คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
เมื่อราว 2 ปีก่อน นั่นก็ทีหนึ่งแล้วที่ เชโรม วัลก์ (Jerome Valcke) เลขาธิการ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ออกมาบ่นถึงความล่าช้าในการเตรียมการ ฟุตบอลโลก 2014 ที่ บราซิว ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคมนี้ ถึงกับออกปากว่า “ต้องเตะเข้ารูทวารหลังสักหน่อยแล้ว” มาคราวนี้ ฟีฟ่า สร้างความฮือฮาอีกหน โดยตีพิมพ์คำเตือนให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังสิ่งต่างๆ ในประเทศบราซิว ซึ่งคาดกันว่าจะมีนักท่องเที่ยวราว 600,000 คนแห่แหนไปในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ลงใน วารสารรายสัปดาห์ (THE FIFA WEEKLY) ประจำสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซ้ท์ของ ฟีฟ่า
คำเตือนของ ฟีฟ่า สำหรับผู้ที่จะไป บราซิว ต้องเผชิญนั้นมีอยู่ 10 เรื่องและถูกเผยแพร่กระจายออกไปตามสื่อต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสื่อของบราซิวเองที่แสดงความไม่พอใจอย่างมากที่ถูกมองเหมือนกับคนบราซิวเป็นชาติไร้การศึกษา ไม่มีความอดทน ไม่ตรงต่อเวลา และไม่มีระเบียบ
ผมว่ามันอยู่ที่การเลือกใช้ถ้อยคำที่ค่อนข้างจะออกมาในทางดูถูก เหยียดหยาม เย้ยหยัน ชาวบราซิว ซึ่งแน่นอนว่าใครโดนเข้าไปอย่างนั้นย่อมเสียความรู้สึกอย่างแรง จาก 10 ข้อดังกล่าวนั้น ผมขอยกตัวอย่างมาสัก 5 ประการ ดังนี้ครับ
“ใช่” บางทีมันก็ไม่ได้หมายความว่า “ใช่” จริงๆ เนื่องจากคนบราซิวค่อนข้างเปิดเผยและมองโลกในแง่ดี จะไม่พูดปฏิเสธ แต่มันก็ต้องมีสุ้มเสียงที่ยืนยันเมื่อคิดอย่างที่พูดจริงๆ ดังนั้น สำหรับคนบราซิว ถ้าเขาบอกว่า “ใช่” มันจะมีความหมายเพียง “บางที” อย่างเช่น ถ้าใครบอกคุณว่า “เออ เดี๋ยวจะโทร.กลับไปนะ” อันนี้ก็ต้องทำใจนะ คุณจะไม่มีทางได้ยินเสียงโทรศัพท์เรียกกลับมาภายในอีกไม่กี่นาที
เวลายืดหยุ่นได้ การตรงต่อเวลาไม่ใช่ “ระเบียบวิธีการ” ในประเทศบราซิว ถ้ามีการนัดหมายกับใคร จะไม่มีใครคิดว่าคุณจะไปยังสถานที่นั้นตรงตามเวลานัดเป๊ะๆหรอก การไปสายสัก 15 นาทีจะถือเป็นมาตรฐานที่ผ่อนผันกันได้ ดังนั้นหากคน 2 คนนัดกันตอนเที่ยงครึ่ง กว่าทั้งสองจะได้เจอกันจริงๆก็ปาเข้าไปเที่ยงสี่สิบห้าเป็นอย่างน้อย
การสื่อด้วยการสัมผัส ชายหญิงชาวบราซิวไม่คุ้นเคยกับมารยาทแบบชาวยุโรปที่มีการวางระยะระหว่างกัน เวลาที่พวกเขาคุยกันก็มักจะใช้มือไปด้วย โดยไม่ลังเลที่จะสัมผัสคู่สนทนา ยิ่งในสถานบันเทิงอาจเลยไปถึงการจูบ แต่พึงเข้าใจให้ถูกต้องว่ามันเป็นเพียงรูปแบบง่ายๆ ในการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ไม่ใช่การเชื้อเชิญให้ทำอะไรเลยเถิดไปไกลกว่านี้
การเข้าคิว การอดทนรอคอยไม่ได้อยู่ในสายเลือดของชาวบราซิวเลย เช่น เวลาขึ้นบันไดเลื่อนนั้น ถ้าเป็นในประเทศอังกฤษเขาจะยืนเรียงชิดไปทางด้านหนึ่งคือด้านขวา แต่ที่บราซิวไม่มีปรากฏ พวกเขานิยมความสับสนอลหม่านมากกว่า ต่างก็แย่งกันแซงขึ้นไปข้างหน้าอย่างหน้าตาเฉย
ใหญ่กว่าย่อมอยู่รอด บนท้องถนน ไม่มีรถคันไหนรู้สึกแยแสต่อคนเดินเท้า แม้จะข้ามทางม้าเลยก็เถอะ ยากที่จะมีรถหยุดให้เดินสบายๆ แล้วก็ไอ้เรื่องทางเอก ทางโท ทางไหนได้สิทธิ์ก่อน อันนี้ไม่มีหรอก มันขึ้นอยู่กับว่ารถคนไหนใหญ่กว่าเท่านั้น ของเอ็งคันเล็กกว่าก็ต้องหลบไป
หลังจากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ในที่สุด ฟีฟ่า ยอมรับความผิดพลาดออกมากล่าวขอโทษ และรีบถอดบทความคำเตือนดังกล่าวออกจากเว็บไซ้ท์ของ ฟีฟ่า ไปแล้วครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
