คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
สัปดาห์นี้เป็นการแข่งขันกอล์ฟรายการ เดอะ มาสเตอร์ส ซึ่งเป็นเมเจอร์แรกของปี 2013 ที่มีนักอล์ฟชื่อดังเข้าร่วมชิงชัยกันอย่างคึกคัก ที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นคู่มือหนึ่งและสองของโลก โดยทางด้านมือหนึ่งไทเกอร์ วูดส์ ช่วงนี้ก็ฟอร์มแรงจัดจ้านดีเหลือเกินปีนี้ชนะมาแล้วถึงสามรายการ ส่วน รอรีย์ แม็คอิลรอย เองนั้นก็มีคะแนนตามหลังอยู่ไม่ห่างนักและมีโอกาสแย่งตำแหน่งมือหนึ่งกลับมาได้เช่นกันหากทำผลงานได้ดีกว่าไทเกอร์มากพอสมควรในรายการนี้ แต่เรื่องที่น่าภูมิใจและเพิ่มความพิเศษในการติดตามผลการแข่งขันในปีนี้สำหรับแฟนกอล์ฟชาวไทยก็คือ การมีนักกอล์ฟจากประเทศไทยที่ได้สิทธิ์รับเชิญไปร่วมแข่งขันในรายการนี้อีกครั้ง
ถ้าย้อนกลับไปดูการก่อสร้างตำนานของเดอะมาสเตอร์สจะพบว่า มีความเกี่ยวเนื่องของโปรชาวไทยและประวัติของรายการด้วยเช่นกัน เดิมทีนั้นวิสัยทัศน์ของ บอบบี้ โจนส์ และ คลิฟฟอร์ด โรเบิดส์ ผู้ก่อตั้งสนามออกัสต้า แนชั่นแนล ต้องการให้มีการแข่งขันระดับสูงสุดของสุดยอดฝีมือไม่ว่าจะเป็นโปรหรือนักกอล์ฟสมัครเล่น ถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ การเชิญผู้เข้าร่วมแข่งขันอาจจะมองข้ามคนบางกลุ่มไปบ้าง แต่ปัจจุบันค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้หลักการของผู้ที่ควรได้รับสิทธิแข่งขันชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น ในอเมริกาทั้งสื่อและนักสังคมวิทยาจะชอบอ้างอิงถึงปี 1975 ที่ ลี เอลเดอร์ ได้เป็นนักกอล์ฟผิวดำคนแรกที่ได้ทำลายกำแพงความไม่เสมอภาคลงได้ โดยมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันเดอะมาสเตอร์ส แต่อันที่จริงถ้าจะมองถึงเรื่องเหยียดผิวแล้ว ประเด็นควรครอบคลุมถึงผิวทุกสีที่ไม่ใช่ฝรั่งผิวขาว และควรจารึกและอ้างอิงใหม่ให้ถูกต้องว่าโปรสุกรี อ่อนฉ่ำ ผู้เอาชนะอุปสรรคชีวิตมามากมายของไทยต่างหากที่เป็นผู้ทะลุกำแพงดังกล่าวได้เป็นคนแรก เมื่อได้เข้าร่วมการแข่งขันเดอะมาสเตอร์สในปี 1970 และ 1971
ส่วนปีนี้ โปรถาวร วิรัตน์จันทร์ นั้นได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากเป็นผู้ที่ทำเงินรางวัลรวมสูงสุดของเอเชียน ทัวร์ ในฤดูกาล 2012 ที่ผ่านมา กว่าที่โปรเล็กของเราจะก้าวมาถึงจุดนี้นั้นเขาได้ผ่านเส้นทางที่เต็มไปด้วยความอุตสาหะ อดทน อดกลั้น ตั้งใจฝึกซ้อมอย่างหนักมาอย่างยาวนาน
ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่านักกอล์ฟรุ่นใหม่ที่ตั้งเป้าว่าอยากเดินทางในสายอาชีพนั้นควรมองโปรเล็กเป็นตัวอย่าง ในวันว่างจากการแข่งขันนั้นก็จะตื่นเช้าขึ้นมาซ้อมลูกสั้น ชิพ พัตต์ รวมไปถึงลูกแก้ไขต่างๆ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งของเขา และยังเป็นส่วนสำคัญของเกมกอล์ฟอีกด้วย หลังจากนั้นก็จะเข้าสนามไดร์ฟฝึกซ้อมช็อตต่างๆ และรักษาจังหวะวงสวิงให้เข้าที่ มั่นคง พอตกบ่ายก็ออกรอบ 9 - 18 หลุมแล้วแต่เวลาจะอำนวย บางวันแค่นั้นยังไม่พอ หลังจากออกรอบแล้วถ้ายังเห็นข้อผิดพลาด เขาก็จะกลับเข้าสนามไดร์ฟอีกครั้งเพื่อแก้ไขตรงจุดนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ท่านสามารถเข้าไปดูเพื่อศึกษาด้วยตาตัวเองได้ที่สนามกอล์ฟกองทัพบก โดยโปรเล็กจะซ้อมอยู่เป็นประจำที่ช่องไดร์ฟขวาสุดของสนามไดร์ฟ ท.บ. นั่นเอง
ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นเพื่ออยากให้นักกอล์ฟรุ่นใหม่มีกำลังใจในการฝึกซ้อม วิธีปฎิบัติตัวเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ อาจจะเอาวินัยของโปรรุ่นพี่ หรือเอาความมุมานะของโปรรุ่นที่ "พ่อเราเรียกว่าพี่" มาเป็นตัวอย่างหรือแรงบันดาลใจก็ได้ แต่อย่าลืมเป็นอันขาดว่าที่มาของแรงเชียร์และความภูมิใจที่คนไทยมีให้นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับผลของการแข่งขันกอล์ฟแต่เพียงเรื่องเดียว
สัปดาห์นี้เป็นการแข่งขันกอล์ฟรายการ เดอะ มาสเตอร์ส ซึ่งเป็นเมเจอร์แรกของปี 2013 ที่มีนักอล์ฟชื่อดังเข้าร่วมชิงชัยกันอย่างคึกคัก ที่น่าจับตามองมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นคู่มือหนึ่งและสองของโลก โดยทางด้านมือหนึ่งไทเกอร์ วูดส์ ช่วงนี้ก็ฟอร์มแรงจัดจ้านดีเหลือเกินปีนี้ชนะมาแล้วถึงสามรายการ ส่วน รอรีย์ แม็คอิลรอย เองนั้นก็มีคะแนนตามหลังอยู่ไม่ห่างนักและมีโอกาสแย่งตำแหน่งมือหนึ่งกลับมาได้เช่นกันหากทำผลงานได้ดีกว่าไทเกอร์มากพอสมควรในรายการนี้ แต่เรื่องที่น่าภูมิใจและเพิ่มความพิเศษในการติดตามผลการแข่งขันในปีนี้สำหรับแฟนกอล์ฟชาวไทยก็คือ การมีนักกอล์ฟจากประเทศไทยที่ได้สิทธิ์รับเชิญไปร่วมแข่งขันในรายการนี้อีกครั้ง
ถ้าย้อนกลับไปดูการก่อสร้างตำนานของเดอะมาสเตอร์สจะพบว่า มีความเกี่ยวเนื่องของโปรชาวไทยและประวัติของรายการด้วยเช่นกัน เดิมทีนั้นวิสัยทัศน์ของ บอบบี้ โจนส์ และ คลิฟฟอร์ด โรเบิดส์ ผู้ก่อตั้งสนามออกัสต้า แนชั่นแนล ต้องการให้มีการแข่งขันระดับสูงสุดของสุดยอดฝีมือไม่ว่าจะเป็นโปรหรือนักกอล์ฟสมัครเล่น ถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ การเชิญผู้เข้าร่วมแข่งขันอาจจะมองข้ามคนบางกลุ่มไปบ้าง