คอลัมน์ "สกอร์บอร์ด" โดย แมวดำ
หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ประวัตศาสตร์วงการลูกหนังไทยถูกจากรึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลอีกครั้ง จาก วรวีร์ มะกูดี มาเป็น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นผู้นำ และมีเลขาธิการสมาคมเป็น พล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก จะว่าเป็นยุคสีกากีก็คงไม่ผิดอะไร เพราะ 2 ตัวหลักเป็นนายตำรวจระดับบิ๊กทั้งคู่ แต่ก็ใช่ว่าจะบริหารงานโดยตำรวจทั้งหมด เพราะอย่างน้อยก็มีการเชิญสโมสรต่างๆ ส่งตัวแทนมาร่วมบริหารในตำแหน่งสภากรรมการ
เมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหาร หลายอย่างก็ต้องเปลี่ยนตามเป็นสัจธรรม เริ่มที่ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด หรือ "ทีพีแอล" ที่มี วรวีร์ มะกูดี กับ องอาจ ก่อสินค้า อดีตประธานถือหุ้นอยู่ ก็ถูกแทนที่ด้วยบริษัท พรีเมียร์ลีก (ไทยแลนด์) หรือ "พีทีแอล" พร้อมตั้งทีมงานใหม่มาทำหน้าที่ แถมตำแหน่งประธานยังกลายเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. คนปัจจุบัน ที่เจ้าตัวยืนยันว่าจะมาสอดส่องดูแลเรื่องการล้มบอล หรือการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ รวมถึงแก้ปัญหาแฟนบอลตีกัน ที่สำคัญเจ้าตัวยืนยันมาไม่นาน หากเรียบร้อยเมื่อไหร่ก็จะลาออกเอง
อาจดูเหมือนไม่มีอะไรในลีกสูงสุดกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ลีกระดับล่างอย่าง ดิวิชั่น 2 มากกว่า เพราะมีการรื้อระบบกันใหม่ เนื่องจากสโมสรมีการอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน สืบเนื่องจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จึงต้องตรวจสอบสิทธิ์การทำทีมกันใหม่ รวมทั้ง พล.ต.อ.สมยศ เองก็อยากให้ทุกอย่างเป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม จึงมีการปรับเปลี่ยนโซนการแข่งขัน จากเดิม 83 ทีมมี 6 โซน จะเพิ่มเป็น 8 โซนการแข่งขัน และทีมที่เข้าร่วมก็คงเป็น 100 แน่นอน เพราะแบ่งเป็นโซนละ 16 ทีม
มีหลายเรื่องที่กังวลกัน คือ การแข่งขันลีกรากหญ้า จะเริ่มวันที่ 19 มีนาคม แล้วไปจบรอบปกติวันที่ 4 กันยายนนี้ (ไม่นับแชมเปียนส์ลีก ที่นำ 2 ทีมนำจาก 8 โซนมาหาทีมเลื่อนชั้น) นั่งนับนิ้วไปนับนิ้วมา ทั้งฤดูกาลของลีกนี้อาจแข่งขันกันแค่ 6 เดือน แล้วอีก 6 เดือนที่เหลือนักฟุตบอลจะไปทำอะไรกิน นอกจากนี้สโมสรต่างๆ ส่วนใหญ่เขาเซ็นสัญญากัน 12 เดือน อาจมีปัญหาหรือเปล่า
ยังมีเรื่องของจำนวนผู้เล่นที่ระบุว่า ส่งผู้เล่นในประเทศไม่เกิน 35 คน (ต่ำกว่า 19 ปี ไม่น้อยกว่า 3 คน) ต่างชาติไม่เกิน 5 คน รวมทั้งทีมไม่น้อยกว่า 20 คน และต้องไม่เกิน 40 คน คือหากทีมไหนไม่มีนักเตะต่างชาติเลย เน้นใช้แต่ผู้เล่นไทย จะเป็นการเสียเปรียบกันหรือไม่ เพราะส่งได้แค่ 35 คน อันนี้ก็น่าจะเก็บไปคิคกัน ไม่นับรวมเรื่องข้อบังคับต่างๆ ของทีมที่เข้าร่วม โดยเฉพาะที่ยากที่สุดคือสโมสร "ดี 2" ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อยากรู้นักว่าทีมในต่างจังหวัดตอนนี้มีกี่ทีมที่ทำได้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีเรื่องสนามแข่งขัน ที่ต้องจุไม่น้อยกว่า 800 ที่นั่ง ไฟสนามไม่น้อยกว่า 450 ลักซ์ (ถ้าไม่มีเตะ 16.00 น. และไม่มีการถ่ายทอดสด) แถมด้วยระบบรั้วรอบขอบชิด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบทุกสนาม ดูๆ ไปแล้วคงอยากให้ทุกทีมมีมาตรฐานสูงขึ้น อยากพัฒนากันทั้งนั้น ปัญหาที่ว่ามาทุกอย่างถ้ามีเงินก็จบ แต่ทีมระดับรากหญ้า ให้ค่าเตรียมทีม 2 ล้านบาท แข่งขัน 6 เดือน เงินปรับปรุงสนามเท่าไหร่ ค่าเหนื่อยนักเตะเท่าไหร่ ถามจริงๆ เขาจะสู้ไหวเหรอ...
หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ประวัตศาสตร์วงการลูกหนังไทยถูกจากรึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลอีกครั้ง จาก วรวีร์ มะกูดี มาเป็น พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นผู้นำ และมีเลขาธิการสมาคมเป็น พล.ต.ท.พิสัณห์ จุลดิลก จะว่าเป็นยุคสีกากีก็คงไม่ผิดอะไร เพราะ 2 ตัวหลักเป็นนายตำรวจระดับบิ๊กทั้งคู่ แต่ก็ใช่ว่าจะบริหารงานโดยตำรวจทั้งหมด เพราะอย่างน้อยก็มีการเชิญสโมสรต่างๆ ส่งตัวแทนมาร่วมบริหารในตำแหน่งสภากรรมการ
เมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหาร หลายอย่างก็ต้องเปลี่ยนตามเป็นสัจธรรม เริ่มที่ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด หรือ "ทีพีแอล" ที่มี วรวีร์ มะกูดี กับ องอาจ ก่อสินค้า อดีตประธานถือหุ้นอยู่ ก็ถูกแทนที่ด้วยบริษัท พรีเมียร์ลีก (ไทยแลนด์) หรือ "พีทีแอล" พร้อมตั้งทีมงานใหม่มาทำหน้าที่ แถมตำแหน่งประธานยังกลายเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. คนปัจจุบัน ที่เจ้าตัวยืนยันว่าจะมาสอดส่องดูแลเรื่องการล้มบอล หรือการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ รวมถึงแก้ปัญหาแฟนบอลตีกัน ที่สำคัญเจ้าตัวยืนยันมาไม่นาน หากเรียบร้อยเมื่อไหร่ก็จะลาออกเอง
อาจดูเหมือนไม่มีอะไรในลีกสูงสุดกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ลีกระดับล่างอย่าง ดิวิชั่น 2 มากกว่า เพราะมีการรื้อระบบกันใหม่ เนื่องจากสโมสรมีการอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน สืบเนื่องจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จึงต้องตรวจสอบสิทธิ์การทำทีมกันใหม่ รวมทั้ง พล.ต.อ.สมยศ เองก็อยากให้ทุกอย่างเป็นระบบมากขึ้นกว่าเดิม จึงมีการปรับเปลี่ยนโซนการแข่งขัน จากเดิม 83 ทีมมี 6 โซน จะเพิ่มเป็น 8 โซนการแข่งขัน และทีมที่เข้าร่วมก็คงเป็น 100 แน่นอน เพราะแบ่งเป็นโซนละ 16 ทีม
มีหลายเรื่องที่กังวลกัน คือ การแข่งขันลีกรากหญ้า จะเริ่มวันที่ 19 มีนาคม แล้วไปจบรอบปกติวันที่ 4 กันยายนนี้ (ไม่นับแชมเปียนส์ลีก ที่นำ 2 ทีมนำจาก 8 โซนมาหาทีมเลื่อนชั้น) นั่งนับนิ้วไปนับนิ้วมา ทั้งฤดูกาลของลีกนี้อาจแข่งขันกันแค่ 6 เดือน แล้วอีก 6 เดือนที่เหลือนักฟุตบอลจะไปทำอะไรกิน นอกจากนี้สโมสรต่างๆ ส่วนใหญ่เขาเซ็นสัญญากัน 12 เดือน อาจมีปัญหาหรือเปล่า
ยังมีเรื่องของจำนวนผู้เล่นที่ระบุว่า ส่งผู้เล่นในประเทศไม่เกิน 35 คน (ต่ำกว่า 19 ปี ไม่น้อยกว่า 3 คน) ต่างชาติไม่เกิน 5 คน รวมทั้งทีมไม่น้อยกว่า 20 คน และต้องไม่เกิน 40 คน คือหากทีมไหนไม่มีนักเตะต่างชาติเลย เน้นใช้แต่ผู้เล่นไทย จะเป็นการเสียเปรียบกันหรือไม่ เพราะส่งได้แค่ 35 คน อันนี้ก็น่าจะเก็บไปคิคกัน ไม่นับรวมเรื่องข้อบังคับต่างๆ ของทีมที่เข้าร่วม โดยเฉพาะที่ยากที่สุดคือสโมสร "ดี 2" ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อยากรู้นักว่าทีมในต่างจังหวัดตอนนี้มีกี่ทีมที่ทำได้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีเรื่องสนามแข่งขัน ที่ต้องจุไม่น้อยกว่า 800 ที่นั่ง ไฟสนามไม่น้อยกว่า 450 ลักซ์ (ถ้าไม่มีเตะ 16.00 น. และไม่มีการถ่ายทอดสด) แถมด้วยระบบรั้วรอบขอบชิด อุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบทุกสนาม ดูๆ ไปแล้วคงอยากให้ทุกทีมมีมาตรฐานสูงขึ้น อยากพัฒนากันทั้งนั้น ปัญหาที่ว่ามาทุกอย่างถ้ามีเงินก็จบ แต่ทีมระดับรากหญ้า ให้ค่าเตรียมทีม 2 ล้านบาท แข่งขัน 6 เดือน เงินปรับปรุงสนามเท่าไหร่ ค่าเหนื่อยนักเตะเท่าไหร่ ถามจริงๆ เขาจะสู้ไหวเหรอ...