คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ตอนต้นปี 2002 ในการแข่งขัน โอลิมผิค เกมส์ ฤดูหนาว ที่ ซ้อลท์ เล้ค ซิตี้ ใน ยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นเมื่อกรรมการให้คะแนนคนหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขัน สเก๊ท ลีลา (figure skating) ประเภทคู่ รับงานมากำหนดผลการแข่งขันทำให้คนที่ไม่น่าจะได้รับชัยชนะกลับได้เหรียญทองไปครองแบบค้านสายตาคนทั่วโลก
ผมกำลังพูดถึง มารี-แรน เลอ กูญ (Marie-Reine Le Gougne) อดีตนักสเก๊ทชาวฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันวัย 54 ปีเข้าไปแล้ว เธอตัดสินใจหันมาเอาดีในฐานะกรรมการตั้งแต่วัยเพียง 25 ปี จากนั้นก็เติบโตมาในสายงานการตัดสินจนได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติใน โอลิมผิค เกมส์ ฤดูหนาว ที่ นางาโนะ ในปี 1998 และหนต่อมาที่ ซ้อลท์ เล้ค ซิตี้ ในปี 2002 นี่ถึงกับวางอนาคตไว้ในตำแหน่งกรรมการด้านเท็คนิคใน สหภาพสเก๊ททิ่งนานาชาติ (International Skating Union - ISU) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก ทีเดียว
ในการชิงเหรียญทองที่ ซ้อลท์ เล้ค 2002 นั้น คู่นักสเก๊ทของ แคนาดา ทำผลงานได้ดีกว่า คู่นักสเก๊ทจาก รัสเซีย อย่างเห็นได้ชัด แต่ มารี-แรน กลับใส่คะแนนให้ รัสเซีย ซึ่งเมื่อผลการตัดสินที่ค้านสายตาถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ เธอตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนพุ่งตรงมาอย่างไม่ลังเลเลย มันต้องเป็นยายคนนี้แน่นอนที่โกงอย่างหน้าด้านๆ และเมื่อเธอกลับถึงโรงแรมที่พัก แซลลี่-แอน สเตเปิ้ลเฝิร์ด (Sally-Anne Stapleford) ประธานคณะกรรมการด้านเท็คนิคของ ISU ปรี่เข้าไปต่อว่าเธอทันที ซึ่ง มารี-แรน ถึงกับปล่อยโฮออกมาและยอมรับว่าถูกบีบบังคับจาก ดิดิเอ ไกลาเก (Didier Gailhaguet) ประธานสหพันธ์กีฬาบนน้ำแข็งของฝรั่งเศส (SSFG) ให้ใส่คะแนนให้คู่นักสเก๊ทจากรัสเซีย โดยไม่ต้องสนใจว่าอีกคู่จะทำผลงานได้ดีสุดยอดเพียงใดก็ตาม
คำให้การยอมรับดังกล่าวนี้ มารี-แรน ได้พูดเหมือนเช่นเดิมอีกครั้งในการประชุมกรรมการหลังการแข่งขันซึ่งมีขึ้นในวันต่อมา อันนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า มันเป็นแผนการที่ทาง ฝรั่งเศส กับ รัสเซีย ตกลงกันเพื่อแลกผลประโยชน์ โดยหวังจะให้ 2 นักกีฬาของฝรั่งเศสซึ่งกำลังจะลงแข่งในอีกไม่กี่วันต่อมานั้นได้เหรียญทองในการแข่งขันประเภท Ice dance บ้าง อย่างไรก็ตาม ในภายหลังพอเขาจะให้เซ็นคำให้การ มารี-แรน กลับปฏิเสธและยังกล่าวอีกว่า เธอน่ะเชื่อมั่นจริงๆว่า คู่นักสเก๊ทจากรัสเซีย เหมาะแล้วที่จะเป็นผู้ชนะ
จากกระแสกดดันหลายด้านเกี่ยวกับการโกงในการตัดสินดังกล่าว ชัก ร้อก (Jacques Rogge) ประธานคณะกรรมการโอลิมผิคสากล ตัดสินใจมอบเหรียญทองให้คู่นักสเก๊ทจาก แคนาดา ในขณะที่คู่นักสเก๊ทจากรัสเซียก็ยังไม่ถูกยึดเหรียญทอง เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดๆที่บ่งชี้ว่านักสเก๊ทจากรัสเซียทำอะไรผิด แล้วพิธีมอบเหรียญรางวัลก็มีขึ้นอีกครั้ง ถือเป็นหนแรกในประวัติศาสตร์ โอลิมผิค เกมส์ แต่งานนี้ คู่นักสเก๊ทจากจีนที่ได้เหรียญบร๊อนซ์สปฏิเสธที่จะร่วมงานแสดงปาหี่อีกครั้ง
ผลจากการกระทำที่เกิดขึ้นในปี 2002 ทำให้ มารี-แรน เลอ กูญ กรรมการขี้โกง และ ดิดิเอ ไกลาเก ประธานสหพันธ์ฯ ขี้โกง ต่างก็โดนแบนจาก ISU คนละ 3 ปี และตัดสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรมใน โตรีโน 2006 โอลิมผิค วินเท่อร์ เกมส์ ครั้งที่ 20 ที่ประเทศอิตาลี แต่ในวันนี้ มารี-แรน กลับมาแล้ว ยังบังอาจสมัครชิงตำแหน่งประธาน SSFG ในปี 2006 และอีกหนในปี 2010 ซึ่งก็ชวดทั้ง 2 ครั้ง ในขณะที่ ดิดิเอ ก็กลับมาผงาดเป็นประธาน SSFG อีกครั้ง คราวนี้ยืนยาวมาตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน
เรื่องรับงานในวงการกีฬาของฝรั่งนั้นมันก็มีเหมือนกัน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ อย่างในกรณีของฝรั่งเศสนี้ ผมยังต้องไปขุดของเมื่อ 13 ปีที่แล้วเอามาเป็นตัวอย่าง แต่เมื่อหันมาดูวงการกีฬาในประเทศไทย โดยเฉพาะวงการฟุตบอลที่กำลังยกระดับขึ้นเรื่อยๆนั้น ผมแค่ไม่อยากเห็นเรื่องรับงานที่ถูกสงสัยกันอยู่ทุกๆสัปดาห์เท่านั้นเอง จะเพื่อผลในการพนันบอลหรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางทีมก็ตาม งานอย่างนี้มันทำกันเป็นขบวนการ โดยมีคนที่คอยบงการอยู่เบื้องหลังที่ฝรั่งเรียกว่า มาสเท่อร์มายน์ด (Mastermind) แค่ไม่ให้ คนบงการ มีอำนาจหน้าที่ ความขี้โกงก็หมดไป
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
ตอนต้นปี 2002 ในการแข่งขัน โอลิมผิค เกมส์ ฤดูหนาว ที่ ซ้อลท์ เล้ค ซิตี้ ใน ยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นเมื่อกรรมการให้คะแนนคนหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขัน สเก๊ท ลีลา (figure skating) ประเภทคู่ รับงานมากำหนดผลการแข่งขันทำให้คนที่ไม่น่าจะได้รับชัยชนะกลับได้เหรียญทองไปครองแบบค้านสายตาคนทั่วโลก
ผมกำลังพูดถึง มารี-แรน เลอ กูญ (Marie-Reine Le Gougne) อดีตนักสเก๊ทชาวฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันวัย 54 ปีเข้าไปแล้ว เธอตัดสินใจหันมาเอาดีในฐานะกรรมการตั้งแต่วัยเพียง 25 ปี จากนั้นก็เติบโตมาในสายงานการตัดสินจนได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติใน โอลิมผิค เกมส์ ฤดูหนาว ที่ นางาโนะ ในปี 1998 และหนต่อมาที่ ซ้อลท์ เล้ค ซิตี้ ในปี 2002 นี่ถึงกับวางอนาคตไว้ในตำแหน่งกรรมการด้านเท็คนิคใน สหภาพสเก๊ททิ่งนานาชาติ (International Skating Union - ISU) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก ทีเดียว
ในการชิงเหรียญทองที่ ซ้อลท์ เล้ค 2002 นั้น คู่นักสเก๊ทของ แคนาดา ทำผลงานได้ดีกว่า คู่นักสเก๊ทจาก รัสเซีย อย่างเห็นได้ชัด แต่ มารี-แรน กลับใส่คะแนนให้ รัสเซีย ซึ่งเมื่อผลการตัดสินที่ค้านสายตาถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ เธอตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนพุ่งตรงมาอย่างไม่ลังเลเลย มันต้องเป็นยายคนนี้แน่นอนที่โกงอย่างหน้าด้านๆ และเมื่อเธอกลับถึงโรงแรมที่พัก แซลลี่-แอน สเตเปิ้ลเฝิร์ด (Sally-Anne Stapleford) ประธานคณะกรรมการด้านเท็คนิคของ ISU ปรี่เข้าไปต่อว่าเธอทันที ซึ่ง มารี-แรน ถึงกับปล่อยโฮออกมาและยอมรับว่าถูกบีบบังคับจาก ดิดิเอ ไกลาเก (Didier Gailhaguet) ประธานสหพันธ์กีฬาบนน้ำแข็งของฝรั่งเศส (SSFG) ให้ใส่คะแนนให้คู่นักสเก๊ทจากรัสเซีย โดยไม่ต้องสนใจว่าอีกคู่จะทำผลงานได้ดีสุดยอดเพียงใดก็ตาม
คำให้การยอมรับดังกล่าวนี้ มารี-แรน ได้พูดเหมือนเช่นเดิมอีกครั้งในการประชุมกรรมการหลังการแข่งขันซึ่งมีขึ้นในวันต่อมา อันนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า มันเป็นแผนการที่ทาง ฝรั่งเศส กับ รัสเซีย ตกลงกันเพื่อแลกผลประโยชน์ โดยหวังจะให้ 2 นักกีฬาของฝรั่งเศสซึ่งกำลังจะลงแข่งในอีกไม่กี่วันต่อมานั้นได้เหรียญทองในการแข่งขันประเภท Ice dance บ้าง อย่างไรก็ตาม ในภายหลังพอเขาจะให้เซ็นคำให้การ มารี-แรน กลับปฏิเสธและยังกล่าวอีกว่า เธอน่ะเชื่อมั่นจริงๆว่า คู่นักสเก๊ทจากรัสเซีย เหมาะแล้วที่จะเป็นผู้ชนะ
จากกระแสกดดันหลายด้านเกี่ยวกับการโกงในการตัดสินดังกล่าว ชัก ร้อก (Jacques Rogge) ประธานคณะกรรมการโอลิมผิคสากล ตัดสินใจมอบเหรียญทองให้คู่นักสเก๊ทจาก แคนาดา ในขณะที่คู่นักสเก๊ทจากรัสเซียก็ยังไม่ถูกยึดเหรียญทอง เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดๆที่บ่งชี้ว่านักสเก๊ทจากรัสเซียทำอะไรผิด แล้วพิธีมอบเหรียญรางวัลก็มีขึ้นอีกครั้ง ถือเป็นหนแรกในประวัติศาสตร์ โอลิมผิค เกมส์ แต่งานนี้ คู่นักสเก๊ทจากจีนที่ได้เหรียญบร๊อนซ์สปฏิเสธที่จะร่วมงานแสดงปาหี่อีกครั้ง
ผลจากการกระทำที่เกิดขึ้นในปี 2002 ทำให้ มารี-แรน เลอ กูญ กรรมการขี้โกง และ ดิดิเอ ไกลาเก ประธานสหพันธ์ฯ ขี้โกง ต่างก็โดนแบนจาก ISU คนละ 3 ปี และตัดสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรมใน โตรีโน 2006 โอลิมผิค วินเท่อร์ เกมส์ ครั้งที่ 20 ที่ประเทศอิตาลี แต่ในวันนี้ มารี-แรน กลับมาแล้ว ยังบังอาจสมัครชิงตำแหน่งประธาน SSFG ในปี 2006 และอีกหนในปี 2010 ซึ่งก็ชวดทั้ง 2 ครั้ง ในขณะที่ ดิดิเอ ก็กลับมาผงาดเป็นประธาน SSFG อีกครั้ง คราวนี้ยืนยาวมาตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน
เรื่องรับงานในวงการกีฬาของฝรั่งนั้นมันก็มีเหมือนกัน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ อย่างในกรณีของฝรั่งเศสนี้ ผมยังต้องไปขุดของเมื่อ 13 ปีที่แล้วเอามาเป็นตัวอย่าง แต่เมื่อหันมาดูวงการกีฬาในประเทศไทย โดยเฉพาะวงการฟุตบอลที่กำลังยกระดับขึ้นเรื่อยๆนั้น ผมแค่ไม่อยากเห็นเรื่องรับงานที่ถูกสงสัยกันอยู่ทุกๆสัปดาห์เท่านั้นเอง จะเพื่อผลในการพนันบอลหรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางทีมก็ตาม งานอย่างนี้มันทำกันเป็นขบวนการ โดยมีคนที่คอยบงการอยู่เบื้องหลังที่ฝรั่งเรียกว่า มาสเท่อร์มายน์ด (Mastermind) แค่ไม่ให้ คนบงการ มีอำนาจหน้าที่ ความขี้โกงก็หมดไป
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *