นักวิจัยเมืองเบียร์เผยการแอบหลับกลางวัน แบบที่วินสตัน เชอร์ชิล, เลดี้แทตเชอร์ และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ชอบ ช่วยกระตุ้นการประมวลผลความจำในสมอง แม้ได้พักสายตาเพียงแค่ 6 นาทีก็เห็นผล
การศึกษานับสิบชิ้นก่อนหน้านี้พิสูจน์ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับกับความจำ โดยมีหลักฐานชัดเจนว่า วงจรการหลับ-ตื่นของร่างกายรับบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
กระนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุสเซลดอร์ฟ เยอรมนี ต้องการรู้ว่าการนอนหลับพักผ่อนช่วงสั้นๆ สามารถส่งผลแบบเดียวกันหรือไม่
นักวิจัยกลุ่มนี้ทำการทดลองโดยขอให้นักศึกษาจดจำชุดคำ และให้พักหนึ่งชั่วโมงก่อนทดสอบ ระหว่างช่วงพักดังกล่าว นักศึกษาบางคนจะได้รับอนุญาตให้นอนหลับราวหกนาที ขณะที่คนอื่นๆ ไม่ได้นอน
ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่ได้งีบหลับทำคะแนนการทดสอบความจำได้ดีกว่า
บางทฤษฎีชี้ว่า การประมวลผลความจำจะเกิดขึ้นขณะหลับสนิท ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงอย่างน้อย 20 นาทีหลังจากหลับ
อย่างไรก็ตาม ดร.โอลาฟ ลาห์ล ผู้นำทีมวิจัย เชื่อว่ากระบวนการในการหลับ ซึ่งเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปจะกลับมาเล่นใหม่ในสมอง คือกลไกของเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงการนอนหลับโดยตัวของมันเองเท่านั้น
กล่าวคือเป็นไปได้ว่าตั้งแต่วินาทีที่ผลอยหลับสมองจะถูกกระตุ้นในกระบวนการที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าคนๆ นั้นจะตื่นขึ้นมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม และถือเป็นครั้งแรกที่พบว่า การนอนหลับช่วงสั้นมากๆ สามารถเสริมสร้างความจำได้
ส่วนการนอนหลับยาวนั้น ดร.ลาห์ลเชื่อว่ามีความสำคัญต่อหน้าที่หลักของสมอง เช่น การแก้ไขความผิดพลาดในการเชื่อมโยงในสมอง
ทว่า ศาสตราจารย์จิม ฮอร์น จากศูนย์วิจัยการนอนหลับ มหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์ในอังกฤษ แย้งว่าแม้ผลการวิจัยดังกล่าวน่าสนใจ แต่ตนไม่เชื่อว่าการงีบหลับแค่หกนาทีจะเสริมสร้างความจำอย่างมีประสิทธิภาพได้จริง
อนึ่ง ในอดีตนั้น เชอร์ชิลต้องเอนหลังหลังมื้อกลางวันทุกวัน ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุนี้เองอดีตผู้นำอังกฤษผู้นี้จึงมีพละกำลังนำทางประเทศผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2
เช่นเดียวกัน ผู้ช่วยของเลดี้แทชเชอร์ได้รับคำสั่งไม่ให้กวนใจนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กเมืองผู้ดีระหว่างบ่าย 2 โมงครึ่งถึงบ่าย 3 โมงครึ่ง
บิลล์ คลินตัน ขอหลับครึ่งชั่วโมงหลังมื้อเที่ยง บรรดาสมาชิกสมาคมคนชอบนอนกลางวันยังรวมถึงจอห์น เอฟ. เคนเนดี้, โรนัลด์ เรแกน, ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นอกจากนั้น เมื่อต้นปี ดร.ดิมิเทรียส ไทรโชปูลัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาและติดตามผลนาน 6 ปีที่แสดงให้เห็นว่าการนอนกลางวันๆ ละครึ่งชั่วโมง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะลดโอกาสเกิดหัวใจวายได้ถึง 37%
