คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในการแข่งขันว่ายน้ำ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มายเคิล เฟลพ์ส ( Michael Phelps ) ฉลามหนุ่มจากสหรัฐอเมริกา คว้าเหรียญทองไป 6 รายการ แถมเหรียญบรอนซ์อีก 2 รายการ รวมเป็น 8 เหรียญ ซึ่งนั่นนับเป็นการกวาดเหรียญรางวัลมากที่สุดจาก โอลิมปิค เกมส์ หนเดียว เทียบเท่ากับสถิติที่ อเล็กซานเดอร์ ดิทูอาทิน นักยิมนาสติกรัสเซียทำเอาไว้ตั้งแต่ปี 1980 แต่สถิติของ “ ซาชา ” เปรอะไปหน่อย เพราะในจำนวน 8 เหรียญของเขา มีตั้ง 4 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญบรอนซ์
ในปีนี้ ฉลามหนุ่มเจ้าของฉายา “ เดอะ บอลทิมอร์ บุลเล็ท ” ( The Baltimore Bullet ) เพิ่งจะมีอายุครบ 23 ปีไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมานี่เอง สำหรับนักว่ายน้ำแล้ว ถือว่าวัยกำลังเฮี้ยนเลย และก่อนที่ เป่ยจิง 2008 จะเริ่ม ขณะนี้ หมอนี่กำลังไล่กวาดเหรียญทองว่ายน้ำรายการ 2008 U.S. Olympic Team Trials อยู่ที่ โอมาฮา เนบราสกา สหรัฐอเมริกา แถมตอนที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ เขาก็ทุบสถิติโลกในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตรชายที่ตัวเขาเองเป็นคนทำเอาไว้ 4 นาที 6.22 วินาที ที่ เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 1 เมษายนปีที่แล้วไปเรียบร้อยด้วยเวลา 4 นาที 5.25 วินาที
เมื่อตอนที่ลงแข่ง โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ตอนนั้นมีการตั้งเงินรางวัลไว้ถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯจาก สปีโด ( Speedo ) บริษัทผู้ผลิตชุดว่ายน้ำชื่อดังของโลกซึ่งเป็นสปอนเซอร์ส่วนตัวของเขาด้วย โดยมีเงื่อนไขว่า เฟลพ์ส ต้องทำได้อย่างน้อย 7 เหรียญทอง แต่ เฟลพ์ส ดันทำได้เพียง 6 เหรียญทองเท่านั้น จึงชวดเงินก้อนใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม สปีโด ยังเสนอเงินก้อนเดียวกันพร้อมกับเงื่อนไขเดิมให้อีกสำหรับ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเป่ยจิง ประเทศจีนกลางเดือนสิงหาคมนี้
เรื่องจำนวนเหรียญทองนี่ จนถึงปัจจุบัน มีนักกีฬาที่คว้าเหรียญทองสูงสุดไม่ว่าจะลงแข่งกี่สมัยก็ตาม อยู่ที่ 9 เหรียญทอง ที่เห็นๆก็มี 4 คน คนแรกคือ ปาโว นูรมี ( Paavo Nurmi ) นักวิ่งฉายา “ ฟลายอิง ฟินน์ ” ( Flying Finn ) จากฟินแลนด์ เขาลงแข่งโอลิมปิค เกมส์ 3 สมัย ในปี 1920, 1924 และ 1928
ต่อมามีนักยิมนาสติกสาวรัสเซีย ลาริสซา ลาทูนินา ( Larissa Latynina ) เธอได้เหรียญโอลิมปิคในนามสหภาพโซเวียตจาก 3 สมัย ในปี 1956, 1960 และ 1964 แต่สาวคนนี้พิเศษหน่อย เพราะถ้านับรวมกับ 5 เหรียญเงินและ 4 เหรียญบรอนซ์ที่เธอทำได้เข้าไปด้วย สาวรัสเซียคนนี้เป็นราชินีเหรียญรางวัลโอลิมปิคมากที่สุด 18 เหรียญ เป็นสถิติที่ยังไม่มีใครทำลายได้ครับ
อีกคนคือ มาร์ค สปิทซ์ ( Mark Spitz ) ฉลามหนุ่มติดหนวดเชื้อสายยิวจากสหรัฐที่คว้า 7 เหรียญทองจาก โอลิมปิค เกมส์ ที่ มิวนิค ประเทศเยอรมนีตะวันตกในปี 1972 ซึ่งก่อนหน้านั้น เขามีอยู่แล้ว 2 ทองจาก โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี 1968
