คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
นับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2002 ที่ เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งกล่าวกันว่ามีการตัดสินผิดพลาดหลายครั้ง สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติก็เริ่มกังวลใจอย่างหนัก และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การตัดสินที่ผิดพลาดก็ยังคงสร้างรอยด่างให้กับวงการฟุตบอลทั่วโลกในทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก ของไทย โดยเฉพาะในรายการที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีการฉายภาพบางเหตุการณ์ที่น่าสนใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ผู้ชมทางบ้านได้ชมในแบบภาพช้า ( Slow Motion ) อย่างจุใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพการทำประตู จังหวะกระชากลากเลื้อยด้วยทักษะอันยอดเยี่ยมดูเพลินตา ลูกล้ำหน้า หรือการทำฟาล์วต่างๆ ตลอดจน จังหวะที่น่ากังขา แต่ขณะเดียวกันการฉายภาพซ้ำดังกล่าว บางครั้งก็เป็นการประจานให้คนทั้งโลกได้เห็นถึงการตัดสินที่ผิดพลาดของกรรมการในสนามด้วย
ในวงการเทนนิส เขาใช้ นัยน์ตาเหยี่ยว ( Hawk-Eye ) ซึ่งเป็นระบบ “ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ ” ที่เรียกว่า 3D computer simulation โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 10 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล นำมาติดตั้งเพื่อช่วยในการพิสูจน์ว่า ลูกใดลงในคอร์ทหรือออกนอกคอร์ท ระบบนี้ช่วยขจัดปัญหาไปได้ชะงัดทีเดียว และเคยมีคนพยายามผลักดันให้ใช้ ฮ็อค-อาย กับเกมฟุตบอล โดยนำไปติดตั้งที่เส้นประตูเพื่อคอยพิสูจน์ว่า ลูกบอลผ่านข้ามเส้นเป็นประตูหรือไม่ แต่ความคิดนี้ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว เมื่อทั้ง เซ็พพ์ บลัทเทอร์ ( Sepp Blatter ) ประธานฟีฟา และ มีเชล ปลาตินี ประธานสหพันธุ์ฟุตบอลยุโรป ออกมาบอกว่า พวกเขาไม่ยอมรับ ฮ็อค-อาย รวมทั้ง กล้องวีดิโอในเกมฟุตบอล เพราะมันจะทำให้อำนาจการตัดสินของผู้ตัดสินเสียไป หากต้องถูกอุปกรณ์ฮายเทคฯเหล่านั้นทำตัวเป็น “ โคตรกรรมการ ” อีกที
ทันทีที่ มีเชล ปลาตินี ได้รับเลือกเป็นผู้นำสูงสุดของฟุตบอลยุโรป จากการเลือกตั้งที่ ดุสเซลดอร์ฟ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2007 โดยสามารถโค่น เล็นนาร์ท โยฮานซอน ( Lennart Johansson ) ประธาน ยูเอ็ฟฟา คนก่อนที่อยู่ในตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปีได้ ราว 2 สัปดาห์ต่อมา เขาก็เริ่มงานด้วยการเสนอแนวความคิดที่จะใช้ผู้ตัดสินในสนามถึง 5 คนแทนที่จะเป็น 3 คนอย่างในปัจจุบัน ปลาตินี หยิบยกตัวอย่างแมตช์สุดสัปดาห์ของฟุตบอล เพรอมิเอชิพ อังกฤษที่ตอนนั้นเพิ่งผ่านไปไม่กี่วัน เป็นนัดที่ อาร์เซนอล พบกับ วีแกน ที่ Ashburton Grove หรือ the Grove ( Emirates Stadium ) ซึ่งผลนัดนั้น เจ้าบ้านชนะ 2-1 แต่มีอย่างน้อย 2 