นิวยอร์ก ไจแอนต์ส และ นิวยอร์ก เจตส์ 2 ทีมดังประจำลีก อเมริกันฟุตบอล เอ็นเอฟแอล ร่วมเมือง "บิ้ก แอปเปิล" ถูกหลายฝ่ายออกมาต่อต้านการขายสิทธิ์ตั้งชื่อสนามใหม่ซึ่งจะเปิดใช้ในปี 2010ของทั้ง 2 ทีมให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยหนุนหลัง "ลัทธินาซีของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
สิทธิ์ตั้งชื่อสนามแห่งใหม่ในปี 2010 ของ 2 ยอดทีมที่ปัจจุบันใช้สนาม ไจแอนส์ สเตเดียม คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(660 ล้านบาท) - 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(990 ล้านบาท)
อลิซ แม็คกิลเลียน โฆษกของบริษัท นิว เมโดว์แลนด์ส สเตเดียมออกมาเผยว่า ทางบิรษัทและ เจ้าของของทั้ง 2 ทีมยังไม่ได้ตัดสินใจบรรลุสัญญา เนื่องจากค่อนข้างมีความกังวลกับประวัติของบริษัทอัลลิแอนซ์ (Allianz)สัญชาติเยอรมัน หนึ่งในบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้สิทธ์ตั้งชื่อสนามของ 1860 มิวนิค และ บาเยิร์น มิวนิค 2 ทีมดังแห่งวงการฟุตบอลเยอรมัน
"ทาง นิว เมโดว์แลนด์ส สเตเดียม กำลังดำเนินการอย่างระมัดระวังมากที่สุดในการหาสปอนเซอร์มาซื้อชื่อสนามใหม่" โฆษกของบริษัท เผย "พวกเรา รวมทั้งเจ้าของทีมทั้ง 2 คน(วูดดี้ จอห์นสัน เจ้าของเจตส์ และ จอห์น มารา กับ สตีฟ ทิสช์ เจ้าของ ไจแอนส์)มีความกังวลเกี่ยวกับประวัติของบริษัทอัลลิเแอซ์ จากการค้นข้อมูลพบว่า บริษัทนี้เคยเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯบางคน ,กลุ่มผู้นำชาวยิว และผู้สังเกตการณ์ยังคงเชื่อว่า บริษัทอัลลิแอนซ์ยังไม่เปลี่ยนความคิด และพยายามผลักดันเหตุการณ์ในอดีตให้เกิดขึ้นอีกครั้ง"
ด้าน เจ้าหน้าที่ของบริษัท อัลลิเเอนซ์ กล่าวว่า พวกเขารู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลก และได้ดำเนินการชดเชยความผิดต่อสังคมโลกมาโดยตลอด
โดย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) บริษัท อัลลิแอนซ์ ขายประกันให้กับแคมป์กักกันและให้เงินสนับสนุนกิจกรรมของพรรคนาซี แต่ปฏิเสธที่จะเคลมเงินให้กับลูกค้าที่มีเชื้อสายยิว
ทางด้าน ปีเตอร์ เลฟคิน รองประธานอาวุโสของบริษัทอัลลิแอนซ์ สาขาอเมริกา ออกมาเผยว่า "การเจรจาเรื่องตั้งชื่อสนามยังคงดำเนินไป และตลอด 65 ปีที่ผ่านมา บริษัทพยายามชดเชยความผิด และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีต่อชุมชน"
สำหรับเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เลฟคิน บอกว่า ทางบริษัทได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้ตามสัญญาทุกประการ
"นี่คือความรับผิดชอบของทางบิรษัท" เลฟคิน กล่าว "เรายึดถือความรับผิดชอบทางศีลธรรม เราต้องการชดเชยความผิดในยุคของอาณาจักรไรช์ที่ 3(เยอรมันยุคฮิตเลอร์) เรารู้สึกเป็นกียรติมากที่ทำให้ประเทศเยอรมันมีเกียรติและมีความโปร่งใสมากขึ้นในสายตาชาวโลก"
กลุ่มองค์กรชาวยิวไม่เห็นด้วยกับการเข้ามาตั้งชื่อสนามของบริษัทอัลลิแอนซ์ โดยพวกเขาอ้างว่า นี่คือการทำลายจิตใจญาติมิตรของเหยื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
"เมืองนิวยอร์กเป็นที่อยู่ของญาติผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวนมาก " สันนิบาตต่อต้านการใส่ร้าย(Anti-Defamation League) ออกแถลงการณ์ ว่า "เราหวังว่าเจ้าของทีมจะนำเรื่องนี้ไปคิดให้จงหนัก แล้วค่อยตัดสินใจขายสิทธิ์การตั้งชื่อสนาม"
ด้าน มาร์ค เลเวนสัน ประธานสหพันธ์ชาวยิวซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐนิวเจอร์ซีย์ เผยว่า ตัวเขาเดินทางไปชมเกมของ เจตส์ และ ไจแอนส์ บ่อยมาก ดังนั้นเขาเลยไม่อยากเห็นสนามแห่งใหม่เปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทนาซี
"การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก และอัลลิแอนซ์ก็มีประวัติไม่ดีเลย" เลเวนสัน กล่าว "แม้จะมีช่วงของการฟื้นฟูและชดเชย แต่ความจริงที่ว่าบริษัทนี้จ่ายเงินอุดหนุนนาซีก็ไม่จางหายไป พวกเขามีธุรกิจที่กำลังรุ่งเรือง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมายุ่งกับการตั้งชื่อสนามของพวกเรา"
ทั้งนี้ ในสหรัฐฯมีคนเชื้อสายยิวอาศัยอยู่ถึง 5,200,000 คน มากพอๆกับชาวยิวที่อาศัยในประเทศอิสราเอล
ซึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิว ที่ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้านักธุรกิจมีส่วนช่วยผลักดันให้ ประธานาธิบดี แฟรงคิน ดี รูสเวลต์ นำสหรัฐฯเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1941
สิทธิ์ตั้งชื่อสนามแห่งใหม่ในปี 2010 ของ 2 ยอดทีมที่ปัจจุบันใช้สนาม ไจแอนส์ สเตเดียม คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(660 ล้านบาท) - 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(990 ล้านบาท)
อลิซ แม็คกิลเลียน โฆษกของบริษัท นิว เมโดว์แลนด์ส สเตเดียมออกมาเผยว่า ทางบิรษัทและ เจ้าของของทั้ง 2 ทีมยังไม่ได้ตัดสินใจบรรลุสัญญา เนื่องจากค่อนข้างมีความกังวลกับประวัติของบริษัทอัลลิแอนซ์ (Allianz)สัญชาติเยอรมัน หนึ่งในบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งได้สิทธ์ตั้งชื่อสนามของ 1860 มิวนิค และ บาเยิร์น มิวนิค 2 ทีมดังแห่งวงการฟุตบอลเยอรมัน
"ทาง นิว เมโดว์แลนด์ส สเตเดียม กำลังดำเนินการอย่างระมัดระวังมากที่สุดในการหาสปอนเซอร์มาซื้อชื่อสนามใหม่" โฆษกของบริษัท เผย "พวกเรา รวมทั้งเจ้าของทีมทั้ง 2 คน(วูดดี้ จอห์นสัน เจ้าของเจตส์ และ จอห์น มารา กับ สตีฟ ทิสช์ เจ้าของ ไจแอนส์)มีความกังวลเกี่ยวกับประวัติของบริษัทอัลลิเแอซ์ จากการค้นข้อมูลพบว่า บริษัทนี้เคยเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯบางคน ,กลุ่มผู้นำชาวยิว และผู้สังเกตการณ์ยังคงเชื่อว่า บริษัทอัลลิแอนซ์ยังไม่เปลี่ยนความคิด และพยายามผลักดันเหตุการณ์ในอดีตให้เกิดขึ้นอีกครั้ง"
ด้าน เจ้าหน้าที่ของบริษัท อัลลิเเอนซ์ กล่าวว่า พวกเขารู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลก และได้ดำเนินการชดเชยความผิดต่อสังคมโลกมาโดยตลอด
โดย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) บริษัท อัลลิแอนซ์ ขายประกันให้กับแคมป์กักกันและให้เงินสนับสนุนกิจกรรมของพรรคนาซี แต่ปฏิเสธที่จะเคลมเงินให้กับลูกค้าที่มีเชื้อสายยิว
ทางด้าน ปีเตอร์ เลฟคิน รองประธานอาวุโสของบริษัทอัลลิแอนซ์ สาขาอเมริกา ออกมาเผยว่า "การเจรจาเรื่องตั้งชื่อสนามยังคงดำเนินไป และตลอด 65 ปีที่ผ่านมา บริษัทพยายามชดเชยความผิด และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีต่อชุมชน"
สำหรับเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เลฟคิน บอกว่า ทางบริษัทได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้ตามสัญญาทุกประการ
"นี่คือความรับผิดชอบของทางบิรษัท" เลฟคิน กล่าว "เรายึดถือความรับผิดชอบทางศีลธรรม เราต้องการชดเชยความผิดในยุคของอาณาจักรไรช์ที่ 3(เยอรมันยุคฮิตเลอร์) เรารู้สึกเป็นกียรติมากที่ทำให้ประเทศเยอรมันมีเกียรติและมีความโปร่งใสมากขึ้นในสายตาชาวโลก"
กลุ่มองค์กรชาวยิวไม่เห็นด้วยกับการเข้ามาตั้งชื่อสนามของบริษัทอัลลิแอนซ์ โดยพวกเขาอ้างว่า นี่คือการทำลายจิตใจญาติมิตรของเหยื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
"เมืองนิวยอร์กเป็นที่อยู่ของญาติผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวนมาก " สันนิบาตต่อต้านการใส่ร้าย(Anti-Defamation League) ออกแถลงการณ์ ว่า "เราหวังว่าเจ้าของทีมจะนำเรื่องนี้ไปคิดให้จงหนัก แล้วค่อยตัดสินใจขายสิทธิ์การตั้งชื่อสนาม"
ด้าน มาร์ค เลเวนสัน ประธานสหพันธ์ชาวยิวซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐนิวเจอร์ซีย์ เผยว่า ตัวเขาเดินทางไปชมเกมของ เจตส์ และ ไจแอนส์ บ่อยมาก ดังนั้นเขาเลยไม่อยากเห็นสนามแห่งใหม่เปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทนาซี
"การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก และอัลลิแอนซ์ก็มีประวัติไม่ดีเลย" เลเวนสัน กล่าว "แม้จะมีช่วงของการฟื้นฟูและชดเชย แต่ความจริงที่ว่าบริษัทนี้จ่ายเงินอุดหนุนนาซีก็ไม่จางหายไป พวกเขามีธุรกิจที่กำลังรุ่งเรือง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมายุ่งกับการตั้งชื่อสนามของพวกเรา"
ทั้งนี้ ในสหรัฐฯมีคนเชื้อสายยิวอาศัยอยู่ถึง 5,200,000 คน มากพอๆกับชาวยิวที่อาศัยในประเทศอิสราเอล
ซึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิว ที่ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้านักธุรกิจมีส่วนช่วยผลักดันให้ ประธานาธิบดี แฟรงคิน ดี รูสเวลต์ นำสหรัฐฯเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1941