xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อไอ้เก่ง...กลัวฟ้า!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"พี่หมอครับ...เก่งใส่ตะกรุดหลวงพ่ออี๋อยู่...จะกันฟ้าผ่าได้ไหมครับ!" ไอ้เก่ง ตะโกนถามแข่งกับเสียงฟ้าคำรามน่ากลัว ขณะออกรอบไปได้ 2 หลุม

หลังสภาพอากาศร้อนแล้งมหาโหดผ่านไปเราก็มาเจอกับพายุฝนฟ้าคะนองลมกรรโชกแรง...ตามสูตรของกรมอุตุฯ

เมฆครึ้ม ฝนฟ้าคะนองน่ากลัวอย่างนี้ ทำเอาเจ้าเด็กอ้วนวัย 24 ของเราหวาดผวาลนลานเหมือนลูกหมากลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า "ไม่ต้องกลัวเก่ง...สวดมนต์เข้าไว้ ตอนนี้นรกยังไม่ต้องการตัวเอ็ง!"

- ป้องกันก่อนถูกฟ้าผ่า...เรื่องง่ายๆ ไม่ควรมองข้าม!

คำถามยอดฮิตที่ถามกันมากมายเรื่องสื่อล่อฟ้าอย่างตะกรุด โทรศัพท์มือถือ สร้อยคอ ว่าผู้ที่มีไว้ครอบครองเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่?

เรื่องนี้ อาจารย์คมสัน เพ็ชรรักษ์ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า หากมองถึงวัตถุที่เป็นตัวทำให้ฟ้าฝ่ามนุษย์คือวัตถุที่อยู่เหลือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของเหล่านั้นมีลักษณะปลายแหลม ซึ่งเป็นตัวล่อให้ฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดีหากอยู่ในที่โล่งแจ้ง

อย่างการที่ฟ้าผ่ามาบนตึกส่วนใหญ่สังเกตได้ว่ามักผ่าบริเวณส่วนที่เป็นมุมของตึก ซึ่งเสมือนสิ่งที่ล่อฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากคนที่อยู่บนตึกสูงไม่ควรไปยืนบนดาดฟ้าในเวลาฝนตก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

จากข่าวการเสียชีวิตของผู้ที่สวมตะกรุดและผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ อ.คมสัน มองว่าไม่น่าจะมีส่วนทำให้ฟ้าผ่าบุคคลดังกล่าว เพราะปกติสายฟ้าที่ผ่าลงมายังคนมักเกิดจากวัตถุที่อยู่เหนือศีรษะ ซึ่งการไปหลบฝนใต้ต้นไม่ใหญ่หรือใต้เสาไฟฟ้าในที่โล่งอาจเป็นต้นเหตุให้เสียชีวิต ขณะเดียวกันการใช้โทรศัพท์มือถือเวลาฝนตก ค่อนข้างมีความเป็นไปได้น้อยในการเป็นสื่อล่อฟ้า เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ต่ำและจากการศึกษาโลหะต่างๆ ไม่อาจเป็นวัตถุล่อฟ้าได้ หากไม่อยู่สูงเหนือศีรษะมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือคนส่วนใหญ่ที่ถูกฟ้าผ่ามักมีร่างกายที่เปียก เพราะการถูกฟ้าผ่าผู้ที่ได้รับอันตรายมีผลเหมือนการถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการที่ร่างกายเปียกก็เป็นอีกตัวกระตุ้นหนึ่งให้กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าคร่าชีวิตได้

ด้านแนวทางป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากฟ้าผ่า อ.คมสัน กล่าวว่าควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใต้วัตถุที่มีความสูงในที่โล่ง เช่น เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น แต่ถ้าหากหาที่กำบังไม่ได้ ควรทำตัวให้ต่ำที่สุด โดยการนั่งยองๆ ไม่ควรหมอบราบกับพื้น เพราะหากฟ้าผ่าลงมาบริเวณใกล้เคียงน้ำบนพื้นอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าทำอันตรายได้

ขณะเดียวกันหากเราสังเกตเห็นกลุ่มเมฆฟ้าครึ้มกำลังเคลื่อนตัวมายังบริเวณที่ยืนอยู่ควรรีบหาที่กำบัง เพราะเป็นสัญญาณอันตรายอันหนึ่ง ด้านคนที่ขับรถขณะฟ้าผ่ามีโอกาสได้รับอันตรายน้อย เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่ามาบนหลังคารถจะไหลลงไปยังพื้นดิน แต่ในบางรายที่ผู้โดยสารนั่งอยู่ในกระบะหลังคากลางแจ้งย่ำทำให้เกิดอันตรายได้


กำลังโหลดความคิดเห็น