คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “ชมณัฐ”
ทุกวันนี้พ่อค้าแข้งบนลีกสูงสุดลูกหนังไทย เงินเดือนโดยเฉลี่ยอย่างต่ำก็เกือบๆแตะหลักแสนบาท ระดับซูเปอร์สตาร์ประจำทีม 5-6 แสนบาทมีแน่นอน ส่วนแข้งนอกไม่ต้องพูดถึง ยิ่งมีดีกรียิ่งสูง หลายรายในทีมยักษ์ใหญ่ทะลุหลักล้านบาทต่อเดือน
ทว่ารายรับที่ต้นสังกัดจะได้กลับคืนมานั้นแทบจะน้อยนิด ในศึกโตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก ได้ชัวร์ๆทีมละ 20 ล้านบาท จากส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ที่เหลือก็ไปวัดผลงานกันเอาเอง แชมป์ได้ 10 ล้านบาท รองแชมป์ 3 ล้านบาท อันดับ 3 ได้ 1.5 ล้านบาท อันดับ 4-8 ได้ 8-7-6-5-4 แสนบาท ตามลำดับ ส่วนอันดับอื่นที่เหลือไม่มีให้
ขณะที่รายได้อื่นๆแต่ละทีมก็ต้องดิ้นรนหากันเอง หลักๆอยู่ที่การหาสปอนเซอร์ ขายชุดแข่ง-ของที่ระลึก ส่วนค่าบัตรเข้าชมแทบจะไม่ต้องพูดถึง เพราะราคาเฉลี่ยอยู่แค่ใบละ 100-200 บาท หากไม่ใช่ทีมใหญ่จริงๆ หรือมีบิ๊กทีมมาเยือนถึงถิ่น ก็เก็บได้น้อยนิดเพียงหลักหมื่นหรือแสนต้นๆ ที่กระฉูดแตกก็จะมีแค่การพบกันระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่ไอ-โมบาย สเตเดียม ที่เก็บค่าตั๋วได้ถึง 3 ล้านบาทเท่านั้น
เมื่อนับวัน เงินเข้า-เงินออก เริ่มสวนทางกันมากขึ้น จึงเห็นหลายสโมสรต้องประสบปัญหาด้านการเงิน ค้างค่าจ้างนักเตะบ้าง ขายทีมต่อบ้าง หรือเลิกทำทีมไปดื้อๆเลยก็มี โดยเฉพาะทีมประเภทรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น การท่าเรือ เอฟซี ที่เปลี่ยนคนทำทีมแทบจะทุกปี และหนีไม่พ้นปัญหาเงินช็อตทุกราย ก่อนที่ล่าสุดจะได้ “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ เศรษฐีนีผู้มั่งคั่งเข้ามากอบกู้ทีม ไม่ต่างจาก ทีโอที เอสซี ที่ยื้อยุดฉุดพยุงกันทุกปี แต่สุดท้ายโชคร้ายกว่า ไม่มีใครทุ่มเงินเข้ามาอุ้ม ไร้สปอนเซอร์หนุน จนทีมต้องแตก และตกชั้นด้วยอันดับบ๊วยในฤดูกาลที่ผ่านมา
ล่าสุดยังไม่ทันเปิดฤดูกาลใหม่ 2016 ก็มี 2 ทีมแล้วที่เจอปัญหานี้ แถมยังเป็นทีมที่คว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นจาก ยามาฮ่า ลีก วัน (ดิวิชั่น 1) ในฐานะแชมป์และรองแชมป์ของลีกรองอีกด้วย คือ เพื่อนตำรวจ ที่ใช้เวลาเพียงปีเดียวคัมแบ๊กสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง ท่ามกลางภาพลักษณ์ที่สวยหรู อุดมด้วยสตาร์ดีกรีทีมชาติไทย ไม่ว่าจะเป็น “ลีซอ” ธีรเทพ วิโนทัย, ปกเกล้า อนันต์, ธนา ชะนะบุตร รวมถึงแข้งต่างชาติโปรไฟล์หรูอย่าง โช ชิโมจิ, ดานโญ เซียกา, อัตนัน บาราคัต