คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
หลังจบการแข่งขันซีเกมส์ 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ดูเหมือนเจ้าภาพครั้งถัดไปอย่าง มาเลเซีย ที่จะจัดในปี 2017 เริ่มเตรียมการสำหรับมหกรรมการแข่งขันกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียนอย่างรวดเร็วทันควันเพื่อให้ทันในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยมีแนวความคิดต่อยอดจากครั้งที่แล้วซึ่งลดชนิดกีฬาพื้นบ้าน (แต่สิงคโปร์ไปอัดเหรียญแบบมโหฬารในชนิดกีฬาที่ตนถนัด และตัดกีฬาสำคัญอย่างยกน้ำหนัก, ฟุตซอล และฟุตบอลหญิง ที่ตัวเองไม่มีลุ้นออก)
โดยครั้งนี้ มาเลเซีย มีแผนจะแยกตารางเหรียญรางวัลเป็น 2 ตาราง คือ ตารางเหรียญรวมสำหรับกีฬาสากลที่มีแข่งขันในโอลิมปิก ออกเป็น 1 ตาราง กับอีกตารางเป็นกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งเจ้าภาพเผยว่าต้องการบรรจุกีฬาสากลเข้ามาให้มากที่สุด และตัดกีฬาพื้นบ้านเหลือให้น้อยที่สุด
เอาตรงๆ เรื่องนี้คงเกี่ยวเนื่องมาจากผลงานของนักกีฬา มาเลเซีย และเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ต่างทำผลงานในโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไว้ไม่น่าประทับใจนัก คือ ทั้ง 11 ชาติในภูมิภาคนี้ไม่มีเหรียญทองโอลิมปิกครั้งที่แล้วเลยแม้แต่เหรียญเดียว ใช่ครับไม่มีเลยแม้แต่เหรียญเดียว ขนาดประเทศไทยของเราว่าแน่ๆ ยังมีแค่ 2 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญทองแดงเท่านั้นเอง และมีอีกเพียง 3 ชาติในอาเซียน ที่ได้เหรียญรางวัล คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ที่เหลือไม่ได้เหรียญใดเลย
เมื่อผลงานในโอลิมปิกของชาติอาเซียนไม่น่าประทับใจ เพราะมัวแต่มุ่งเน้นการเป็นเจ้าเหรียญทองซีเกมส์ มาเลเซีย ถึงแสดงความต้องการที่จะสร้างประเพณีใหม่ขึ้นมา พอเจ้าภาพครั้งที่ 29 ประกาศดังนี้ ฟิลิปปินส์ ที่จะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ 2019 อันเป็นครั้งที่ 30 เขาก็เห็นด้วยหากว่า มาเลเซีย ทำได้ เขาก็อยากจะสานต่อเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เมื่อ 2 ชาติเจ้าภาพซีเกมส์ ตั้งธงไว้เช่นนี้ก็ยังต้องรอนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมมนตรีซีเกมส์ที่มีตัวแทนจากทั้ง 11 ชาติร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ถึงจะไม่เห็นด้วยก็อาจจะขัดน้ำใจ มาเลเซีย กับ ฟิลิปปินส์ ยาก เนื่องจากประเพณีปฏิบัติของซีเกมส์นั้นค่อนข้างอลุ่มอล่วยเสมอมา การหักด้ามพร้าด้วยเข่าเพื่อขัดใจเจ้าภาพมีไม่บ่อยครั้ง หรืออาจไม่มีด้วยซ้ำไป
หากว่า มาเลเซีย ทำการแยกตารางกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ได้สำเร็จก็น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของวงการกีฬาอาเซียน ที่จะได้หันมามุ่งมั่นกับการพัฒนานักกีฬาสากลให้ก้าวหน้าไป ดีกว่ามาดีดลูกคิดคำนวณเหรียญทองที่จะได้รับจากการบรรจุกีฬาพื้นบ้านที่ตัวเองถนัดเพื่อการเป็นเจ้าเหรียญทองกันเสียที
พอเห็นแนวความคิดดีๆ แบบนี้ก็อดปลื้มใจไม่ได้ ทว่าไม่รู้ว่า มาเลเซีย จะหลอกให้ดีใจเก้อหรือเปล่า เพราะพอประกาศแนวคิดดังกล่าวไม่ทันไร ก็ได้ข่าวว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงกีฬาบ้านเขา เรียกประชุมสมาคมกีฬาต่างๆ วางเป้าหมายเพื่อคว้าอันดับ 1 ของตารางเหรียญรวมให้จงได้ ฟังแบบนี้แล้วชักไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตกลงแล้วมันจะดีหรือจะร้าย รู้แต่ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย คงต้องเร่งมือแก้ทางทัพ "เสือเหลือง" ที่ประกาศยึดเจ้าเหรียญทองครั้งนี้แล้วเหมือนกัน
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!***
หลังจบการแข่งขันซีเกมส์ 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ดูเหมือนเจ้าภาพครั้งถัดไปอย่าง มาเลเซีย ที่จะจัดในปี 2017 เริ่มเตรียมการสำหรับมหกรรมการแข่งขันกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียนอย่างรวดเร็วทันควันเพื่อให้ทันในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยมีแนวความคิดต่อยอดจากครั้งที่แล้วซึ่งลดชนิดกีฬาพื้นบ้าน (แต่สิงคโปร์ไปอัดเหรียญแบบมโหฬารในชนิดกีฬาที่ตนถนัด และตัดกีฬาสำคัญอย่างยกน้ำหนัก, ฟุตซอล และฟุตบอลหญิง ที่ตัวเองไม่มีลุ้นออก)
โดยครั้งนี้ มาเลเซีย มีแผนจะแยกตารางเหรียญรางวัลเป็น 2 ตาราง คือ ตารางเหรียญรวมสำหรับกีฬาสากลที่มีแข่งขันในโอลิมปิก ออกเป็น 1 ตาราง กับอีกตารางเป็นกีฬาพื้นบ้าน ซึ่งเจ้าภาพเผยว่าต้องการบรรจุกีฬาสากลเข้ามาให้มากที่สุด และตัดกีฬาพื้นบ้านเหลือให้น้อยที่สุด
เอาตรงๆ เรื่องนี้คงเกี่ยวเนื่องมาจากผลงานของนักกีฬา มาเลเซีย และเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ต่างทำผลงานในโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไว้ไม่น่าประทับใจนัก คือ ทั้ง 11 ชาติในภูมิภาคนี้ไม่มีเหรียญทองโอลิมปิกครั้งที่แล้วเลยแม้แต่เหรียญเดียว ใช่ครับไม่มีเลยแม้แต่เหรียญเดียว ขนาดประเทศไทยของเราว่าแน่ๆ ยังมีแค่ 2 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญทองแดงเท่านั้นเอง และมีอีกเพียง 3 ชาติในอาเซียน ที่ได้เหรียญรางวัล คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ที่เหลือไม่ได้เหรียญใดเลย
เมื่อผลงานในโอลิมปิกของชาติอาเซียนไม่น่าประทับใจ เพราะมัวแต่มุ่งเน้นการเป็นเจ้าเหรียญทองซีเกมส์ มาเลเซีย ถึงแสดงความต้องการที่จะสร้างประเพณีใหม่ขึ้นมา พอเจ้าภาพครั้งที่ 29 ประกาศดังนี้ ฟิลิปปินส์ ที่จะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ 2019 อันเป็นครั้งที่ 30 เขาก็เห็นด้วยหากว่า มาเลเซีย ทำได้ เขาก็อยากจะสานต่อเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เมื่อ 2 ชาติเจ้าภาพซีเกมส์ ตั้งธงไว้เช่นนี้ก็ยังต้องรอนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมมนตรีซีเกมส์ที่มีตัวแทนจากทั้ง 11 ชาติร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ถึงจะไม่เห็นด้วยก็อาจจะขัดน้ำใจ มาเลเซีย กับ ฟิลิปปินส์ ยาก เนื่องจากประเพณีปฏิบัติของซีเกมส์นั้นค่อนข้างอลุ่มอล่วยเสมอมา การหักด้ามพร้าด้วยเข่าเพื่อขัดใจเจ้าภาพมีไม่บ่อยครั้ง หรืออาจไม่มีด้วยซ้ำไป
หากว่า มาเลเซีย ทำการแยกตารางกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ได้สำเร็จก็น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของวงการกีฬาอาเซียน ที่จะได้หันมามุ่งมั่นกับการพัฒนานักกีฬาสากลให้ก้าวหน้าไป ดีกว่ามาดีดลูกคิดคำนวณเหรียญทองที่จะได้รับจากการบรรจุกีฬาพื้นบ้านที่ตัวเองถนัดเพื่อการเป็นเจ้าเหรียญทองกันเสียที
พอเห็นแนวความคิดดีๆ แบบนี้ก็อดปลื้มใจไม่ได้ ทว่าไม่รู้ว่า มาเลเซีย จะหลอกให้ดีใจเก้อหรือเปล่า เพราะพอประกาศแนวคิดดังกล่าวไม่ทันไร ก็ได้ข่าวว่าผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงกีฬาบ้านเขา เรียกประชุมสมาคมกีฬาต่างๆ วางเป้าหมายเพื่อคว้าอันดับ 1 ของตารางเหรียญรวมให้จงได้ ฟังแบบนี้แล้วชักไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตกลงแล้วมันจะดีหรือจะร้าย รู้แต่ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย คงต้องเร่งมือแก้ทางทัพ "เสือเหลือง" ที่ประกาศยึดเจ้าเหรียญทองครั้งนี้แล้วเหมือนกัน
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!***