รัฐบาล-ผู้ชุมนุม เปิดสงครามข่าว ปล่อยข่าวลือกันอุตลุด หวังลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม “ปณิธาน-มานะ” ชี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้เปรียบ ใช้โซเชียลมีเดียผ่านสมาร์ทโฟน เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งข่าวสารได้ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายรัฐยังพึ่งสื่อเก่าอย่างฟรีทีวีและ SMS ขณะที่การต่อสู้ยังไม่จบ แนะตรวจสอบสื่อหลักก่อนเชื่อ
ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งกันในทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด คู่กรณีทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ต่างทำหน้าที่ช่วงชิงพื้นที่ข่าวเพื่อให้ฝ่ายตนอยู่ในสถานะได้เปรียบ ดังนั้นข่าวสารที่ถูกส่งออกไปให้กับมวลชนเป้าหมายจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ช่องทางการสื่อสารที่มีให้มาก บ่อยครั้งและกว้างขวางมากที่สุด โดยที่ข่าวดังกล่าวมีทั้งความถูกต้อง เป็นจริงและข่าวที่ยังไม่มีการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือหรือข่าวเท็จ เป็นสนามที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องออกมาให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้หรือทราบข้อมูลที่ส่งออกไปมากที่สุด
สงครามชิงมวลมหาประชาชน
โดยเฉพาะการออกมาเคลื่อนไหวนอกสภาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์รวมกัน 8 คน จากเป้าหมายเดิมเพื่อขับเคลื่อนมวลชนต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีเรื่องของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเป็นหัวเชื้อ จากเวทีเริ่มต้นที่สถานีรถไฟสามเสนจนมาถึงเวทีมวลมหาประชาชนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมๆ กับการนำไปสู่การลาออกจากการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และขยายเป้าหมายไปสู่การขับไล่ระบอบทักษิณในที่สุด
ดังนั้นสงครามข่าวจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้ที่สำคัญ ฝ่ายผู้ชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณได้รับแรงหนุนจากคนในกรุงเทพฯ และคนในพื้นที่ภาคใต้ที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ และยังมีส่วนที่เข้ามาสมทบในแทบทุกจังหวัดของประเทศ
พิสูจน์ให้เห็นได้จากการรวมพลครั้งใหญ่ของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านระบอบทักษิณที่เวทีราชดำเนิน เมื่อ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลายเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มวลชนทุกอาชีพ ทุกวัย ทุกชนชั้น บนถนนทุกสายต่างมุ่งหน้าสู่เวทีราชดำเนิน จนกลายเป็นคลื่นมวลมหาประชาชนที่มีคนมากกว่า 1 ล้านคน เบียดเสียดกันเต็มถนนบนเป้าหมายเดียวกันคือขับไล่ระบอบทักษิณให้พ้นไปจากประเทศไทย
จากนั้นนายสุเทพ และแกนนำได้ขับเคลื่อนไปสู่การยึดหน่วยราชการต่างๆ และเปิดเวทีเพิ่มอีก 2แห่ง คือเวทีกระทรวงการคลังและเวทีศูนย์ราชการที่ถนนแจ้งวัฒนะ และทุกเครือข่าย รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และกำหนดเป้าหมายของชัยชนะไว้ในวันที่ 1 ธันวาคม ภายใต้ชื่อใหม่คือ คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
อย่างไรก็ดี ยุทธวิธีหนึ่งที่เหมือนกันและใช้ในการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน คือการให้ข้อมูลโจมตีฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายต่อต้านมีเวทีการชุมนุมเป็นแหล่งในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางของสื่อหลัก นั่นคือสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม บลูสกาย และยังมีเครือข่ายสื่อที่ร่วมแนวทางอย่างสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ทีนิวส์ เมื่อทุกอย่างเดินหน้าไปสู่การขับไล่ระบอบทักษิณ สื่ออื่นจึงขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน มีทั้งช่อง FMTV ช่อง 13 สยามไทย และเอเอสทีวี
