คอลัมน์ "More Than a Game" โดย สวรรยา ทรัพย์ทวี
ท่านผู้อ่านเคยผ่านตาป้าย “เขตทหารผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้า” กันบ้างไหมคะ....พอเห็นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างกับข้อความบนป้าย....สำหรับผู้เขียนนั้นเวลาเห็นข้อความดังกล่าวมักจะตั้งคำถามกับตนเองทุกครั้งที่เห็น มีระยะหลังที่ลืมไปบ้างตามประสาคนอายุเยอะมีเรื่องให้คิดมาก แต่แล้วเหตุการณ์หลังจากถูกรถกระบะซึ่งมีผู้ขับเป็นนายทหารเฉี่ยวชนกับรถของตนเองเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนนึกถึงป้ายดังกล่าวอย่างแรง แถมจะขอเปลี่ยนประโยคมาเป็น “เขตทหารพลเรือนผิด” ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป
เพราะการที่ได้พบกับเหตุการณ์ซึ่งมีนายทหารแต่งเครื่องแบบเต็มยศ มาบอกว่ากฎจราจรที่ผู้เขียนได้เรียนมาพอกับการสอบใบขับขี่โดยมีข้อหนึ่งที่ระบุว่าการกลับรถ หรือ จอดรถในเส้นทางที่กีดขวางการจราจรนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง หากแต่คนในเครื่องแบบกลับบอกว่าเป็นเรื่องที่ทำได้และตัวท่านเองก็ทำเป็นประจำ มันทำให้ผู้เขียนรู้สึกเหมือนโลกกำลังตีลังกา และต่อแต่นี้คงต้องขอให้พื้นที่ซึ่งเป็นเขตทหารทั่วทั้งกรุงเทพฯได้หาป้ายมาเตือนกันอย่างที่พาดหัวเอาไว้ พลเรือนอย่างผู้เขียนจะได้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น
จะว่าไปเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องสามัญสำหรับสังคมที่ให้ความสำคัญกับสิ่งสมมติผู้ใหญ่ในวันนี้มิใช่เด็กที่ถูกสอนให้เติบโตมาเอาอย่างความสำเร็จของคนที่ต่อสู้และมุ่งมั่น แต่เราถูกสอนให้รู้ว่าถ้าร่างกายถูกสวมด้วยเครื่องแบบชั้นยศ เราจะสามารถแปลงกายเป็นอภิสิทธิชนได้ เรื่องอวดเบ่ง อวดบารมีจึงมีให้เห็นอยู่ไม่ขาดแถมกลายเป็นเชื้อร้ายที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆในสังคมไทย
ถามว่าในวงการกีฬามีใครไปทำเสื้อคับกันนอกสังเวียนกันบ้างไหมถ้าจะตอบว่าไม่มีร้อยเปอร์เซ็นต์คงเกินจริงเพราะในทุกสังคมล้วนมีคนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่ แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เจอนักกีฬาระดับชาติมาหลายรายก็ได้พบว่าเขาและเธอเหล่านั้นล้วนมีอุปนิสัยที่น่ารัก ไม่ก้าวร้าวและพร้อมที่จะพูดคุยกับผู้สื่อข่าวเสมอ หรือถ้าจะให้ยกกรณีระดับโลกก็ขอเอาเรื่องของ คริส เอเวิร์ต อดีตราชินีเทนนิสและเป็นหวานใจของโปรวัย 53 ปีผู้คว้าอันดับที่สามร่วมในกอล์ฟ ดิ โอเพ่นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง เกรก นอร์แมน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วง 9 หลุมสุดท้ายของการแข่งขันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาเมื่อ คริส เอเวิร์ต ได้รับการเชื้อเชิญจากเจ้าหน้าที่สนามให้เข้าไปเขตด้านในเชือกเพื่อจะได้ยืนดู นอร์แมน พัตต์ลูกบนกรีนได้อย่างถนัดแต่ เอเวิร์ต ปฏิเสธและกล่าวอย่างน่ารักว่า “บนสนามกอล์ฟไม่มีใครเป็นวีไอพี ฉันเชื่อว่าทุกคนเป็นแฟนกอล์ฟที่มีสิทธิเท่ากันหมด”
ถามว่าถ้า เอเวิร์ต เดินเข้าไปตามคำเชิญจะได้ไหมคำตอบคือ “ได้” เพราะเจ้าหน้าเป็นฝ่ายอนุญาตเองแต่ถ้าถามว่าผิดไหม ตอบว่าผิด เพราะมันคือการได้อภิสิทธิพิเศษในฐานแฟนของนักกอล์ฟ และ เป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผู้ชมทุกคนต่างต้องเสียงเงินเพื่อซื้อบัตรเข้ามาดู พวกเขาต่างหากที่มีความสำคัญมากที่สุด และ เอเวิร์ต เองก็คงจะรู้สึกเช่นนั้นเธอจึงตอบปฏิเสธ และยืนให้กำลังใจสามีรวมอยู่กับคนดูริมสนามโดยไม่ได้ร้องขอสิทธิเพื่อเอาเปรียบใคร แต่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเมืองไทยเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นคงเป็นไปในทางกลับกันตามประสาสังคมศรีธนญชัย
เมื่อมองเรื่องของคริส เอเวิร์ต แล้วย้อนกลับมามองคุณภาพคนในสังคมของตนเองผู้เขียนก็ยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้นจากนั้นก็ได้แต่ปลงเหมือนอย่างที่ “ลุงยาม” บ้านพระอาทิตย์บอกผู้เขียนหลังทราบเรื่องว่า “ปัดโธ่!! คุณใครบ้างที่มันทำผิดแล้วจะยอมรับผิดครับ”
ท่านผู้อ่านเคยผ่านตาป้าย “เขตทหารผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้า” กันบ้างไหมคะ....พอเห็นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างกับข้อความบนป้าย....สำหรับผู้เขียนนั้นเวลาเห็นข้อความดังกล่าวมักจะตั้งคำถามกับตนเองทุกครั้งที่เห็น มีระยะหลังที่ลืมไปบ้างตามประสาคนอายุเยอะมีเรื่องให้คิดมาก แต่แล้วเหตุการณ์หลังจากถูกรถกระบะซึ่งมีผู้ขับเป็นนายทหารเฉี่ยวชนกับรถของตนเองเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนนึกถึงป้ายดังกล่าวอย่างแรง แถมจะขอเปลี่ยนประโยคมาเป็น “เขตทหารพลเรือนผิด” ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป
เพราะการที่ได้พบกับเหตุการณ์ซึ่งมีนายทหารแต่งเครื่องแบบเต็มยศ มาบอกว่ากฎจราจรที่ผู้เขียนได้เรียนมาพอกับการสอบใบขับขี่โดยมีข้อหนึ่งที่ระบุว่าการกลับรถ หรือ จอดรถในเส้นทางที่กีดขวางการจราจรนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง หากแต่คนในเครื่องแบบกลับบอกว่าเป็นเรื่องที่ทำได้และตัวท่านเองก็ทำเป็นประจำ มันทำให้ผู้เขียนรู้สึกเหมือนโลกกำลังตีลังกา และต่อแต่นี้คงต้องขอให้พื้นที่ซึ่งเป็นเขตทหารทั่วทั้งกรุงเทพฯได้หาป้ายมาเตือนกันอย่างที่พาดหัวเอาไว้ พลเรือนอย่างผู้เขียนจะได้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น
จะว่าไปเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องสามัญสำหรับสังคมที่ให้ความสำคัญกับสิ่งสมมติผู้ใหญ่ในวันนี้มิใช่เด็กที่ถูกสอนให้เติบโตมาเอาอย่างความสำเร็จของคนที่ต่อสู้และมุ่งมั่น แต่เราถูกสอนให้รู้ว่าถ้าร่างกายถูกสวมด้วยเครื่องแบบชั้นยศ เราจะสามารถแปลงกายเป็นอภิสิทธิชนได้ เรื่องอวดเบ่ง อวดบารมีจึงมีให้เห็นอยู่ไม่ขาดแถมกลายเป็นเชื้อร้ายที่นับวันจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆในสังคมไทย
ถามว่าในวงการกีฬามีใครไปทำเสื้อคับกันนอกสังเวียนกันบ้างไหมถ้าจะตอบว่าไม่มีร้อยเปอร์เซ็นต์คงเกินจริงเพราะในทุกสังคมล้วนมีคนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่ แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้เจอนักกีฬาระดับชาติมาหลายรายก็ได้พบว่าเขาและเธอเหล่านั้นล้วนมีอุปนิสัยที่น่ารัก ไม่ก้าวร้าวและพร้อมที่จะพูดคุยกับผู้สื่อข่าวเสมอ หรือถ้าจะให้ยกกรณีระดับโลกก็ขอเอาเรื่องของ คริส เอเวิร์ต อดีตราชินีเทนนิสและเป็นหวานใจของโปรวัย 53 ปีผู้คว้าอันดับที่สามร่วมในกอล์ฟ ดิ โอเพ่นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง เกรก นอร์แมน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วง 9 หลุมสุดท้ายของการแข่งขันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาเมื่อ คริส เอเวิร์ต ได้รับการเชื้อเชิญจากเจ้าหน้าที่สนามให้เข้าไปเขตด้านในเชือกเพื่อจะได้ยืนดู นอร์แมน พัตต์ลูกบนกรีนได้อย่างถนัดแต่ เอเวิร์ต ปฏิเสธและกล่าวอย่างน่ารักว่า “บนสนามกอล์ฟไม่มีใครเป็นวีไอพี ฉันเชื่อว่าทุกคนเป็นแฟนกอล์ฟที่มีสิทธิเท่ากันหมด”
ถามว่าถ้า เอเวิร์ต เดินเข้าไปตามคำเชิญจะได้ไหมคำตอบคือ “ได้” เพราะเจ้าหน้าเป็นฝ่ายอนุญาตเองแต่ถ้าถามว่าผิดไหม ตอบว่าผิด เพราะมันคือการได้อภิสิทธิพิเศษในฐานแฟนของนักกอล์ฟ และ เป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผู้ชมทุกคนต่างต้องเสียงเงินเพื่อซื้อบัตรเข้ามาดู พวกเขาต่างหากที่มีความสำคัญมากที่สุด และ เอเวิร์ต เองก็คงจะรู้สึกเช่นนั้นเธอจึงตอบปฏิเสธ และยืนให้กำลังใจสามีรวมอยู่กับคนดูริมสนามโดยไม่ได้ร้องขอสิทธิเพื่อเอาเปรียบใคร แต่ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเมืองไทยเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นคงเป็นไปในทางกลับกันตามประสาสังคมศรีธนญชัย
เมื่อมองเรื่องของคริส เอเวิร์ต แล้วย้อนกลับมามองคุณภาพคนในสังคมของตนเองผู้เขียนก็ยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้นจากนั้นก็ได้แต่ปลงเหมือนอย่างที่ “ลุงยาม” บ้านพระอาทิตย์บอกผู้เขียนหลังทราบเรื่องว่า “ปัดโธ่!! คุณใครบ้างที่มันทำผิดแล้วจะยอมรับผิดครับ”