แต่ปัจจุบันค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้หลักการของผู้ที่ควรได้รับสิทธิแข่งขันชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น ในอเมริกาทั้งสื่อและนักสังคมวิทยาจะชอบอ้างอิงถึงปี 1975 ที่ ลี เอลเดอร์ ได้เป็นนักกอล์ฟผิวดำคนแรกที่ได้ทำลายกำแพงความไม่เสมอภาคลงได้ โดยมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันเดอะมาสเตอร์ส แต่อันที่จริงถ้าจะมองถึงเรื่องเหยียดผิวแล้ว ประเด็นควรครอบคลุมถึงผิวทุกสีที่ไม่ใช่ฝรั่งผิวขาว และควรจารึกและอ้างอิงใหม่ให้ถูกต้องว่าโปรสุกรี อ่อนฉ่ำ ผู้เอาชนะอุปสรรคชีวิตมามากมายของไทยต่างหากที่เป็นผู้ทะลุกำแพงดังกล่าวได้เป็นคนแรก เมื่อได้เข้าร่วมการแข่งขันเดอะมาสเตอร์สในปี 1970 และ 1971
ส่วนปีนี้ โปรถาวร วิรัตน์จันทร์ นั้นได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันเนื่องจากเป็นผู้ที่ทำเงินรางวัลรวมสูงสุดของเอเชียน ทัวร์ ในฤดูกาล 2012 ที่ผ่านมา กว่าที่โปรเล็กของเราจะก้าวมาถึงจุดนี้นั้นเขาได้ผ่านเส้นทางที่เต็มไปด้วยความอุตสาหะ อดทน อดกลั้น ตั้งใจฝึกซ้อมอย่างหนักมาอย่างยาวนาน
ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่านักกอล์ฟรุ่นใหม่ที่ตั้งเป้าว่าอยากเดินทางในสายอาชีพนั้นควรมองโปรเล็กเป็นตัวอย่าง ในวันว่างจากการแข่งขันนั้นก็จะตื่นเช้าขึ้นมาซ้อมลูกสั้น ชิพ พัตต์ รวมไปถึงลูกแก้ไขต่างๆ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งของเขา และยังเป็นส่วนสำคัญของเกมกอล์ฟอีกด้วย หลังจากนั้นก็จะเข้าสนามไดร์ฟฝึกซ้อมช็อตต่างๆ และรักษาจังหวะวงสวิงให้เข้าที่ มั่นคง พอตกบ่ายก็ออกรอบ 9 - 18 หลุมแล้วแต่เวลาจะอำนวย บางวันแค่นั้นยังไม่พอ หลังจากออกรอบแล้วถ้ายังเห็นข้อผิดพลาด เขาก็จะกลับเข้าสนามไดร์ฟอีกครั้งเพื่อแก้ไขตรงจุดนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ท่านสามารถเข้าไปดูเพื่อศึกษาด้วยตาตัวเองได้ที่สนามกอล์ฟกองทัพบก โดยโปรเล็กจะซ้อมอยู่เป็นประจำที่ช่องไดร์ฟขวาสุดของสนามไดร์ฟ ท.บ. นั่นเอง
ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นเพื่ออยากให้นักกอล์ฟรุ่นใหม่มีกำลังใจในการฝึกซ้อม วิธีปฎิบัติตัวเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ อาจจะเอาวินัยของโปรรุ่นพี่ หรือเอาความมุมานะของโปรรุ่นที่ "พ่อเราเรียกว่าพี่" มาเป็นตัวอย่างหรือแรงบันดาลใจก็ได้ แต่อย่าลืมเป็นอันขาดว่าที่มาของแรงเชียร์และความภูมิใจที่คนไทยมีให้นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับผลของการแข่งขันกอล์ฟแต่เพียงเรื่องเดียว