การศึกษานับสิบชิ้นก่อนหน้านี้พิสูจน์ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับกับความจำ โดยมีหลักฐานชัดเจนว่า วงจรการหลับ-ตื่นของร่างกายรับบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
กระนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุสเซลดอร์ฟ เยอรมนี ต้องการรู้ว่าการนอนหลับพักผ่อนช่วงสั้นๆ สามารถส่งผลแบบเดียวกันหรือไม่
นักวิจัยกลุ่มนี้ทำการทดลองโดยขอให้นักศึกษาจดจำชุดคำ และให้พักหนึ่งชั่วโมงก่อนทดสอบ ระหว่างช่วงพักดังกล่าว นักศึกษาบางคนจะได้รับอนุญาตให้นอนหลับราวหกนาที ขณะที่คนอื่นๆ ไม่ได้นอน
ผลปรากฏว่า นักศึกษาที่ได้งีบหลับทำคะแนนการทดสอบความจำได้ดีกว่า
บางทฤษฎีชี้ว่า การประมวลผลความจำจะเกิดขึ้นขณะหลับสนิท ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงอย่างน้อย 20 นาทีหลังจากหลับ
อย่างไรก็ตาม ดร.โอลาฟ ลาห์ล ผู้นำทีมวิจัย เชื่อว่ากระบวนการในการหลับ ซึ่งเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปจะกลับมาเล่นใหม่ในสมอง คือกลไกของเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงการนอนหลับโดยตัวของมันเองเท่านั้น
กล่าวคือเป็นไปได้ว่าตั้งแต่วินาทีที่ผลอยหลับสมองจะถูกกระตุ้นในกระบวนการที่ต่อเนื่อง ไม่ว่าคนๆ นั้นจะตื่นขึ้นมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม และถือเป็นครั้งแรกที่พบว่า การนอนหลับช่วงสั้นมากๆ สามารถเสริมสร้างความจำได้
ส่วนการนอนหลับยาวนั้น ดร.ลาห์ลเชื่อว่ามีความสำคัญต่อหน้าที่หลักของสมอง เช่น การแก้ไขความผิดพลาดในการเชื่อมโยงในสมอง
ทว่า ศาสตราจารย์จิม ฮอร์น จากศูนย์วิจัยการนอนหลับ มหาวิทยาลัยลัฟโบโรห์ในอังกฤษ แย้งว่าแม้ผลการวิจัยดังกล่าวน่าสนใจ แต่ตนไม่เชื่อว่าการงีบหลับแค่หกนาทีจะเสริมสร้างความจำอย่างมีประสิทธิภาพได้จริง
อนึ่ง ในอดีตนั้น เชอร์ชิลต้องเอนหลังหลังมื้อกลางวันทุกวัน ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุนี้เองอดีตผู้นำอังกฤษผู้นี้จึงมีพละกำลังนำทางประเทศผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2
เช่นเดียวกัน ผู้ช่วยของเลดี้แทชเชอร์ได้รับคำสั่งไม่ให้กวนใจนายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กเมืองผู้ดีระหว่างบ่าย 2 โมงครึ่งถึงบ่าย 3 โมงครึ่ง
บิลล์ คลินตัน ขอหลับครึ่งชั่วโมงหลังมื้อเที่ยง บรรดาสมาชิกสมาคมคนชอบนอนกลางวันยังรวมถึงจอห์น เอฟ. เคนเนดี้, โรนัลด์ เรแกน, ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นอกจากนั้น เมื่อต้นปี ดร.ดิมิเทรียส ไทรโชปูลัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาและติดตามผลนาน 6 ปีที่แสดงให้เห็นว่าการนอนกลางวันๆ ละครึ่งชั่วโมง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะลดโอกาสเกิดหัวใจวายได้ถึง 37%