เคือคำ ลี กลายเป็นวีรสตรีแห่งวงการยกน้ำหนักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อประกาศศักดาคว้าเหรียญทองในการแข่งขันรุ่นน้ำหนัก 53 กก.หญิง ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
กีฬายกน้ำหนักเปิดฉากขึ้นแล้วใน "เวียงจันทน์เกมส์" ซึ่งเมื่อช่วงบ่ายสามโมง มีการชิงชัยรุ่น 53 กก.หญิง ทิ้งท้ายจากทั้งหมด 3 เหรียญทองในวันนี้ ปรากฏว่า เคือคำ ลี ไม่ทำให้แฟนๆ ชาวลาว ในยิมเนเซียมของโรงเรียนพอนสะวัน ต้องผิดหวังซิวเหรียญทองมาคล้องคอสำเร็จ โดยในท่าสแนช ยกได้ 58 กก. ท่าคลีน แอนด์ เจิร์ค ยกได้อีก 65 กก. น้ำหนักรวมเป็น 123 กก. ชนะ ไรฮาน ยูซอฟ จากมาเลเซีย 3 กก. ขณะที่เหรียญทองแดงเป็นของ ธันดา เอ (เมียนมาร์) น้ำหนักรวม 119 กก.
ในส่วนของนักกีฬาไทยส่ง อังศุมาลิน สายเลิศ ลงยกท่าสแนชได้ 55 กก. ท่าคลีน แอนด์ เจิร์ค 60 กก. น้ำหนักรวมเป็น 115 กก. ทำดีที่สุดเพียงแค่คว้าอันดับ 5 ไม่มีเหรียญรางวัลติดมือกลับบ้านแต่อย่างใด
ภายหลังแข่งจบ เคือคำ ลี ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว MGR Sport หลังสร้างประวัติศาสตร์ได้เหรียญทองแรกในกีฬายกน้ำหนักของลาว "ดีใจที่ซ้อมมา 10 เดือนเต็มแล้วประสบความสำเร็จได้เหรียญทองมาครอง ต้องขอบคุณโค้ช (ประเสริฐ สุ่มประดิษฐ์) จากไทย ที่ช่วยฝึกสอนเกี่ยวกับการยกน้ำหนักให้ทุกอย่าง โค้ชรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดไหน ส่วนสาเหตุที่เลือกยกน้ำหนัก เพราะติดตามกีฬาชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก จึงอยากลองยกน้ำหนักดู ซึ่งเป้าหมายต่อไปขอลงในเวทีระดับนานาชาติ จะได้ผลอย่างไรตามมาก็สุดแล้วแต่"
ด้าน ทันสมัย กมมะสิทธิ์ ประธานสหพันธ์กีฬายกน้ำหนักลาว เผยด้วยว่า "รู้สึกภูมิใจกับนักกีฬาคนนี้ (เคือคำ ลี) ที่สร้างประวัติศาสตร์ให้วงการยกเหล็กลาว เป้าหมายต่อไปของสหพันธ์คือจะพยายามผลักดันให้นักยกน้ำหนักของลาวได้เข้าร่วมแข่งขันในเวทีระดับสากลมากขึ้น"
ขณะที่ ประเสริฐ สุ่มประดิษฐ์ โค้ชไทยที่มาช่วยฝึกสอนให้ทัพยกเหล็กลาว กล่าวทิ้งท้าย "การที่ลาวส่งยกน้ำหนักลงแข่งในเวทีนานาชาติเป็นครั้งแรก แล้วก็ได้เหรียญคำ (เหรียญทอง) เลยถือเป็นนิมิตรหมายอันดี เชื่อว่านักยกเหล็กลาวสามารถไปได้ไกลถึงเวทีระดับโลก ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากสหพันธ์ยกน้ำหนักลาวเอง สำหรับผมมาด้วยสัญญาช่วยเหลือซึ่งสหพันธ์ยกน้ำหนักลาวติดต่อขอโค้ชจากไทย สมาคมฯ จึงส่งผมมาช่วย จบซีเกมส์ครั้งนี้ผมคงกลับไปรับราชการทหารที่หน่วยสงครามพิเศษ"
สำหรับ อาจารย์ประเสริฐ ประวัติเคยปั้นนักยกเหล็กทีมชาติไทย กวาดเหรียญรางวัลในโอลิมปิกมาแล้วทั้ง เกษราภรณ์ สุตา ได้เหรียญทองแดงที่ซิดนีย์เกมส์ ปี 2000 จากนั้น 4 ปีให้หลังที่ เอเธนส์เกมส์ ก็ผลักดันจน อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก ซิวเหรียญทองมาครอง
กีฬายกน้ำหนักเปิดฉากขึ้นแล้วใน "เวียงจันทน์เกมส์" ซึ่งเมื่อช่วงบ่ายสามโมง มีการชิงชัยรุ่น 53 กก.หญิง ทิ้งท้ายจากทั้งหมด 3 เหรียญทองในวันนี้ ปรากฏว่า เคือคำ ลี ไม่ทำให้แฟนๆ ชาวลาว ในยิมเนเซียมของโรงเรียนพอนสะวัน ต้องผิดหวังซิวเหรียญทองมาคล้องคอสำเร็จ โดยในท่าสแนช ยกได้ 58 กก. ท่าคลีน แอนด์ เจิร์ค ยกได้อีก 65 กก. น้ำหนักรวมเป็น 123 กก. ชนะ ไรฮาน ยูซอฟ จากมาเลเซีย 3 กก. ขณะที่เหรียญทองแดงเป็นของ ธันดา เอ (เมียนมาร์) น้ำหนักรวม 119 กก.