รายสุดท้ายคือ “ คิง คาร์ล ” หรือ คาร์ล ลูอิส นักกรีฑาสหรัฐฯ ที่ต้องไล่สะสมเหรียญทองกันยาวนานจาก 4 โอลิมปิค ตั้งแต่ปี 1984 ยัน 1996 แข่งมันทั้งวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร ผลัด 4X100 เมตร และกระโดดไกล กว่าจะได้มา 9 เหรียญทอง
ใครจะรอชมการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิค เกมส์ครั้งนี้ละก็ ผมขอให้ข้อมูลเพื่อให้ชมสนุกขึ้นอีกหน่อยนะครับ คือ เรื่องการจัดวางตัวนักว่ายน้ำลงในช่องว่ายต่างๆนั้น ยกเว้นรายการ 50 เมตร เขาจะดูจากสถิติ 12 เดือนที่ผ่านมาของนักกีฬาที่กรอกไว้ในใบสมัครแข่งขันที่เรียกว่า Entry Form แล้วเอามาจัดเรียงอันดับ เวลาดีที่สุดไปหาเวลาแย่ที่สุด เอาคนที่ทำเวลาดีที่สุดไปอยู่ในช่องว่ายที่ 4 คนลำดับรองลงมาไปอยู่ทางซ้ายคือช่องว่ายที่ 5 คนต่อมาก็ไปอยู่ทางขวาคือช่องว่ายที่ 3 คนต่อมาก็กลับไปทางซ้าย แล้วก็ทางขวา คือคนทำเวลาดีที่สุดได้อยู่ตรงกลาง แล้วค่อยๆวางออกมาทางด้านริม ซ้ายก่อนแล้วขวา สลับกันไป ดังนั้น การเรียงลำดับช่องว่ายตามสถิติเวลาที่ดีที่สุดไปหาสถิติที่แย่ที่สุดจะเป็นดังนี้ 4/5/3/6/2/7/1/8 ซึ่งหลังจากพ้นรอบแรกไปแล้ว นักว่ายน้ำที่เข้ารอบแต่ละคนก็จะมีสถิติเวลาของตนเอง ในรอบต่อไปก็ให้ใช้สถิติจากรอบก่อนเป็นเกณฑ์ ก็จัดวางตัวกันอย่างนี้นี่เอง จึงทำให้ส่วนใหญ่ไม่ว่ารายการไหน พอว่ายกันไปสักพัก เราจะเห็นนักว่ายน้ำเรียงตัวกันคล้ายหัวลูกศร
ถ้าเป็นว่ายน้ำชายแล้ว ต้องถือว่า มายเคิล เฟลพ์ส เป็นตัวเก็งคนเดียวที่จะโกยเหรียญทองเป็นกอบเป็นกำจาก เป่ยจิง 2008 และถ้าเขาทำได้อีกเพียง 4 เหรียญทอง เขาก็จะกลายเป็นนักกีฬาที่คว้าเหรียญทองมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันโอลิมปิค เกมส์สมัยใหม่
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในการแข่งขันว่ายน้ำ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มายเคิล เฟลพ์ส ( Michael Phelps ) ฉลามหนุ่มจากสหรัฐอเมริกา คว้าเหรียญทองไป 6 รายการ แถมเหรียญบรอนซ์อีก 2 รายการ รวมเป็น 8 เหรียญ ซึ่งนั่นนับเป็นการกวาดเหรียญรางวัลมากที่สุดจาก โอลิมปิค เกมส์ หนเดียว เทียบเท่ากับสถิติที่ อเล็กซานเดอร์ ดิทูอาทิน นักยิมนาสติกรัสเซียทำเอาไว้ตั้งแต่ปี 1980 แต่สถิติของ “ ซาชา ” เปรอะไปหน่อย เพราะในจำนวน 8 เหรียญของเขา มีตั้ง 4 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญบรอนซ์
ในปีนี้ ฉลามหนุ่มเจ้าของฉายา “ เดอะ บอลทิมอร์ บุลเล็ท ” ( The Baltimore Bullet ) เพิ่งจะมีอายุครบ 23 ปีไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมานี่เอง สำหรับนักว่ายน้ำแล้ว ถือว่าวัยกำลังเฮี้ยนเลย และก่อนที่ เป่ยจิง 2008 จะเริ่ม ขณะนี้ หมอนี่กำลังไล่กวาดเหรียญทองว่ายน้ำรายการ 2008 U.S. Olympic Team Trials อยู่ที่ โอมาฮา เนบราสกา สหรัฐอเมริกา แถมตอนที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ เขาก็ทุบสถิติโลกในรายการเดี่ยวผสม 400 เมตรชายที่ตัวเขาเองเป็นคนทำเอาไว้ 4 นาที 6.22 วินาที ที่ เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 1 เมษายนปีที่แล้วไปเรียบร้อยด้วยเวลา 4 นาที 5.25 วินาที
เมื่อตอนที่ลงแข่ง โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ตอนนั้นมีการตั้งเงินรางวัลไว้ถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯจาก สปีโด ( Speedo ) บริษัทผู้ผลิตชุดว่ายน้ำชื่อดังของโลกซึ่งเป็นสปอนเซอร์ส่วนตัวของเขาด้วย โดยมีเงื่อนไขว่า เฟลพ์ส ต้องทำได้อย่างน้อย 7 เหรียญทอง แต่ เฟลพ์ส ดันทำได้เพียง 6 เหรียญทองเท่านั้น จึงชวดเงินก้อนใหญ่ไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม สปีโด ยังเสนอเงินก้อนเดียวกันพร้อมกับเงื่อนไขเดิมให้อีกสำหรับ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเป่ยจิง ประเทศจีนกลางเดือนสิงหาคมนี้
เรื่องจำนวนเหรียญทองนี่ จนถึงปัจจุบัน มีนักกีฬาที่คว้าเหรียญทองสูงสุดไม่ว่าจะลงแข่งกี่สมัยก็ตาม อยู่ที่ 9 เหรียญทอง ที่เห็นๆก็มี 4 คน คนแรกคือ ปาโว นูรมี ( Paavo Nurmi ) นักวิ่งฉายา “ ฟลายอิง ฟินน์ ” ( Flying Finn ) จากฟินแลนด์ เขาลงแข่งโอลิมปิค เกมส์ 3 สมัย ในปี 1920, 1924 และ 1928
ต่อมามีนักยิมนาสติกสาวรัสเซีย ลาริสซา ลาทูนินา ( Larissa Latynina ) เธอได้เหรียญโอลิมปิคในนามสหภาพโซเวียตจาก 3 สมัย ในปี 1956, 1960 และ 1964 แต่สาวคนนี้พิเศษหน่อย เพราะถ้านับรวมกับ 5 เหรียญเงินและ 4 เหรียญบรอนซ์ที่เธอทำได้เข้าไปด้วย สาวรัสเซียคนนี้เป็นราชินีเหรียญรางวัลโอลิมปิคมากที่สุด 18 เหรียญ เป็นสถิติที่ยังไม่มีใครทำลายได้ครับ
อีกคนคือ มาร์ค สปิทซ์ ( Mark Spitz ) ฉลามหนุ่มติดหนวดเชื้อสายยิวจากสหรัฐที่คว้า 7 เหรียญทองจาก โอลิมปิค เกมส์ ที่ มิวนิค ประเทศเยอรมนีตะวันตกในปี 1972 ซึ่งก่อนหน้านั้น เขามีอยู่แล้ว 2 ทองจาก โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี 1968
รายสุดท้ายคือ “ คิง คาร์ล ” หรือ คาร์ล ลูอิส นักกรีฑาสหรัฐฯ ที่ต้องไล่สะสมเหรียญทองกันยาวนานจาก 4 โอลิมปิค ตั้งแต่ปี 1984 ยัน 1996 แข่งมันทั้งวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร ผลัด 4X100 เมตร และกระโดดไกล กว่าจะได้มา 9 เหรียญทอง
ใครจะรอชมการแข่งขันว่ายน้ำโอลิมปิค เกมส์ครั้งนี้ละก็ ผมขอให้ข้อมูลเพื่อให้ชมสนุกขึ้นอีกหน่อยนะครับ คือ เรื่องการจัดวางตัวนักว่ายน้ำลงในช่องว่ายต่างๆนั้น ยกเว้นรายการ 50 เมตร เขาจะดูจากสถิติ 12 เดือนที่ผ่านมาของนักกีฬาที่กรอกไว้ในใบสมัครแข่งขันที่เรียกว่า Entry Form แล้วเอามาจัดเรียงอันดับ เวลาดีที่สุดไปหาเวลาแย่ที่สุด เอาคนที่ทำเวลาดีที่สุดไปอยู่ในช่องว่ายที่ 4 คนลำดับรองลงมาไปอยู่ทางซ้ายคือช่องว่ายที่ 5 คนต่อมาก็ไปอยู่ทางขวาคือช่องว่ายที่ 3 คนต่อมาก็กลับไปทางซ้าย แล้วก็ทางขวา คือคนทำเวลาดีที่สุดได้อยู่ตรงกลาง แล้วค่อยๆวางออกมาทางด้านริม ซ้ายก่อนแล้วขวา สลับกันไป ดังนั้น การเรียงลำดับช่องว่ายตามสถิติเวลาที่ดีที่สุดไปหาสถิติที่แย่ที่สุดจะเป็นดังนี้ 4/5/3/6/2/7/1/8 ซึ่งหลังจากพ้นรอบแรกไปแล้ว นักว่ายน้ำที่เข้ารอบแต่ละคนก็จะมีสถิติเวลาของตนเอง ในรอบต่อไปก็ให้ใช้สถิติจากรอบก่อนเป็นเกณฑ์ ก็จัดวางตัวกันอย่างนี้นี่เอง จึงทำให้ส่วนใหญ่ไม่ว่ารายการไหน พอว่ายกันไปสักพัก เราจะเห็นนักว่ายน้ำเรียงตัวกันคล้ายหัวลูกศร
ถ้าเป็นว่ายน้ำชายแล้ว ต้องถือว่า มายเคิล เฟลพ์ส เป็นตัวเก็งคนเดียวที่จะโกยเหรียญทองเป็นกอบเป็นกำจาก เป่ยจิง 2008 และถ้าเขาทำได้อีกเพียง 4 เหรียญทอง เขาก็จะกลายเป็นนักกีฬาที่คว้าเหรียญทองมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันโอลิมปิค เกมส์สมัยใหม่