ซึ่งแต่ละคนข้างต้นค่าเหนื่อยรวมกันปาไปเท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ สุดท้ายภายในที่กลวงก็เริ่มผลิแตกออกมาให้เห็นจนสังคมได้รับรู้ว่ามีการค้างค่าจ้างนักเตะถึง 5 เดือน และต้องทยอยปล่อยแข้งเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ปัจจุบันอนาคตยังไม่รู้ว่าจะไปต่อทางไหน เพราะแว่วๆมาว่าผู้บริหารเริ่มติดต่อขายทีมหาคนเข้ามารับไม้ต่อแล้ว
ส่วนอีกทีมคือ พัทยา ยูไนเต็ด ที่ใช้เวลา 2 ปี หวนสู่ไทยลีก โดยฤดูกาลที่ผ่านมาได้ “พายุ”' พรรณธฤต เนื่องจำนงค์ ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ระดับพันล้าน เข้ามาเทคโอเวอร์ พร้อมระดมแข้งดังจาก เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด มาสร้างทีมใหม่จนเลื่อนชั้นได้สำเร็จ ก่อนความจริงจะแดงแจ๋ออกมาว่าข้างในกลวงโบ๋ไม่ต่างกัน เพราะมีปัญหาเรื่องเงินทองค้างจ่ายกับทั้งฝั่ง “ฉลามชล” ที่ซื้อสิทธิ์ทำทีมมา และ “กิเลนผยอง” ที่ดึงนักเตะมาใช้งาน จนสุดท้ายต้องโดน ชลบุรี ยึดสิทธิ์ทำทีมคืน เพื่อไปขายต่อให้ผู้สนใจรายใหม่ที่พร้อมจริงๆ
ปัจจุบัน “ไทย พรีเมียร์ ลีก” ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว นับตั้งแต่มีการตั้งบริษัทขึ้นมาดูแลจัดการในระบบอาชีพเต็มตัว แต่ปัญหานี้แทนที่จะค่อยๆหมดไปกลับทวีคูณขึ้น หากปล่อยให้พองไปเรื่อยๆจนแตกเข้าสักวัน คงน่าเสียดาย
ทุกวันนี้พ่อค้าแข้งบนลีกสูงสุดลูกหนังไทย เงินเดือนโดยเฉลี่ยอย่างต่ำก็เกือบๆแตะหลักแสนบาท ระดับซูเปอร์สตาร์ประจำทีม 5-6 แสนบาทมีแน่นอน ส่วนแข้งนอกไม่ต้องพูดถึง ยิ่งมีดีกรียิ่งสูง หลายรายในทีมยักษ์ใหญ่ทะลุหลักล้านบาทต่อเดือน
ทว่ารายรับที่ต้นสังกัดจะได้กลับคืนมานั้นแทบจะน้อยนิด ในศึกโตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก ได้ชัวร์ๆทีมละ 20 ล้านบาท จากส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ที่เหลือก็ไปวัดผลงานกันเอาเอง แชมป์ได้ 10 ล้านบาท รองแชมป์ 3 ล้านบาท อันดับ 3 ได้ 1.5 ล้านบาท อันดับ 4-8 ได้ 8-7-6-5-4 แสนบาท ตามลำดับ ส่วนอันดับอื่นที่เหลือไม่มีให้
ขณะที่รายได้อื่นๆแต่ละทีมก็ต้องดิ้นรนหากันเอง หลักๆอยู่ที่การหาสปอนเซอร์ ขายชุดแข่ง-ของที่ระลึก ส่วนค่าบัตรเข้าชมแทบจะไม่ต้องพูดถึง เพราะราคาเฉลี่ยอยู่แค่ใบละ 100-200 บาท หากไม่ใช่ทีมใหญ่จริงๆ หรือมีบิ๊กทีมมาเยือนถึงถิ่น ก็เก็บได้น้อยนิดเพียงหลักหมื่นหรือแสนต้นๆ ที่กระฉูดแตกก็จะมีแค่การพบกันระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่ไอ-โมบาย สเตเดียม ที่เก็บค่าตั๋วได้ถึง 3 ล้านบาทเท่านั้น
เมื่อนับวัน เงินเข้า-เงินออก เริ่มสวนทางกันมากขึ้น จึงเห็นหลายสโมสรต้องประสบปัญหาด้านการเงิน ค้างค่าจ้างนักเตะบ้าง ขายทีมต่อบ้าง หรือเลิกทำทีมไปดื้อๆเลยก็มี โดยเฉพาะทีมประเภทรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น การท่าเรือ เอฟซี ที่เปลี่ยนคนทำทีมแทบจะทุกปี และหนีไม่พ้นปัญหาเงินช็อตทุกราย ก่อนที่ล่าสุดจะได้ “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ เศรษฐีนีผู้มั่งคั่งเข้ามากอบกู้ทีม ไม่ต่างจาก ทีโอที เอสซี ที่ยื้อยุดฉุดพยุงกันทุกปี แต่สุดท้ายโชคร้ายกว่า ไม่มีใครทุ่มเงินเข้ามาอุ้ม ไร้สปอนเซอร์หนุน จนทีมต้องแตก และตกชั้นด้วยอันดับบ๊วยในฤดูกาลที่ผ่านมา
ล่าสุดยังไม่ทันเปิดฤดูกาลใหม่ 2016 ก็มี 2 ทีมแล้วที่เจอปัญหานี้ แถมยังเป็นทีมที่คว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นจาก ยามาฮ่า ลีก วัน (ดิวิชั่น 1) ในฐานะแชมป์และรองแชมป์ของลีกรองอีกด้วย คือ เพื่อนตำรวจ ที่ใช้เวลาเพียงปีเดียวคัมแบ๊กสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง ท่ามกลางภาพลักษณ์ที่สวยหรู อุดมด้วยสตาร์ดีกรีทีมชาติไทย ไม่ว่าจะเป็น “ลีซอ” ธีรเทพ วิโนทัย, ปกเกล้า อนันต์, ธนา ชะนะบุตร รวมถึงแข้งต่างชาติโปรไฟล์หรูอย่าง โช ชิโมจิ, ดานโญ เซียกา, อัตนัน บาราคัต ซึ่งแต่ละคนข้างต้นค่าเหนื่อยรวมกันปาไปเท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ สุดท้ายภายในที่กลวงก็เริ่มผลิแตกออกมาให้เห็นจนสังคมได้รับรู้ว่ามีการค้างค่าจ้างนักเตะถึง 5 เดือน และต้องทยอยปล่อยแข้งเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ปัจจุบันอนาคตยังไม่รู้ว่าจะไปต่อทางไหน เพราะแว่วๆมาว่าผู้บริหารเริ่มติดต่อขายทีมหาคนเข้ามารับไม้ต่อแล้ว
ส่วนอีกทีมคือ พัทยา ยูไนเต็ด ที่ใช้เวลา 2 ปี หวนสู่ไทยลีก โดยฤดูกาลที่ผ่านมาได้ “พายุ”' พรรณธฤต เนื่องจำนงค์ ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ระดับพันล้าน เข้ามาเทคโอเวอร์ พร้อมระดมแข้งดังจาก เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด มาสร้างทีมใหม่จนเลื่อนชั้นได้สำเร็จ ก่อนความจริงจะแดงแจ๋ออกมาว่าข้างในกลวงโบ๋ไม่ต่างกัน เพราะมีปัญหาเรื่องเงินทองค้างจ่ายกับทั้งฝั่ง “ฉลามชล” ที่ซื้อสิทธิ์ทำทีมมา และ “กิเลนผยอง” ที่ดึงนักเตะมาใช้งาน จนสุดท้ายต้องโดน ชลบุรี ยึดสิทธิ์ทำทีมคืน เพื่อไปขายต่อให้ผู้สนใจรายใหม่ที่พร้อมจริงๆ
ปัจจุบัน “ไทย พรีเมียร์ ลีก” ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว นับตั้งแต่มีการตั้งบริษัทขึ้นมาดูแลจัดการในระบบอาชีพเต็มตัว แต่ปัญหานี้แทนที่จะค่อยๆหมดไปกลับทวีคูณขึ้น หากปล่อยให้พองไปเรื่อยๆจนแตกเข้าสักวัน คงน่าเสียดาย