เหตุการณ์สำคัญที่น่าจะทำให้สกอร์พลิกผันจากผลการตัดสินของกรรมการได้ คือ จังหวะที่ อาร์เซนอล ได้ประตูแรกนั้น เมื่อนำภาพวีดิโอมาฉายดู ปรากฏว่าเป็นลูกล้ำหน้า ซึ่งทั้งผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินก็ดันตาถั่ว ไม่ได้ให้เป็นลูกล้ำหน้า แต่กลับเป่าให้เป็นประตู นอกจากนั้น ยังมีจังหวะที่ มาติเออ ฟลามินี ( Mathieu Flamini ) นักเตะฝรั่งเศสของ อาร์เซนอล ไปทำฟาล์ว เอมิล เฮสกีย์ ( Emile Heskey ) ของ วีแกน ในเขตโทษ ซึ่ง วีแกน ควรได้ลูกโทษที่จุดโทษ และ ฟลามินี ก็สมควรโดนใบแดงไล่ออกจากสนามด้วย แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ว่าอะไร
ปลาตินี บอกว่า ผู้ตัดสินอีก 2 คนจะไปยืนอยู่ในเขตโทษแต่ละฝั่ง เพื่อช่วยผู้ตัดสินหลักในการจับตาดูลูกล้ำหน้า รวมทั้ง จับตาดูอย่างใกล้ชิดในจังหวะที่ต้องชี้ขาดอย่างรวดเร็วว่าสมควรที่จะให้เป็นลูกโทษที่จุดโทษหรือไม่ โดยจะทดลองใช้ในการแข่งขัน ยูเอ็ฟฟา ยู-21 ( the UEFA European Under-21 Championship ) ซึ่งจะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ เซ็พพ์ บลัทเทอร์ เองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ผู้ตัดสิน 2 คนที่ว่านี้จะให้คาบนกหวีดด้วยหรือไม่ แต่ก็ได้ออกมายืนยันว่าจะนำมาใช้ผู้ตัดสินเพิ่มอีก 2 คนที่ว่านี้อย่างแน่นอนในการแข่งขัน เดอะ คอนเฟเดอเรเชิ่น คัพ ( The Confederations Cup ) ที่ประเทศ อัฟริกาใต้ ในเดือนมิถุนายน 2009
เกี่ยวกับเรื่องการใช้ผู้ตัดสิน 5 คนนั้น ก็ยังมีหลายคนไม่เห็นด้วย บางคนต้องการให้มีกรรมการอีกเพียงคนเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏตัว หมอนี่คอยพิจารณาเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาด้วยการดูจากภาพวีดิโอ แล้วส่งสัญญาณบอกผู้ตัดสินในสนามจะดีกว่า แฟนบอลจะได้ไม่เสียอรรถรสในการชมเกม บางคนก็ต้องการให้เกมฟุตบอลยังคงมีรสชาติของความผิดๆถูกๆบ้าง อย่างเรื่องการใช้มือปัดลูกบอลเข้าประตูของ ดิเอโก มาราโดนา ในฟุตบอลโลกปี 1986 ที่ อาร์เจนตินา ชนะ อังกฤษ ไป 2-1 ผู้คนก็ยังเล่าขานเป็นตำนานไปไม่รู้อีกกี่สิบปี
ผมอยากจะเรียนท่านผู้อ่านว่า ตามที่เราเข้าใจว่าการแข่งขันฟุตบอลแต่ละแมตช์นั้นมีผู้ตัดสิน 4 คนคือ ผู้ตัดสินหลักกลางสนาม ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ที่เดิมเรียกว่า ผู้กำกับเส้น 2 คน และผู้ตัดสินที่ 4 นั้น ความจริง ตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี 2006 แล้วครับที่ฟีฟาให้มีผู้ตัดสินในแต่ละเกมถึง 5 คน โดยคนที่ 5 นี้จะทำหน้าที่ช่วยผู้ตัดสินที่ 4 และอาจลงทำหน้าที่แทนผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ยืนกำกับเส้นอยู่หรือแทนผู้ตัดสินที่ 4 ได้เมื่อจำเป็น แต่สำหรับผู้ตัดสินหลักนั้น ถ้าเกิดกรณีบาดเจ็บไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เขาจะให้ผู้ตัดสินที่ 4 เป็นคนทำหน้าที่แทน ดังนั้น ถ้าตามสูตรของ บลัทเทอร์ กับ ปลาตินี ที่จะเพิ่มผู้ตัดสินในสนามอีก 2 คน ต่อไปนี้การแข่งขันฟุตบอลแต่ละเกมก็ต้องมีทีมผู้ตัดสินรวม 7 คนครับ
นับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2002 ที่ เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งกล่าวกันว่ามีการตัดสินผิดพลาดหลายครั้ง สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติก็เริ่มกังวลใจอย่างหนัก และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การตัดสินที่ผิดพลาดก็ยังคงสร้างรอยด่างให้กับวงการฟุตบอลทั่วโลกในทุกระดับ ไม่เว้นแม้แต่ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก ของไทย โดยเฉพาะในรายการที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีการฉายภาพบางเหตุการณ์ที่น่าสนใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ผู้ชมทางบ้านได้ชมในแบบภาพช้า ( Slow Motion ) อย่างจุใจ ไม่ว่าจะเป็นภาพการทำประตู จังหวะกระชากลากเลื้อยด้วยทักษะอันยอดเยี่ยมดูเพลินตา ลูกล้ำหน้า หรือการทำฟาล์วต่างๆ ตลอดจน จังหวะที่น่ากังขา แต่ขณะเดียวกันการฉายภาพซ้ำดังกล่าว บางครั้งก็เป็นการประจานให้คนทั้งโลกได้เห็นถึงการตัดสินที่ผิดพลาดของกรรมการในสนามด้วย
ในวงการเทนนิส เขาใช้ นัยน์ตาเหยี่ยว ( Hawk-Eye ) ซึ่งเป็นระบบ “ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ ” ที่เรียกว่า 3D computer simulation โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 10 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล นำมาติดตั้งเพื่อช่วยในการพิสูจน์ว่า ลูกใดลงในคอร์ทหรือออกนอกคอร์ท ระบบนี้ช่วยขจัดปัญหาไปได้ชะงัดทีเดียว และเคยมีคนพยายามผลักดันให้ใช้ ฮ็อค-อาย กับเกมฟุตบอล โดยนำไปติดตั้งที่เส้นประตูเพื่อคอยพิสูจน์ว่า ลูกบอลผ่านข้ามเส้นเป็นประตูหรือไม่ แต่ความคิดนี้ได้ถูกล้มเลิกไปแล้ว เมื่อทั้ง เซ็พพ์ บลัทเทอร์ ( Sepp Blatter ) ประธานฟีฟา และ มีเชล ปลาตินี ประธานสหพันธุ์ฟุตบอลยุโรป ออกมาบอกว่า พวกเขาไม่ยอมรับ ฮ็อค-อาย รวมทั้ง กล้องวีดิโอในเกมฟุตบอล เพราะมันจะทำให้อำนาจการตัดสินของผู้ตัดสินเสียไป หากต้องถูกอุปกรณ์ฮายเทคฯเหล่านั้นทำตัวเป็น “ โคตรกรรมการ ” อีกที
ทันทีที่ มีเชล ปลาตินี ได้รับเลือกเป็นผู้นำสูงสุดของฟุตบอลยุโรป จากการเลือกตั้งที่ ดุสเซลดอร์ฟ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2007 โดยสามารถโค่น เล็นนาร์ท โยฮานซอน ( Lennart Johansson ) ประธาน ยูเอ็ฟฟา คนก่อนที่อยู่ในตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปีได้ ราว 2 สัปดาห์ต่อมา เขาก็เริ่มงานด้วยการเสนอแนวความคิดที่จะใช้ผู้ตัดสินในสนามถึง 5 คนแทนที่จะเป็น 3 คนอย่างในปัจจุบัน ปลาตินี หยิบยกตัวอย่างแมตช์สุดสัปดาห์ของฟุตบอล เพรอมิเอชิพ อังกฤษที่ตอนนั้นเพิ่งผ่านไปไม่กี่วัน เป็นนัดที่ อาร์เซนอล พบกับ วีแกน ที่ Ashburton Grove หรือ the Grove ( Emirates Stadium ) ซึ่งผลนัดนั้น เจ้าบ้านชนะ 2-1 แต่มีอย่างน้อย 2 เหตุการณ์สำคัญที่น่าจะทำให้สกอร์พลิกผันจากผลการตัดสินของกรรมการได้ คือ จังหวะที่ อาร์เซนอล ได้ประตูแรกนั้น เมื่อนำภาพวีดิโอมาฉายดู ปรากฏว่าเป็นลูกล้ำหน้า ซึ่งทั้งผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินก็ดันตาถั่ว ไม่ได้ให้เป็นลูกล้ำหน้า แต่กลับเป่าให้เป็นประตู นอกจากนั้น ยังมีจังหวะที่ มาติเออ ฟลามินี ( Mathieu Flamini ) นักเตะฝรั่งเศสของ อาร์เซนอล ไปทำฟาล์ว เอมิล เฮสกีย์ ( Emile Heskey ) ของ วีแกน ในเขตโทษ ซึ่ง วีแกน ควรได้ลูกโทษที่จุดโทษ และ ฟลามินี ก็สมควรโดนใบแดงไล่ออกจากสนามด้วย แต่ผู้ตัดสินกลับไม่ว่าอะไร
ปลาตินี บอกว่า ผู้ตัดสินอีก 2 คนจะไปยืนอยู่ในเขตโทษแต่ละฝั่ง เพื่อช่วยผู้ตัดสินหลักในการจับตาดูลูกล้ำหน้า รวมทั้ง จับตาดูอย่างใกล้ชิดในจังหวะที่ต้องชี้ขาดอย่างรวดเร็วว่าสมควรที่จะให้เป็นลูกโทษที่จุดโทษหรือไม่ โดยจะทดลองใช้ในการแข่งขัน ยูเอ็ฟฟา ยู-21 ( the UEFA European Under-21 Championship ) ซึ่งจะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ เซ็พพ์ บลัทเทอร์ เองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ผู้ตัดสิน 2 คนที่ว่านี้จะให้คาบนกหวีดด้วยหรือไม่ แต่ก็ได้ออกมายืนยันว่าจะนำมาใช้ผู้ตัดสินเพิ่มอีก 2 คนที่ว่านี้อย่างแน่นอนในการแข่งขัน เดอะ คอนเฟเดอเรเชิ่น คัพ ( The Confederations Cup ) ที่ประเทศ อัฟริกาใต้ ในเดือนมิถุนายน 2009
เกี่ยวกับเรื่องการใช้ผู้ตัดสิน 5 คนนั้น ก็ยังมีหลายคนไม่เห็นด้วย บางคนต้องการให้มีกรรมการอีกเพียงคนเดียว ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏตัว หมอนี่คอยพิจารณาเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาด้วยการดูจากภาพวีดิโอ แล้วส่งสัญญาณบอกผู้ตัดสินในสนามจะดีกว่า แฟนบอลจะได้ไม่เสียอรรถรสในการชมเกม บางคนก็ต้องการให้เกมฟุตบอลยังคงมีรสชาติของความผิดๆถูกๆบ้าง อย่างเรื่องการใช้มือปัดลูกบอลเข้าประตูของ ดิเอโก มาราโดนา ในฟุตบอลโลกปี 1986 ที่ อาร์เจนตินา ชนะ อังกฤษ ไป 2-1 ผู้คนก็ยังเล่าขานเป็นตำนานไปไม่รู้อีกกี่สิบปี
ผมอยากจะเรียนท่านผู้อ่านว่า ตามที่เราเข้าใจว่าการแข่งขันฟุตบอลแต่ละแมตช์นั้นมีผู้ตัดสิน 4 คนคือ ผู้ตัดสินหลักกลางสนาม ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ที่เดิมเรียกว่า ผู้กำกับเส้น 2 คน และผู้ตัดสินที่ 4 นั้น ความจริง ตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี 2006 แล้วครับที่ฟีฟาให้มีผู้ตัดสินในแต่ละเกมถึง 5 คน โดยคนที่ 5 นี้จะทำหน้าที่ช่วยผู้ตัดสินที่ 4 และอาจลงทำหน้าที่แทนผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ยืนกำกับเส้นอยู่หรือแทนผู้ตัดสินที่ 4 ได้เมื่อจำเป็น แต่สำหรับผู้ตัดสินหลักนั้น ถ้าเกิดกรณีบาดเจ็บไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เขาจะให้ผู้ตัดสินที่ 4 เป็นคนทำหน้าที่แทน ดังนั้น ถ้าตามสูตรของ บลัทเทอร์ กับ ปลาตินี ที่จะเพิ่มผู้ตัดสินในสนามอีก 2 คน ต่อไปนี้การแข่งขันฟุตบอลแต่ละเกมก็ต้องมีทีมผู้ตัดสินรวม 7 คนครับ