ในส่วนของนักกีฬาไทยส่ง อังศุมาลิน สายเลิศ ลงยกท่าสแนชได้ 55 กก. ท่าคลีน แอนด์ เจิร์ค 60 กก. น้ำหนักรวมเป็น 115 กก. ทำดีที่สุดเพียงแค่คว้าอันดับ 5 ไม่มีเหรียญรางวัลติดมือกลับบ้านแต่อย่างใด
ภายหลังแข่งจบ เคือคำ ลี ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว MGR Sport หลังสร้างประวัติศาสตร์ได้เหรียญทองแรกในกีฬายกน้ำหนักของลาว "ดีใจที่ซ้อมมา 10 เดือนเต็มแล้วประสบความสำเร็จได้เหรียญทองมาครอง ต้องขอบคุณโค้ช (ประเสริฐ สุ่มประดิษฐ์) จากไทย ที่ช่วยฝึกสอนเกี่ยวกับการยกน้ำหนักให้ทุกอย่าง โค้ชรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดไหน ส่วนสาเหตุที่เลือกยกน้ำหนัก เพราะติดตามกีฬาชนิดนี้มาตั้งแต่เด็ก จึงอยากลองยกน้ำหนักดู ซึ่งเป้าหมายต่อไปขอลงในเวทีระดับนานาชาติ จะได้ผลอย่างไรตามมาก็สุดแล้วแต่"
ด้าน ทันสมัย กมมะสิทธิ์ ประธานสหพันธ์กีฬายกน้ำหนักลาว เผยด้วยว่า "รู้สึกภูมิใจกับนักกีฬาคนนี้ (เคือคำ ลี) ที่สร้างประวัติศาสตร์ให้วงการยกเหล็กลาว เป้าหมายต่อไปของสหพันธ์คือจะพยายามผลักดันให้นักยกน้ำหนักของลาวได้เข้าร่วมแข่งขันในเวทีระดับสากลมากขึ้น"
ขณะที่ ประเสริฐ สุ่มประดิษฐ์ โค้ชไทยที่มาช่วยฝึกสอนให้ทัพยกเหล็กลาว กล่าวทิ้งท้าย "การที่ลาวส่งยกน้ำหนักลงแข่งในเวทีนานาชาติเป็นครั้งแรก แล้วก็ได้เหรียญคำ (เหรียญทอง) เลยถือเป็นนิมิตรหมายอันดี เชื่อว่านักยกเหล็กลาวสามารถไปได้ไกลถึงเวทีระดับโลก ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากสหพันธ์ยกน้ำหนักลาวเอง สำหรับผมมาด้วยสัญญาช่วยเหลือซึ่งสหพันธ์ยกน้ำหนักลาวติดต่อขอโค้ชจากไทย สมาคมฯ จึงส่งผมมาช่วย จบซีเกมส์ครั้งนี้ผมคงกลับไปรับราชการทหารที่หน่วยสงครามพิเศษ"
สำหรับ อาจารย์ประเสริฐ ประวัติเคยปั้นนักยกเหล็กทีมชาติไทย กวาดเหรียญรางวัลในโอลิมปิกมาแล้วทั้ง เกษราภรณ์ สุตา ได้เหรียญทองแดงที่ซิดนีย์เกมส์ ปี 2000 จากนั้น 4 ปีให้หลังที่ เอเธนส์เกมส์ ก็ผลักดันจน อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก ซิวเหรียญทองมาครอง