เมื่อราว 2 ปีก่อน นั่นก็ทีหนึ่งแล้วที่ เชโรม วัลก์ (Jerome Valcke) เลขาธิการ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ออกมาบ่นถึงความล่าช้าในการเตรียมการ ฟุตบอลโลก 2014 ที่ บราซิว ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคมนี้ ถึงกับออกปากว่า “ต้องเตะเข้ารูทวารหลังสักหน่อยแล้ว” มาคราวนี้ ฟีฟ่า สร้างความฮือฮาอีกหน โดยตีพิมพ์คำเตือนให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังสิ่งต่างๆ ในประเทศบราซิว ซึ่งคาดกันว่าจะมีนักท่องเที่ยวราว 600,000 คนแห่แหนไปในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก ลงใน วารสารรายสัปดาห์ (THE FIFA WEEKLY) ประจำสัปดาห์ล่าสุด ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซ้ท์ของ ฟีฟ่า
คำเตือนของ ฟีฟ่า สำหรับผู้ที่จะไป บราซิว ต้องเผชิญนั้นมีอยู่ 10 เรื่องและถูกเผยแพร่กระจายออกไปตามสื่อต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสื่อของบราซิวเองที่แสดงความไม่พอใจอย่างมากที่ถูกมองเหมือนกับคนบราซิวเป็นชาติไร้การศึกษา ไม่มีความอดทน ไม่ตรงต่อเวลา และไม่มีระเบียบ
ผมว่ามันอยู่ที่การเลือกใช้ถ้อยคำที่ค่อนข้างจะออกมาในทางดูถูก เหยียดหยาม เย้ยหยัน ชาวบราซิว ซึ่งแน่นอนว่าใครโดนเข้าไปอย่างนั้นย่อมเสียความรู้สึกอย่างแรง จาก 10 ข้อดังกล่าวนั้น ผมขอยกตัวอย่างมาสัก 5 ประการ ดังนี้ครับ
“ใช่” บางทีมันก็ไม่ได้หมายความว่า “ใช่” จริงๆ เนื่องจากคนบราซิวค่อนข้างเปิดเผยและมองโลกในแง่ดี จะไม่พูดปฏิเสธ แต่มันก็ต้องมีสุ้มเสียงที่ยืนยันเมื่อคิดอย่างที่พูดจริงๆ ดังนั้น สำหรับคนบราซิว ถ้าเขาบอกว่า “ใช่” มันจะมีความหมายเพียง “บางที” อย่างเช่น ถ้าใครบอกคุณว่า “เออ เดี๋ยวจะโทร.กลับไปนะ” อันนี้ก็ต้องทำใจนะ คุณจะไม่มีทางได้ยินเสียงโทรศัพท์เรียกกลับมาภายในอีกไม่กี่นาที
เวลายืดหยุ่นได้ การตรงต่อเวลาไม่ใช่ “ระเบียบวิธีการ” ในประเทศบราซิว ถ้ามีการนัดหมายกับใคร จะไม่มีใครคิดว่าคุณจะไปยังสถานที่นั้นตรงตามเวลานัดเป๊ะๆหรอก การไปสายสัก 15 นาทีจะถือเป็นมาตรฐานที่ผ่อนผันกันได้ ดังนั้นหากคน 2 คนนัดกันตอนเที่ยงครึ่ง กว่าทั้งสองจะได้เจอกันจริงๆก็ปาเข้าไปเที่ยงสี่สิบห้าเป็นอย่างน้อย
การสื่อด้วยการสัมผัส ชายหญิงชาวบราซิวไม่คุ้นเคยกับมารยาทแบบชาวยุโรปที่มีการวางระยะระหว่างกัน เวลาที่พวกเขาคุยกันก็มักจะใช้มือไปด้วย โดยไม่ลังเลที่จะสัมผัสคู่สนทนา ยิ่งในสถานบันเทิงอาจเลยไปถึงการจูบ แต่พึงเข้าใจให้ถูกต้องว่ามันเป็นเพียงรูปแบบง่ายๆ ในการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ไม่ใช่การเชื้อเชิญให้ทำอะไรเลยเถิดไปไกลกว่านี้
การเข้าคิว การอดทนรอคอยไม่ได้อยู่ในสายเลือดของชาวบราซิวเลย เช่น เวลาขึ้นบันไดเลื่อนนั้น ถ้าเป็นในประเทศอังกฤษเขาจะยืนเรียงชิดไปทางด้านหนึ่งคือด้านขวา แต่ที่บราซิวไม่มีปรากฏ พวกเขานิยมความสับสนอลหม่านมากกว่า ต่างก็แย่งกันแซงขึ้นไปข้างหน้าอย่างหน้าตาเฉย
ใหญ่กว่าย่อมอยู่รอด บนท้องถนน ไม่มีรถคันไหนรู้สึกแยแสต่อคนเดินเท้า แม้จะข้ามทางม้าเลยก็เถอะ ยากที่จะมีรถหยุดให้เดินสบายๆ แล้วก็ไอ้เรื่องทางเอก ทางโท ทางไหนได้สิทธิ์ก่อน อันนี้ไม่มีหรอก มันขึ้นอยู่กับว่ารถคนไหนใหญ่กว่าเท่านั้น ของเอ็งคันเล็กกว่าก็ต้องหลบไป
หลังจากที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ในที่สุด ฟีฟ่า ยอมรับความผิดพลาดออกมากล่าวขอโทษ และรีบถอดบทความคำเตือนดังกล่าวออกจากเว็บไซ้ท์ของ ฟีฟ่า ไปแล้วครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *