สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ยกชุด หลังจากที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้รับเลือกเป็นผู้นำคนใหม่ ต่อจาก “บังยี” วรวีร์ มะกูดี ที่ยึดเก้าอี้มากว่า 7 ปี และแน่นอนว่าอำนาจในการจัดการผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท ย่อมเปลี่ยนมือมาอยู่ที่อดีตนายตำรวจรายนี้ด้วยเช่นกัน
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีรายรับจากผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยเงินหนุนจากสหพันธ์ฟุตนานาชาติ (ฟีฟ่า), เงินส่วนแบ่งจากบริษัทผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ตลอดจนรายได้ที่มาจากสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขันฟุตบอลทุกระดับในประเทศ ทั้ง ไทย พรีเมียร์ ลีก, ดิวิชั่น1, ดิวิชั่น 2 และฟุตบอลถ้วยรายการต่าง รวมถึงค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด มูลค่ารวมหลายพันล้านบาท
แบ่งเป็นเงินที่สนับสนุนให้กับทางสมาคมฟุตบอลฯโดยตรง จากสปอนเซอร์ต่างๆ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเบียร์ช้าง, แม็คโดนัลส์, แกรนด์สปอร์ต, บริษัท เมืองไทย ประกันภัย จำกัด, ยูเมะพลัส, แอร์เอเชีย ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่จะเซ็นสัญญายาว 3-5 ปี มูลค่ารวมกว่า 900 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีเงินที่เข้ามาผ่านการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย เช่น โตโยต้า (ปี 2557-2559 จำนวน 200 ล้านบาท) ยามาฮ่า (ปี 2556-2558 จำนวน 80 ล้านบาท), เอไอเอส (2553-2558 รวม 120 ล้านบาท) ตลอดจนการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้แก่ ทรูวิชั่นส์ ก่อนหน้านี้ 3 ปี (2557-2559) จำนวน 1,800 ล้านบาท ก่อนจะต่อสัญญาเพิ่มอีก 4 ปี 2560 - 2563 รวมเป็นเงิน 4,200 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากฟีฟ่า ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงิน (The Financial Assistance Programme: FAP) โดยเมื่อ ปี 2558 ประเทศไทย ได้รวม 300,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 9 ล้านบาท) ไม่รวมเงินสนับสนุนจากการเป็นเจ้าภาพและส่งทีมชาติเข้าแข่งขันในรายการต่างๆระดับเอเชียและระดับโลก
เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารคนใหม่ สิ่งเหล่านี้จึงตกไปอยู่ในมือของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลฯป้ายแดง และทีมงาน ที่จะต้องสานต่อ ซึ่งนายชนินท์ แก่นหิรัญ รองเลขาฯ ฝ่ายกฎหมาย ที่รับมอบหมายจาก “บิ๊กอ๊อด” ให้เป็นผู้เคลียร์เรื่องนิติกรรมทั้งหมดกับคู่สัญญา ในช่วงเปลี่ยนมือนี้ มั่นใจว่าจะมียอดการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมแจงถึงการจัดการในอนาคตดังนี้
ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ : ก่อนหน้านี้ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้จัดการสิทธิประโยชน์ฟุตบอลอาชีพ ให้กับทางสมาคมฟุตบอลฯ ในปี 2556-2560 โดยล่าสุด นายชนินทร์ เผยว่าเหลือแต่การเจรจารายละเอียดกับทาง บริษัท สยามสปอร์ตฯ ที่อ้างว่ามีสิทธิตามสัญญา กับบรรดาบริษัทต่างๆที่ทำสัญญาด้วยก่อนหน้านี้ และสัญญายังไม่หมดลง จึงต้องเข้ามาหารือกันว่าจะทำอย่างไร ที่สำคัญทางบริษัท สยามสปอร์ตฯ ยังมีเงินที่ต้องชำระคืนให้แก่สมาคมฯเป็นจำนวน 280 ล้านบาท โดยการเจรจาเบื้องต้นแจ้งว่ายินดีที่จะชำระแน่นอน
