เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ออกมาให้เหตุผลที่ปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีบนเส้นประตูเข้ามาช่วยในการตัดสินว่าไม่ต้องการให้เสียค่าใช้จ่ายสูงและเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในเกมฟุตบอลทุกระดับทั่วโลก
ก่อนหน้านี้มีเสียงเรียกร้องให้ ฟีฟ่า ทบทวนเรื่องการนำเทคโนโลยีบนเส้นประตูเข้ามาช่วยในการตัดสิน เพื่อดูว่าลูกบอลข้ามเส้นประตูแล้วหรือยัง หลังเกิดปัญหาให้ถกเถียงบ่อยครั้งอันเนื่องมาจากการมองด้วยตาเปล่าของผู้ตัดสินอาจไม่ทันในจังหวะที่ลูกบอลเคลื่อนที่เร็ว
แม้จะมีการยื่นเรื่องเสนอในที่ประชุมบอร์ดสมาคมฟุตบอลระดับนานาชาติเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ฟีฟ่าก็สกัดแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาทดลองใช้ โดย แบลตเตอร์ ประมุขลูกหนังโลกชี้แจงเหตุผลผ่านทางเว็บไซต์ www.fifa.com ว่า “การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมาตรงที่ไม่สามารถนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก”
“หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของฟีฟ่าคือการดำรงไว้ซึ่งความเป็นสากลของเกมฟุตบอล สิ่งนี้หมายความว่าฟุตบอลเป็นเกมที่จะต้องมีลักษณะการเล่นเหมือนกันทั่วโลก หากคุณเป็นโค้ชให้กับวัยรุ่นตามหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก พวกเขาก็ต้องเล่นตามกฎกติกาเดียวกันกับที่เห็นนักฟุตบอลอาชีพเล่นกันในโทรทัศน์ด้วย”
แบลตเตอร์ ยังเสริมอีกว่าเทคโนโลยีบนเส้นประตูจะนำไปสู่การใช้ภาพช้าเข้ามาช่วยตัดสินจังหวะสำคัญ ซึ่งหากนำมาใช้จริงก็อาจมีผลกระทบทำให้เกิดการเรียกร้องขอดูภาพช้าในทุกจังหวะอย่างพร่ำเพรื่อ โดยเสนอว่าแนวทางที่เหมาะสมคือการเพิ่มจำนวนผู้ตัดสินหลังประตู หรือเพิ่มบทบาทหน้าที่ของผู้ตัดสินที่ 4
ก่อนหน้านี้มีเสียงเรียกร้องให้ ฟีฟ่า ทบทวนเรื่องการนำเทคโนโลยีบนเส้นประตูเข้ามาช่วยในการตัดสิน เพื่อดูว่าลูกบอลข้ามเส้นประตูแล้วหรือยัง หลังเกิดปัญหาให้ถกเถียงบ่อยครั้งอันเนื่องมาจากการมองด้วยตาเปล่าของผู้ตัดสินอาจไม่ทันในจังหวะที่ลูกบอลเคลื่อนที่เร็ว
แม้จะมีการยื่นเรื่องเสนอในที่ประชุมบอร์ดสมาคมฟุตบอลระดับนานาชาติเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ฟีฟ่าก็สกัดแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาทดลองใช้ โดย แบลตเตอร์ ประมุขลูกหนังโลกชี้แจงเหตุผลผ่านทางเว็บไซต์ www.fifa.com ว่า “การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งจะเกิดปัญหาตามมาตรงที่ไม่สามารถนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก”
“หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของฟีฟ่าคือการดำรงไว้ซึ่งความเป็นสากลของเกมฟุตบอล สิ่งนี้หมายความว่าฟุตบอลเป็นเกมที่จะต้องมีลักษณะการเล่นเหมือนกันทั่วโลก หากคุณเป็นโค้ชให้กับวัยรุ่นตามหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก พวกเขาก็ต้องเล่นตามกฎกติกาเดียวกันกับที่เห็นนักฟุตบอลอาชีพเล่นกันในโทรทัศน์ด้วย”
แบลตเตอร์ ยังเสริมอีกว่าเทคโนโลยีบนเส้นประตูจะนำไปสู่การใช้ภาพช้าเข้ามาช่วยตัดสินจังหวะสำคัญ ซึ่งหากนำมาใช้จริงก็อาจมีผลกระทบทำให้เกิดการเรียกร้องขอดูภาพช้าในทุกจังหวะอย่างพร่ำเพรื่อ โดยเสนอว่าแนวทางที่เหมาะสมคือการเพิ่มจำนวนผู้ตัดสินหลังประตู หรือเพิ่มบทบาทหน้าที่ของผู้ตัดสินที่ 4