส
แน่นอนว่า ต้องมีเงินอัดฉีดตอบแทนความมุ่งมั่นเกินร้อย แม้ร่างกายจะไม่เอื้ออำนวยแต่ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งใจได้ โดยเบื้องต้นรับเงินจากรัฐบาลราว 180,700,000 บาท
โดยจะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ทางเลือกแรก รับเงินสดก้อนเดียว 100 เปอร์เซ็นต์ เหรียญทอง 6 ล้านบาท เหรียญเงิน 4 ล้านบาท เหรียญทองแดง 2.5 ล้านบาท โดยแนวทางนี้สรุปนักกีฬาจะรับเงิน 120,500,000 บาท ผู้ฝึกสอนรับ 24,100,000 บาท และสมาคมกีฬาฯ รับ 12,000,000 บาท รวมทั้งสิ้น 156,600,000 บาท
ส่วนแนวทางที่สอง รับเงินสดก้อนแรก 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งจ่ายรายเดือนภายในเวลา 4 ปี จะได้รับเหรียญทอง 7.2 ล้านบาท เหรียญเงิน 4.8 ล้านบาท เหรียญทองแดง 3 ล้านบาท แนวทางนี้จะมียอดเงินในส่วนนักกีฬา 144,600,000 บาท ผู้ฝึกสอน 24,100,000 บาท สมาคมกีฬาฯ 12,000,000 บาท ซึ่งมีกระแสว่าอยากให้อัดฉีดเพิ่มเท่ากับนักกีฬาปกติทั่วไป เพราะก็สร้างชื่อเสียงเหมือนกัน
ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังกำหนดวันในการจัดงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จเพื่อมอบเงินให้นักกีฬาอยู่ เพราะเดินทางกลับมากันหมดแล้วแบ่งเป็น 2 ชุดคือวันที่ 21 กับ 22 กันยายนที่ผ่านมา
ส่วน พงศกร แปยอ นักกรีฑาวีลแชร์เรซซิ่ง เป็นนักกีฬาไทยคว้าเงินรางวัลจากรัฐบาลได้มากที่สุด 24 ล้านบาท จากผลงาน 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน โดย 2 เหรียญทอง ได้จาก วีลแชร์เรซซิ่ง 400 ม.ชาย ที 53, วีลแชร์เรซซิ่ง 800 ม.ชาย ที 53 ส่วน 2 เหรียญเงิน จากวีลแชร์เรซซิง 100 ม.ชาย ที 53, ผลัด 4x400 ม. ชาย ที 53-54
เมื่อพูดถึง พงศกร นั้น ถือเป็นเลือดใหม่ของทัพนักกีฬาคนพิการไทยและจะเป็นความหวังในอีก 4 ปีข้างหน้าที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการได้เห็นเช่นนี้ถือเรื่องดี
เพราะเดิมที จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย หวังจะใช้ที่ประเทศบราซิลเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่ดันทำได้ดีเกินคาดคว้าเหรียญทองเลยทีเดียว เมื่อได้เห็นผลงานอันน่าชื่นใจแบบนี้หัวเรือใหญ่จึงมีกำลังผลักดันเดินเครื่องต่อทันที
เห็นอย่างนี้แล้วปิดท้ายก็ต้องชื่นชมทางด้าน สิงห์ ที่คอยผลักดันจ่ายเงินสนับสนุนตลอด ยามไม่มีการแข่งขันก็รับนักกีฬามาเป็นพนักงานที่บริษัท ดังนั้นไม่อยากจะคิดเลยหากไม่มี “บิ๊กนิดหน่อย” หรือ จุตินันท์ นั้นจะเป็นเช่นไร อันนี้ต้องปรบมือให้ดัง ๆ เลย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *