xs
xsm
sm
md
lg

10 ยอดนักหวด ผู้ไม่เคยสัมผัสมือ 1 โลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การครองบัลลังก์มือ 1 โลก ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสุดหินสำหรับวงการเทนนิส หากนับการคว้าแชมป์แกรนด์สแลม ก็มีเพียง 25 คนเท่านั้น ที่ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดตามการจัดอันดับของ สหพันธ์นักเทนนิสอาชีพชาย (เอทีพี) นับตั้งแต่ก่อตั้งปี 1973 โดย โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ปีกหลักนานถึง 302 สัปดาห์ และ แพทริก ราฟเตอร์ ร่วงเร็วสุดเพียง 1 สัปดาห์ ซึ่งเว็บไซต์ "sportskeeda" รวบรวม 10 นักหวดที่ไม่เคยขึ้นถึงมือ 1 แม้จะมีช่วงเวลาอันน่าประทับใจ และคงไม่เคยมีใครคาดคิดว่า ร็อด เลเวอร์ ตำนานชาวออสซี ผู้ทำสถิติคว้าแชมป์มากสุด 200 รายการ จะติดโผเช่นกัน

10. มานูเอล โอรานเตส (สเปน)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 180 ล้านบาท)

แม้สูงเพียง 5 ฟุต 10 นิ้ว (178 เซนติเมตร) "ลิตเติล มานูเอล" ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ปลายยุค 1960 จนถึงต้นยุค 1980 คว้าแชมป์แกรนด์สแลม 1 สมัย ในศึก "ยูเอส โอเพน 1975" รอบรองชนะเลิศกับ กิเยร์โม บิลาส จาก อาร์เจนตินา มานูเอล สร้างการคัมแบ็กครั้งใหญ่ ด้วยวัย 26 ปี โดยตกเป็นรอง 0-2 เซต และตาม ตาม 0-5 เกม (เซต 4) เร่งเครื่องเอาชนะ 3-2 เซต 4-6 , 1-6 , 6-2 , 7-5 , 6-4 ก่อนมาปราบ จิมมี คอนเนอร์ส อดีตมือ 1 ขวัญใจเจ้าถิ่น ซึ่งเป็นผู้เล่นดีสุด ณ เวลานั้น อย่างเหลือเชื่อ 3 เซตรวด 6-4 , 6-3 และ 6-3 ถูกประกาศรายชื่อเข้า "ฮอลล์ ออฟ เฟม" เมื่อปี 2012

9.แม็กนุส นอร์แมน (สวีเดน)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 192 ล้านบาท)

จำต้องรีไทร์ก่อนวัยอันควร (28 ปี) เนื่องจากปัญหาบาดเจ็บสะโพก และข้อเท้า ขึ้นถึงอันดับ 2 ของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2000 ไม่มีแชมป์แกรนด์สแลมติดมือ โดยทำได้ดีสุดเพียงแค่เข้ารอบชิงชนะเลิศ "เฟรนช์ โอเพน 2000" พ่ายแก่ กุสตาโว เคอร์เทน 1-3 เซต ปัจจุบันหันมาเอาดีด้านการโค้ช ปลุกปั้น สตานิสลาส วาวรินกา ครองอันดับ 3 ของโลก หลังจากติว โธมัส โยฮันน์สัน ซิว "ออสเตรเลียน โอเพน 2002" กับ โรบิน โซเดอร์ลิง ระยะสั้นๆ และเป็นเยงคนเดียวที่ล้ม ราฟาเอล นาดาล ราชาคอร์ตดินแดนกระทิงดุ ณ สังเวียน โรลังด์ การ์รอส ซึ่งสถิติยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

8. อาร์เธอร์ แอช (สหรัฐฯ)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 6.9 ล้านเหรียญ (ประมาณ 207 ล้านบาท)

เป็นชาวอเมริกันผิวดำเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกเรียกติดทีม "เดวิส คัพ" ของสหรัฐอเมริกา และคว้าแชมป์แกรนด์สแลม ประเภทเดี่ยว ยูเอส โอเพน 1968 , ออสเตรเลียน โอเพน (1970) และ วิมเบิลดัน (1975) โชคร้ายเจอโรคหัวใจเล่นงาน ทำให้ต้องจบอาชีพลง ปี 1980 เนื่องจากการซ้อมหนัก และต้องผ่าตัดบายพาสอีก 4 ปีต่อมา เท่านั้นยังไม่พอ แอช ยังติดเชื้อ HIV จากการผ่าตัดหน 2 (1985) ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายเลือด ก่อนเสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ เมือปี 1993 ต่อมาได้รับเหรียญแห่งอิสรภาพจากประธานาธิบดี อันเป็นอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับพลเรือน

7. ร็อด เลเวอร์ (ออสเตรเลีย)
อันดับ ATP สูงสุด : 3
เงินรางวัล : 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 300 ล้านบาท)

เป็นเจ้าของสถิติคว้าแชมป์ประเภทเดี่ยวมากสุดของวงการ (200) น่าแปลกใจที่ไม่เคยนั่งบัลลังก์อันดับ 1 ของโลกของ สหพันธ์เทนนิสอาชีพชาย (เอทีพี) แม้เคยเป็นเบอร์ 1 ของโลกมา 7 ปีซ้อน (1964-1970) และตั้งแต่ปี 1961-1962 แต่นั่นล้วนเกิดขึ้นก่อนที่ "เอทีพี" จะวางระบบเก็บคะแนนสะสมอย่างเป็นทางการ ปี 1973 อย่างไรตาม ตำนานหวดแดนจิงโจ้ เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่กวาด 4 สแลม 2 ครั้ง (1962 , 1969) และได้รับเกียรตินำชื่อมาเรียกเซ็นเตอร์คอร์ตของ "ออสเตรเลียน โอเพน"

6. วิตาส กีรูไลติส (สหรัฐฯ)
อันดับ ATP สูงสุด : 3
เงินรางวัล : 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 300 ล้านบาท)

กีรูไลติส หยุดสถิติพ่าย 16 เกมรวดแก่ จิมมี คอนเนอร์ส ปี 1980 พร้อมกล่าวติดตลก หลังจบแมตช์ถึงเคล็ดลับการเอาชนะคู่ปรับที่แพ้ทางกันมาตลอด "เพราะไม่มีใครพิชิต วิตาส กีรูไลติส 17 เกมรวด" ด้วยบุคลิกที่ดูเหมือนเป็นคนง่ายๆ และมักฉลองปาร์ตีอย่างหนักหน่วง แต่ก็จริงจังกับการเล่นเทนนิสเช่นกัน ซึ่งเป็นปัจัยหนึ่งที่ส่ง กีรูไลติส ครองแชมป์ ออสเตรเลียน โอเพน ปี 1997 ซึ่งเป็นแกรนด์สแลมเพียงรายการเดียว

5. อเล็กซ์ คอร์เร็ตยา (สเปน)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 450 ล้านบาท)

ไม่เคยคว้าแชมป์แกรนด์สแลม ทำได้ดีสุดเพียงรองแชมป์ เฟรนช์ โอเพน 2 สมัย (1998 , 2001) ทัวร์นาเมนต์สำคัญที่ส่งตัวเองขึ้นถึงอันดับสูงสุด คือ รายการส่งท้ายฤดูกาล "เอทีพี ทัวร์ เวิลด์ แชมเปียนชิป 1998" และช่วยทัพนักหวดแดนกระทิงดุ คว้าแชมป์ เดวิส คัพ ปี 2000 ก่อนรีไทร์ปี 2005 และรับบทโค้ชติวรุ่นน้อง ในเทนนิสประเภททีมชายชิงแชมป์โลก ปี 2012 และ 2013

4. มิชาเอล สติช (เยอรมนี)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 21 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 420 ล้านบาท)

สร้างชื่อจากการคว้าแชมป์แกรนด์สแลม "วิมเบิลดัน 1991" เอาชนะทั้ง สเตฟาน เอ็ดเบิร์ก มือ 1 โลกชาวสวีเดน (รอบรองชนะเลิศ) และแชมป์ 3 สมัยอย่าง บอริส เบ็คเกอร์ (รอบชิงชนะเลิศ) ตามด้วยรายการเดียวกัน ประเภทคู่ กับ จอห์น แม็คเอ็นโร , เหรียญทองโอลิมปิก 1992 ประเภทคู่ (บอริส เบ็คเกอร์) และคว้าแชมป์ส่งท้ายฤดูกาล 1993 "เอทีพี เวิลด์ แชมเปียนชิป" โดยไม่แพ้ใครเลยตลอดทัวร์นาเมนต์

3.กิเยร์โม บิลาส (อาร์เจนตินา)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 21.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 642 ล้านบาท)

บิลาส คว้าแชมป์ติดต่อกัน 7 รายการ ต่อจาก "วิมเบิลดัน 1977" ที่เมืองคิตซ์บูเฮล , วอชิงตัน , หลุยส์วิลล์ , เซาธ์ ออเรนจ์ , โคลัมบัส , ยูเอส โอเพน และ ปารีส บนคอร์ตดินทั้งหมด สร้างสถิติชนะ 57 แมตช์ และเป็นแชมป์มากสุด 16 รายการต่อซีซัน แต่ก็ไม่สามารถโค่น จิมมี คอนเนอร์ส ซึ่งกวาดแชมป์ระดับมาสเตอร์ กับ 6 รายการที่เหลือ ในปีเดียวกัน ปิดฉากด้วยการครองมือ 1 โลก อย่างไรก็ต่ท บิลาส ประสบความสำเร็จมีแชมป์แกรนด์สแลมติดมือ 4 สมัย ออสเตรเลียน โอเพน (1978 , 1979) , เฟรนช์ โอเพน และ ยูเอส โอเพน (1977) ผ่านควอลิฟายการเป็นหนึ่งในสุดยอดนักเทนนิส

2. ไมเคิล ชาง (สหรัฐฯ)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 29.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 882 ล้านบาท)

มีแชมป์แกรนด์สแลมรายารเดียวตลอดอาชีพ ซึ่งกว่าจะทำสำเร็จ เรียกได้ว่าเลือดตาแทบกระเด็น โดยเฉพาะรอบ 4 เฟรนช์ โอเพน 1989 ชาง ในวัย 17 ปี ต้องดวลกับ อิวาน เลนเดิล มือ 1 ของโลก ณ เวลานั้น คัมแบ็กกลับมาตีเสมอ 2-2 เซจ แต่ก็ต้องกัดฟันกับการเป็นตะกริว เสิร์ฟช้อนใต้ลูก , กินกล้วย และดื่มน้ำตลอดเกม ก่อนจะเอาชนะอย่างเหลือเชื่อ 4-6 , 4-6 , 6-3 , 6-3 และ 6-3 ก่อนเข้าสู่รอบชิงฯ ล้ม สเตฟาน เอ็ดบิร์ก กลายเป็นแชมป์สแลมอายุน้อยสุด ติดทำเนียบ "ฮอลล์ ออฟ เฟม" 2008

1. โกรัน อิวานิเซวิช (โครเอเชีย)
อันดับ ATP สูงสุด : 2
เงินรางวัล : 29.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 888 ล้านบาท)

อกหักจากแกรนด์สแลม "วิมเบิลดัน" 3 ครั้ง ปี 1992 , 1994 และ 1998 โดยพ่าย อังเดร อากัสซี (1 ครั้ง) และ พีท แซมพรัส (2 ครั้ง) และดูเหมือนคว่ามฝันจะพังทลาย เมื่อปี 2001 สิงห์อีซ้ายเลือดโครแอต หล่นอันดับ 125 ของโลก แต่ยังคว้าสิทธิ์ไวล์ดการ์ด เข้าสู่สังเวียน ออล อิงแลนด์ คลับ กรุยทางมาถึงรอบชิงชนะเลิศ โค่น แพทริค ราฟเตอร์ 3-2 เซต 6-3 , 3-6 , 6-3 , 2-6 และ 9-7 สร้างประวัติศาสตร์เป็นมือต่ำสุดที่คว้าแชมป์ ณ ประเทศอังกฤษ
มานูเอล โอรานเตส
แม็กนุส นอร์แมน
อาร์เธอร์ แอช
ร็อด ้เลเวอร์
วิตาส กีรูไลติส
อเล็กซ์ คอร์เร็ตยา
มิชาเอล สติช
กิเยร์โม บิลาส
ไมเคิล ชาง
โกรัน อิวานิเซวิช
กำลังโหลดความคิดเห็น