อย่างไรก็ตามผู้สนับสนุนต่างๆ พร้อมที่จะเปลี่ยนมาสนับสนุน พรีเมียร์ลีก ไทยแลนด์ (พีแอลที) ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาดูแลการแข่งขันแล้วเช่นกัน ส่วนในอนาคตทางสมาคมฯจะยังคงใช้บริการ บริษัท สยามสปอร์ตฯ ในการดูแลสิทธิประโยชน์ต่อไปหรือไม่นั้น หรือจะมีอัตราส่วนแบ่งอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่ สภากรรมการ สมาคมฟุตบอลฯ ต้องมาประชุมกัน ว่าจะต่อสัญญา หรือเปิดประมูลใหม่ทั้งหมด โดยทุกอย่างจะต้องเป็นมืออาชีพมากขึ้น สมาคมจะมีหน้าที่รับเงินจากบริษัทที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นตัวเงินที่ชัดเจน ซึ่งเมื่อทราบรายรับประจำที่แน่นอนทุกเดือนหรือทุกปี จะทำให้สามารถวางแผนการใช้เงินกับทีมฟุตบอลได้ล่วงหน้า
คู่สัญญากับทางสมาคมฟุตบอลฯ : บริษัทคู่สัญญาที่ทำไว้กับสมาคมฟุตบอลฯโดยตรง เกือบทั้งหมดจะเซ็นร่วมงานปีต่อปี ซึ่งปัจจุบันได้หมดลงเรียบร้อยแล้ว และได้เข้ามาเจรจาพร้อมที่จะสนับสนุนต่อทั้งหมด มั่นใจว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแน่นอน ที่สำคัญยังมีบริษัทใหม่อีกหลายเจ้า ที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนเพิ่ม เนื่องจากรู้มองว่าสมาคมมีการบริหารงานอย่างมืออาชีพและโปร่งใส มากขึ้น พร้อมกันนี้มีรายงานระบุว่า “ช้าง” ได้ต่อสัญญากับทางสมาคมฟุตบอลฯต่อไปอีก 7 ปีตั้งแต่ 2558-2565 เป็นจำนวนเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาท
การถ่ายทอดสด : ก่อนหน้านี้ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลไทย 4 รายการหลัก เป็นเวลา 4 ฤดูกาลตั้งแต่ 2560 - 2563 ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก จำนวน 306 แมตช์, ยามาฮ่า ลีก วัน จำนวน 306 แมตช์, โตโยต้า ลีกคัพ จำนวน 114 แมตช์ และช้าง เอฟเอ คัพ จำนวน 85 แมตช์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 4,200 ล้านบาท
โดย นายชนินทร์ เผยถึงเรื่องนี้ว่า ยังอยู่ระหว่างเจรจาร่วมกัน 3 ทาง คือ สมาคมฟุตบอล-ทรูวิชั่นส์-สยามปอร์ต ซึ่งแม้ต่อให้จะตกลงกันไม่ลงตัว แต่ยืนยันว่าสมาคมฟุตบอลฯชุดนี้ มีความพร้อมสูง และพร้อมที่จะถ่ายทอดสดต่อ โดยมีบริษัทที่ยินดีที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบความคมชัดสูง หรือHigh-Definition (HD) มากขึ้นโดยในลีกระดับบนอย่าง ไทย พรีเมียร์ ลีก และดิวิชั่น 1 คงไม่มีปัญหา แต่ในส่วนของ ดิวิชั่น 2 รวมถึง ดิวิชั่น 3 ที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้น แต่ละภูมิภาคในลีกจะมีบริษัทจัดการแข่งขันของตัวเอง ดังนั้นจึงอาจจะมีการเปิดให้ขายสิทธิต่อเคเบิ้ลท้องถิ่นด้วยตนเอง เมื่อหาผู้สนับสนุนได้ก็จะนำมาแบ่งกันเองภายในภูมิภาค และเชื่อว่าจะทำให้แต่ละทีมมีรายได้จากสปอนเซอร์มากขึ้น เพราะจะมีการถ่ายทอดสอดไปในหลายจังหวัดในภูมิภาคนั้นๆ และมีคนดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น
ยูนิฟอร์มทีมชาติไทย : บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล คว้าสิทธิ์ดุแลชุดแข่งขันให้กับสมาคมฟุตบอลไทย เป็นเวลา 3 ปี 2556-2558 ด้วยงบสนับสนุนรวม 66 ล้านบาท ซึ่งล่าสดสัญญาได้หมดลงแล้ว เรื่องนี้นายชนินทร์ กล่าวว่า ทาง พล.ต.อ.สมยศ จะมีการเปิดกว้างให้บริษัทที่สนใจเข้ามาประมูลใหม่
ราคาบัตรทีมชาติไทย : ทางสมาคมฟุตบอลฯ จะไม่ตั้งราคาบัตรที่สูงจนแฟนบอลไม่สามารถเข้ามาดูได้ เพราะมีนโยบายที่จะไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากแฟนบอล แต่เข้ามาเพื่อต้องการให้คนดูมากขึ้น ทั้งนี้ในบางแมตช์ซึ่งเป็นแมตช์เฉพาะ ที่มีการเชิญต่างชาติมาแข่งขัน และมีค่าใช้จ่ายที่สูง จะเป็นการเฉลี่ยกัน โดยทางสมาคมฯจะซัพพอร์ทส่วนหนึ่ง และแฟนบอลซัพพอร์ทส่วนหนึ่ง
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีรายรับจากผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมด้วยเงินหนุนจากสหพันธ์ฟุตนานาชาติ (ฟีฟ่า), เงินส่วนแบ่งจากบริษัทผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ ตลอดจนรายได้ที่มาจากสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขันฟุตบอลทุกระดับในประเทศ ทั้ง ไทย พรีเมียร์ ลีก, ดิวิชั่น1, ดิวิชั่น 2 และฟุตบอลถ้วยรายการต่าง รวมถึงค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด มูลค่ารวมหลายพันล้านบาท
แบ่งเป็นเงินที่สนับสนุนให้กับทางสมาคมฟุตบอลฯโดยตรง จากสปอนเซอร์ต่างๆ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเบียร์ช้าง, แม็คโดนัลส์, แกรนด์สปอร์ต, บริษัท เมืองไทย ประกันภัย จำกัด, ยูเมะพลัส, แอร์เอเชีย ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่จะเซ็นสัญญายาว 3-5 ปี มูลค่ารวมกว่า 900 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีเงินที่เข้ามาผ่านการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย เช่น โตโยต้า (ปี 2557-2559 จำนวน 200 ล้านบาท) ยามาฮ่า (ปี 2556-2558 จำนวน 80 ล้านบาท), เอไอเอส (2553-2558 รวม 120 ล้านบาท) ตลอดจนการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้แก่ ทรูวิชั่นส์ ก่อนหน้านี้ 3 ปี (2557-2559) จำนวน 1,800 ล้านบาท ก่อนจะต่อสัญญาเพิ่มอีก 4 ปี 2560 - 2563 รวมเป็นเงิน 4,200 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากฟีฟ่า ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงิน (The Financial Assistance Programme: FAP) โดยเมื่อ ปี 2558 ประเทศไทย ได้รวม 300,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 9 ล้านบาท) ไม่รวมเงินสนับสนุนจากการเป็นเจ้าภาพและส่งทีมชาติเข้าแข่งขันในรายการต่างๆระดับเอเชียและระดับโลก
เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารคนใหม่ สิ่งเหล่านี้จึงตกไปอยู่ในมือของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลฯป้ายแดง และทีมงาน ที่จะต้องสานต่อ ซึ่งนายชนินท์ แก่นหิรัญ รองเลขาฯ ฝ่ายกฎหมาย ที่รับมอบหมายจาก “บิ๊กอ๊อด” ให้เป็นผู้เคลียร์เรื่องนิติกรรมทั้งหมดกับคู่สัญญา ในช่วงเปลี่ยนมือนี้ มั่นใจว่าจะมียอดการสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมแจงถึงการจัดการในอนาคตดังนี้
ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ : ก่อนหน้านี้ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้จัดการสิทธิประโยชน์ฟุตบอลอาชีพ ให้กับทางสมาคมฟุตบอลฯ ในปี 2556-2560 โดยล่าสุด นายชนินทร์ เผยว่าเหลือแต่การเจรจารายละเอียดกับทาง บริษัท สยามสปอร์ตฯ ที่อ้างว่ามีสิทธิตามสัญญา กับบรรดาบริษัทต่างๆที่ทำสัญญาด้วยก่อนหน้านี้ และสัญญายังไม่หมดลง จึงต้องเข้ามาหารือกันว่าจะทำอย่างไร ที่สำคัญทางบริษัท สยามสปอร์ตฯ ยังมีเงินที่ต้องชำระคืนให้แก่สมาคมฯเป็นจำนวน 280 ล้านบาท โดยการเจรจาเบื้องต้นแจ้งว่ายินดีที่จะชำระแน่นอน
อย่างไรก็ตามผู้สนับสนุนต่างๆ พร้อมที่จะเปลี่ยนมาสนับสนุน พรีเมียร์ลีก ไทยแลนด์ (พีแอลที) ซึ่งเป็นบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาดูแลการแข่งขันแล้วเช่นกัน ส่วนในอนาคตทางสมาคมฯจะยังคงใช้บริการ บริษัท สยามสปอร์ตฯ ในการดูแลสิทธิประโยชน์ต่อไปหรือไม่นั้น หรือจะมีอัตราส่วนแบ่งอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่ สภากรรมการ สมาคมฟุตบอลฯ ต้องมาประชุมกัน ว่าจะต่อสัญญา หรือเปิดประมูลใหม่ทั้งหมด โดยทุกอย่างจะต้องเป็นมืออาชีพมากขึ้น สมาคมจะมีหน้าที่รับเงินจากบริษัทที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นตัวเงินที่ชัดเจน ซึ่งเมื่อทราบรายรับประจำที่แน่นอนทุกเดือนหรือทุกปี จะทำให้สามารถวางแผนการใช้เงินกับทีมฟุตบอลได้ล่วงหน้า
คู่สัญญากับทางสมาคมฟุตบอลฯ : บริษัทคู่สัญญาที่ทำไว้กับสมาคมฟุตบอลฯโดยตรง เกือบทั้งหมดจะเซ็นร่วมงานปีต่อปี ซึ่งปัจจุบันได้หมดลงเรียบร้อยแล้ว และได้เข้ามาเจรจาพร้อมที่จะสนับสนุนต่อทั้งหมด มั่นใจว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแน่นอน ที่สำคัญยังมีบริษัทใหม่อีกหลายเจ้า ที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนเพิ่ม เนื่องจากรู้มองว่าสมาคมมีการบริหารงานอย่างมืออาชีพและโปร่งใส มากขึ้น พร้อมกันนี้มีรายงานระบุว่า “ช้าง” ได้ต่อสัญญากับทางสมาคมฟุตบอลฯต่อไปอีก 7 ปีตั้งแต่ 2558-2565 เป็นจำนวนเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาท
การถ่ายทอดสด : ก่อนหน้านี้ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลไทย 4 รายการหลัก เป็นเวลา 4 ฤดูกาลตั้งแต่ 2560 - 2563 ได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก จำนวน 306 แมตช์, ยามาฮ่า ลีก วัน จำนวน 306 แมตช์, โตโยต้า ลีกคัพ จำนวน 114 แมตช์ และช้าง เอฟเอ คัพ จำนวน 85 แมตช์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 4,200 ล้านบาท
โดย นายชนินทร์ เผยถึงเรื่องนี้ว่า ยังอยู่ระหว่างเจรจาร่วมกัน 3 ทาง คือ สมาคมฟุตบอล-ทรูวิชั่นส์-สยามปอร์ต ซึ่งแม้ต่อให้จะตกลงกันไม่ลงตัว แต่ยืนยันว่าสมาคมฟุตบอลฯชุดนี้ มีความพร้อมสูง และพร้อมที่จะถ่ายทอดสดต่อ โดยมีบริษัทที่ยินดีที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบความคมชัดสูง หรือHigh-Definition (HD) มากขึ้นโดยในลีกระดับบนอย่าง ไทย พรีเมียร์ ลีก และดิวิชั่น 1 คงไม่มีปัญหา แต่ในส่วนของ ดิวิชั่น 2 รวมถึง ดิวิชั่น 3 ที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้น แต่ละภูมิภาคในลีกจะมีบริษัทจัดการแข่งขันของตัวเอง ดังนั้นจึงอาจจะมีการเปิดให้ขายสิทธิต่อเคเบิ้ลท้องถิ่นด้วยตนเอง เมื่อหาผู้สนับสนุนได้ก็จะนำมาแบ่งกันเองภายในภูมิภาค และเชื่อว่าจะทำให้แต่ละทีมมีรายได้จากสปอนเซอร์มากขึ้น เพราะจะมีการถ่ายทอดสอดไปในหลายจังหวัดในภูมิภาคนั้นๆ และมีคนดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น
ยูนิฟอร์มทีมชาติไทย : บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ชนะประมูล คว้าสิทธิ์ดุแลชุดแข่งขันให้กับสมาคมฟุตบอลไทย เป็นเวลา 3 ปี 2556-2558 ด้วยงบสนับสนุนรวม 66 ล้านบาท ซึ่งล่าสดสัญญาได้หมดลงแล้ว เรื่องนี้นายชนินทร์ กล่าวว่า ทาง พล.ต.อ.สมยศ จะมีการเปิดกว้างให้บริษัทที่สนใจเข้ามาประมูลใหม่
ราคาบัตรทีมชาติไทย : ทางสมาคมฟุตบอลฯ จะไม่ตั้งราคาบัตรที่สูงจนแฟนบอลไม่สามารถเข้ามาดูได้ เพราะมีนโยบายที่จะไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากแฟนบอล แต่เข้ามาเพื่อต้องการให้คนดูมากขึ้น ทั้งนี้ในบางแมตช์ซึ่งเป็นแมตช์เฉพาะ ที่มีการเชิญต่างชาติมาแข่งขัน และมีค่าใช้จ่ายที่สูง จะเป็นการเฉลี่ยกัน โดยทางสมาคมฯจะซัพพอร์ทส่วนหนึ่ง และแฟนบอลซัพพอร์ทส่วนหนึ่ง