คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุระทึกขวัญ เมื่อ รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ ว่าที่ อธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์ เกิดหายตัวไประหว่างการขับเจ็ตสกีสำรวจเส้นทางอ่าวเฉลิมพระเกียรติ 2016 จากหาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สู่หาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางไปกลับ 220 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างนั้นมีคณะกู้ชีพออกค้นหาก่อนจะโทร.เข้ามือถือได้ ทว่ากลายเป็นไต้ก๋งเรือประมงที่พบเพียงเจ็ตสกีกับโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็ไม่พบตัวจนเวลาล่วงไปกว่า 19 ชั่วโมง จึงมีเรือประมงพบห่างจากชายฝั่งปราณบุรี รวม 30 กิโลเมตร และช่วยเหลือได้ทัน
จริงๆ กิจกรรมนี้ไม่ใช่การแข่งขัน หากแต่เป็นการสำรวจเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเคยนำเรือใบชื่อ "เวคา" ที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง แล่นใบข้ามอ่าวไทยจากหน้าพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน มายังหาดเตยงาม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2509 จึงมีการย้อนรำลึกถึงเส้นทางดังกล่าว โดยมีผู้ร่วมเส้นทางราว 60 ลำ และมี "เปิ้ล" นาคร ศิลาชัย เป็นฝ่ายจัด ตลอดเส้นทางยังมีเรือใหญ่กองทัพเรือ ขนาบข้างไปตลอดเส้นทาง ที่สำคัญมีกฎว่าห้ามแข่ง ห้ามแซง
อย่างไรก็ตาม การพลัดหลงออกจากขบวนสำรวจของ รศ.ดร.บดินทร์ นั้นต้องยอมรับว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งภายหลังตัวท่านก็ออกมายอมรับเองว่าแม้จะขับขี่เจ็ตสกีมาได้สักพัก แต่ก็เป็นการใช้เส้นทางแม่น้ำ ไม่เคยออกทะเลมาก่อน จึงไม่คุ้นเคย ขณะที่ "เปิ้ล" เองก็เพิ่งทราบ พร้อมกับยืนยันว่าหากรู้มาก่อนคงไม่ปล่อยให้ออกทะเลเช่นกัน
สำหรับความปลอดภัยในการขับขี่เจ็ตสกีในบ้านเรานั้น บางครั้งอาจมีการละเลยกันไปบ้าง เห็นได้ชัดตามชายหาดเมืองท่องเที่ยวที่หลายครั้งก็ไม่มีการกำหนดเส้นทางสำหรับขับขี่เจ็ตสกี จนเกิดอุบัติเหตุอยู่เนื่องๆ หนักบ้าง เบาบ้าง ก็แล้วแต่ความประมาทของบุคคล ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับกีฬาชนิดนี้คือทัศนคติของผู้ขับขี่เจ็ตสกีในบ้านเราว่ามักมองเป็นเพียงเครื่องเล่น มากกว่า "ยานพาหนะ" ถือเป็นเรื่องผิดมหันต์ทีเดียว
พอมองเป็นเครื่องเล่น ของเล่น มันก็ยากจะไปจำกัดความเร็ว กำหนดเส้นทางวิ่ง เหมือนเวลาเราใช้ยานพาหนะทางบกที่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร แต่ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละ แค่กติกาจราจรบนท้องถนนบ่อยครั้งยังทำตามกันยาก หรือตั้งใจฝ่าฝืน พอไปขับเจ็ตสกีบนผืนน้ำทะเลที่กว้างยิ่งไปกันใหญ่ เพราะคิดว่ามันไม่อันตราย ซึ่งจริงๆ มันอันตรายมาก อยากฝากไปถึงผู้ประกอบการทั้งหลายด้วยว่า ต้องมีอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อมต่อให้ว่ายน้ำแข็งขนาดไหน ก็อาจไม่ปลอดภัยในท้องน้ำ รวมถึงหมวกกันน็อค ตกน้ำไปบางทีหัวฟาดเจ็ตสกีสลบไปก็มีให้เห็น สุดท้ายลืมไม่ได้คือการเชื่อมต่อระบบดาวเทียมกับผู้ขับขี่เจ็ตสกี อาจเป็นโทรศัพท์มือถือที่พกติดเสื้อชูชีพไว้จะสามารถหาสัญญาณหากเกิดการพลัดหลงในท้องทะเลได้
ที่สำคัญผมเองก็เพิ่งทราบจากคุณสนิท วรปัญญา นายกสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ขนาดตัวท่านเองยังมีกฎเกณฑ์เลยว่าจะไม่อนุมัติกิจกรรมในลักษณะที่ต้องแข่งขันหรือเดินทางในทะเลที่ระยะทางไกลเกินกว่า 3 กิโลเมตรจากฝั่ง เพราะรู้สึกเป็นห่วงนักกีฬา กลัวว่าเครื่องจะขัดข้องบ้าง หรือเครื่องดับ น้ำมันหมด ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน โชคยังดีที่ไม่มีใครเป็นอะไร ฝากเตือนใจผู้จัดทั้งหลายว่าต่อไปควรคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากๆ จะได้ไม่เกิดกรณีเช่นนี้ซ้ำรอยอีก
สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุระทึกขวัญ เมื่อ รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ ว่าที่ อธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์ เกิดหายตัวไประหว่างการขับเจ็ตสกีสำรวจเส้นทางอ่าวเฉลิมพระเกียรติ 2016 จากหาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สู่หาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางไปกลับ 220 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างนั้นมีคณะกู้ชีพออกค้นหาก่อนจะโทร.เข้ามือถือได้ ทว่ากลายเป็นไต้ก๋งเรือประมงที่พบเพียงเจ็ตสกีกับโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็ไม่พบตัวจนเวลาล่วงไปกว่า 19 ชั่วโมง จึงมีเรือประมงพบห่างจากชายฝั่งปราณบุรี รวม 30 กิโลเมตร และช่วยเหลือได้ทัน
จริงๆ กิจกรรมนี้ไม่ใช่การแข่งขัน หากแต่เป็นการสำรวจเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเคยนำเรือใบชื่อ "เวคา" ที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง แล่นใบข้ามอ่าวไทยจากหน้าพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน มายังหาดเตยงาม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2509 จึงมีการย้อนรำลึกถึงเส้นทางดังกล่าว โดยมีผู้ร่วมเส้นทางราว 60 ลำ และมี "เปิ้ล" นาคร ศิลาชัย เป็นฝ่ายจัด ตลอดเส้นทางยังมีเรือใหญ่กองทัพเรือ ขนาบข้างไปตลอดเส้นทาง ที่สำคัญมีกฎว่าห้ามแข่ง ห้ามแซง
อย่างไรก็ตาม การพลัดหลงออกจากขบวนสำรวจของ รศ.ดร.บดินทร์ นั้นต้องยอมรับว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งภายหลังตัวท่านก็ออกมายอมรับเองว่าแม้จะขับขี่เจ็ตสกีมาได้สักพัก แต่ก็เป็นการใช้เส้นทางแม่น้ำ ไม่เคยออกทะเลมาก่อน จึงไม่คุ้นเคย ขณะที่ "เปิ้ล" เองก็เพิ่งทราบ พร้อมกับยืนยันว่าหากรู้มาก่อนคงไม่ปล่อยให้ออกทะเลเช่นกัน
สำหรับความปลอดภัยในการขับขี่เจ็ตสกีในบ้านเรานั้น บางครั้งอาจมีการละเลยกันไปบ้าง เห็นได้ชัดตามชายหาดเมืองท่องเที่ยวที่หลายครั้งก็ไม่มีการกำหนดเส้นทางสำหรับขับขี่เจ็ตสกี จนเกิดอุบัติเหตุอยู่เนื่องๆ หนักบ้าง เบาบ้าง ก็แล้วแต่ความประมาทของบุคคล ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับกีฬาชนิดนี้คือทัศนคติของผู้ขับขี่เจ็ตสกีในบ้านเราว่ามักมองเป็นเพียงเครื่องเล่น มากกว่า "ยานพาหนะ" ถือเป็นเรื่องผิดมหันต์ทีเดียว
พอมองเป็นเครื่องเล่น ของเล่น มันก็ยากจะไปจำกัดความเร็ว กำหนดเส้นทางวิ่ง เหมือนเวลาเราใช้ยานพาหนะทางบกที่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร แต่ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละ แค่กติกาจราจรบนท้องถนนบ่อยครั้งยังทำตามกันยาก หรือตั้งใจฝ่าฝืน พอไปขับเจ็ตสกีบนผืนน้ำทะเลที่กว้างยิ่งไปกันใหญ่ เพราะคิดว่ามันไม่อันตราย ซึ่งจริงๆ มันอันตรายมาก อยากฝากไปถึงผู้ประกอบการทั้งหลายด้วยว่า ต้องมีอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อมต่อให้ว่ายน้ำแข็งขนาดไหน ก็อาจไม่ปลอดภัยในท้องน้ำ รวมถึงหมวกกันน็อค ตกน้ำไปบางทีหัวฟาดเจ็ตสกีสลบไปก็มีให้เห็น สุดท้ายลืมไม่ได้คือการเชื่อมต่อระบบดาวเทียมกับผู้ขับขี่เจ็ตสกี อาจเป็นโทรศัพท์มือถือที่พกติดเสื้อชูชีพไว้จะสามารถหาสัญญาณหากเกิดการพลัดหลงในท้องทะเลได้
ที่สำคัญผมเองก็เพิ่งทราบจากคุณสนิท วรปัญญา นายกสมาคมเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ขนาดตัวท่านเองยังมีกฎเกณฑ์เลยว่าจะไม่อนุมัติกิจกรรมในลักษณะที่ต้องแข่งขันหรือเดินทางในทะเลที่ระยะทางไกลเกินกว่า 3 กิโลเมตรจากฝั่ง เพราะรู้สึกเป็นห่วงนักกีฬา กลัวว่าเครื่องจะขัดข้องบ้าง หรือเครื่องดับ น้ำมันหมด ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน โชคยังดีที่ไม่มีใครเป็นอะไร ฝากเตือนใจผู้จัดทั้งหลายว่าต่อไปควรคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากๆ จะได้ไม่เกิดกรณีเช่นนี้ซ้ำรอยอีก