ฝ่ายรัฐบาลใช้กลไกตามพระราชบัญญัติความมั่นคงมี ศอ.รส. เป็นศูนย์กลางในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามผ่านสื่อของรัฐและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (TV Pool) เป็นเครื่องมือหลัก และยังมีสื่อของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเชีย อัปเดต เข้ามาสมทบ
เป็นที่น่าสังเกตว่าการชุมนุมของภาคประชาชนครั้งใหญ่ ภายใต้อดีตแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ สื่อของฟรีทีวีไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก สวนทางกับการออกมาร่วมชุมนุมของประชาชนทางการเมืองมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา จนเป็นเหตุให้ที่ชุมนุมมีการเดินทางไปยังสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีต่างๆ เพื่อขอให้นำเสนอข่าวสารของฝ่ายผู้ชุมนุม
กระทั่งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการกระทำที่เข้าข่ายการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ออกแถลงการณ์ขอให้ กปปส.ยุติการกระทำดังกล่าว
แต่หากพิจารณาถึงเนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าวจะพบว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเข้าใจกับการกระทำของกลุ่ม กปปส. เนื่องจากที่ผ่านมาสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ไม่ให้ความสำคัญในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นสถานการณ์สำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน นับตั้งแต่เหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ที่มีความต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 โดยปรากฏว่าสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ยังคงนำเสนอรายการตามผังรายการตามปกติ เป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของสถานีเป็นหลัก มากกว่าการคำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
ขณะที่การแย่งชิงมวลชนจนถึงการปลุกเร้ามวลชน นับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกันอย่างแพร่หลายในช่วงที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านช่วงชิงความได้เปรียบซึ่งกันและกัน ข่าวลือนานาชนิดถูกปล่อยออกมา โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายที่จะชี้ชะตาว่าฝ่ายใดจะกุมความได้เปรียบ อย่างในช่วงที่ฝ่าย กปปส.เข้าควบคุมพื้นที่หน่วยงานราชการต่างๆ ไว้ได้ ก็มีข่าวปล่อยออกมาว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยการอ้างอิงกำหนดการ วันเดินทางและสายการบินพร้อมทั้งเวลาบิน แต่ก็ถูกออกมาปฏิเสธว่าเป็นกำหนดการเก่าเนื่องจากมีการยกเลิกไปก่อนหน้านี้
หรือข่าวการหนีออกนอกประเทศของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. หลังจากศาลออกหมายจับในข้อหากบฏ รวมไปถึงการประกาศยอมแพ้ของฝ่ายต่อต้าน หรือข่าวการปรับเปลี่ยนตัว พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการจับกุมแกนนำ และข่าวสลายการชุมนุม หรือข่าวที่ทหารจะออกมายุติปัญหาความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย
แม้ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมจะสามารถฝ่าด่านที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลอย่างบริเวณทำเนียบรัฐบาลและที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลไปได้ โดยการถอยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การชุมนุมเพื่อขับไล่ระบอบทักษิณจะยังดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ
ขณะเดียวกัน ข่าวลือ ข่าวปล่อยหรือสงครามข่าวสารระหว่างฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุมยังคงอยู่ต่อไปและเข้มข้นมากขึ้นเช่นกัน
สมาร์ทโฟนอาวุธหลักในโลกยุคใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ในการต่อสู้กันด้านข้อมูลข่าวสาร ภาครัฐบาลจะใช้ช่องทางหลักอย่าง ศอ.รส. กรมประชาสัมพันธ์ เครือข่ายมหาดไทย ฝ่ายการเมือง ทำกันอย่างเข้มข้น ถือเป็นหน่วยงานของทางการที่สำคัญในการที่จะออกมาตอบโต้หรือดำเนินการเชิงรุก และยังมีสื่อของรัฐบาลที่พร้อมจะดำเนินการถ่ายทอดต่อทั้งสถานีโทรทัศน์ในสังกัดของรัฐบาล และสื่อสิ่งพิมพ์ที่สนับสนุนรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาทาง ศอ.รส.ยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อีกช่องทางหนึ่งคือการใช้สื่อที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทีวีดาวเทียม วิทยุชุมชน โซเชียลมีเดีย ในพื้นที่ส่วนนี้ถือว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้เปรียบ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลยังไม่มียุทธศาสตร์ในด้านนี้อย่างชัดเจน อย่างทีวีเสื้อแดงก็ยังไม่เป็นระบบนัก บางรายการถอดออกไป สื่อในส่วนนี้จึงอ่อนลงไป โดยรัฐเน้นไปที่สื่อหลักของรัฐที่ดูแลอยู่
ขณะที่บลูสกายเข้มแข็งขึ้นทุกขณะ ที่สามารถรับชมการถ่ายทอดการชุมนุมได้ตลอดเวลาแล้ว เมื่อบวกกับพลังของโซเชียลมีเดียที่เพิ่มรูปถ่ายต่างๆ มีภาพ เสียง แผนที่หรือคลิปได้ และแต่ละครั้งมีคนเห็นเป็นหมื่น อีกทั้งคนในถนนราชดำเนินส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนจึงรับรู้ข่าวสารเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความไม่พอใจในการใช้อำนาจของรัฐบาลที่ผ่านมามีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ของโซเชียลมีเดียติดตามความเคลื่อนไหวของการชุมนุมมากขึ้น ถือว่านี่เป็นมิติใหม่ ขณะที่ช่องทางการสื่อสารของกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลยังคงอยู่ในเทคโนโลยียุคก่อนคือ SMS เป็นหลัก
สำหรับคนทั่วไปแล้วช่วงเวลาอย่างนี้จะมีข้อมูลข่าวสารออกมามาก และเปลี่ยนแปลงเร็ว การแยกแยะว่าข่าวใดถูกหรือผิดนั้นทำได้ยาก และต้องหาคนที่เชื่อถือได้มาตรวจสอบข่าวสารเหล่านี้ ซึ่งสื่อหลักจะเป็นตัวช่วยกลั่นกรอง
โซเชียลมีเดียหนุนฝ่ายต้านเป็นต่อ
ขณะที่นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนอย่าง ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า ช่วงวิกฤตทางการเมือง ทุกข่าวสารมักจะมีความอ่อนไหว มีการกระจายอย่างรวดเร็ว และทุกคนคาดหวังตามสื่อที่ตัวเองเชื่อ
ในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญ ด้วยการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่สามารถติดตามข่าวสารได้ทั้งจากอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก หรือผ่านการสนทนาอย่าง Line ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รู้จักกันเป็นเพื่อนกัน ดังนั้นเมื่อใครในกลุ่มได้รับข้อมูลมาแล้วนำมาเผยแพร่ต่อก็มักจะเชื่อกัน
ข่าวลือที่นำมาเผยแพร่กันในกลุ่ม Line จะมีมากกว่าเฟซบุ๊ก เพราะเป็นกลุ่มเฉพาะ โดยในช่วงนี้ข่าวลือต่างๆ จะมีค่อนข้างมาก อีกทั้งผู้ที่เสพยังกลายเป็นส่งต่อไปในตัว เช่นกด like แล้วก็ share โดยที่ข่าวดังกล่าวอาจจะไม่ได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ในสังคมออนไลน์ข่าวประเภทนี้เผยแพร่ได้เร็วมาก
ตอนนี้แต่ละฝ่ายต่างใช้เป็นช่องทางการรบ สร้างโฆษณาชวนเชื่อของทุกฝ่าย สามารถให้ผลได้ทั้งบวกและลบ เมื่อก่อนใช้ฟรีทีวี แต่ขณะนี้โซเชียลมีเดียทุกคนเข้าถึงได้ง่าย แม้กระทั่งบุคคลต่างๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มขัดแย้งก็เข้ามาได้
ปัจจุบันข่าวลือมีการปล่อยกันมาก ฝ่ายต่อต้านได้เปรียบ เพราะสามารถดึงเอาคนหนุ่มสาว และคนที่เริ่มต้นในวัยทำงานเข้ามาร่วม รวมไปถึงกลุ่มไทยเฉย โดยมีเรื่องของพระราชบัญญัตินิรโทษเข้ามาเป็นจุดเริ่มต้น เดิมไม่มีใครสนใจหรือรู้เรื่องมากนัก แต่สื่อสมัยใหม่ทำให้คนเข้ามาหาข้อมูล และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการระดมพลได้ง่ายขึ้นด้วยสมาร์ทโฟน ดังนั้นโซเชียลมีเดียจึงเป็นตัวชี้ขาดแพ้ชนะได้เช่นกัน
รัฐบาลยังไม่สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้ได้อย่างมีพลัง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของรัฐบาลเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้นการใช้สื่อของรัฐจึงต้องใช้สื่อในยุคเก่า อย่างกรณีเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่ม นปช.อาจไม่ชำนาญในเรื่องเหล่านี้ แต่ฝ่ายของผู้ต่อต้านรัฐบาลทำได้ดีกว่า ส่วนคนที่ใช้โซเชียลมีเดียได้ดีฝ่ายคนเสื้อแดงอย่าง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก็มีความขัดแย้งกับรัฐบาลในเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมาก่อน และกว่าจะกลับเข้ามาใหม่ก็ช้าเกินไป
อีกทั้งพลังของฟรีทีวี ไม่ได้มีมากเหมือนในยุคแรกๆ พฤษภาคม 2535 ที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สำคัญ ตอนนี้คนเมืองมีสมาร์ทโฟน พลังการสื่อสารจึงตรงกับจริตของคนในยุคนี้มากกว่า และแม้ฟรีทีวีจะไม่นำเสนอข่าวการชุมนุม หรือทีวีดาวเทียมอาจถูกสกัดกั้น แต่ก็ยังติดตามข้อมูลข่าวสารได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นภาคประชาชนต้องตั้งสติ การเสพข้อมูลที่หลากหลาย การเลือกที่จะเชื่อหรือไม่ควรเป็นข้อมูลข่าวสารที่ผ่านองค์กรสื่อ เพราะเท่ากับมีการตรวจสอบมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป
หนึ่งในยุทธวิธีทำลายคู่ต่อสู้
ขณะที่แหล่งข่าวจากกองทัพบกกล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้ถือเป็นการทำสงครามข่าว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย เพื่อเป้าหมายทั้งช่วงชิงหรือทำลายมวลชน โดยเป็นการชิงความได้เปรียบและเป็นวิธีการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้มวลชนมาร่วมชุมนุมหรือขู่ให้ผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามกลับบ้านเพื่อให้เหลือผู้ชุมนุมน้อยลง แม้ว่าท้ายที่สุดความจริงจะเปิดเผยออกมาในภายหลัง แต่ช่วงจังหวะเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นทุกฝ่ายต้องเร่งชิงความได้เปรียบ ดังนั้นผู้ที่เสพข่าวในช่วงนี้คงต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวด้วย
สำหรับช่องทางในการใช้เผยแพร่ สามารถใช้ได้หมด ยิ่งในยุคสังคมออนไลน์ การปล่อยข่าวต้องทำให้ได้อย่างเร็วที่สุดและได้ผลมากที่สุด อย่างข่าวสารที่ออกมาจากศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) มีทั้งจริงและลวง ทั้งหมดเป็นเรื่องของการสู้กันในเชิงยุทธวิธี ใครไวกว่าได้เปรียบ สถานการณ์อย่างนี้ทุกอย่างเคลื่อนไหวเร็ว การที่จะมาตรวจสอบหรือจับผิดว่าใครพูดจริงหรือเท็จนั้นเป็นเรื่องยากภายใต้เวลาจำกัด
มันเป็นการรบอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ใช้ข่าวสาร ข้อเท็จจริงหรือข่าวลือต่างๆ มาเป็นเครื่องมือรบ มีการใช้ทั้งจิตวิทยา ความเร็วและความแพร่กระจายข้อมูลในวงกว้างเข้ามาสร้างความได้เปรียบ ฝ่ายใดที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า และมีอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัยตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า ย่อมได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
โซเชียลมีเดียช่วยปกป้อง ‘สุเทพ’
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าผู้ชุมนุมเกือบทุกคนมีสมาร์ทโฟน จึงรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก เข้าดูเว็บไซต์ข่าว ดูการชุมนุมในเวทีอื่นๆ ทำทุกอย่างได้ทั้งหมด ขณะที่ฝ่ายของรัฐบาลแม้ว่าจะมีเครื่องมือสื่อสารอย่างฟรีทีวี แต่ก็ไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลหรือตอบโต้ได้อย่างทันที ส่วนความพร้อมทีมงานด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กฝ่ายรัฐและคนเสื้อแดงก็มีไม่น้อย
แต่ปัญหาคือผู้รับสารของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไม่มีความพร้อม เพราะจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนของฐานเสียงพรรคเพื่อไทยมีจำกัด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียแล้วทำให้ป้องกันปัญหาได้ โดยในคืนวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากศาลได้อนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และมีกระแสข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมนำกำลังเข้าจับกุมนายสุเทพ ที่คืนดังกล่าวมีการนำมวลชนพักค้างที่กระทรวงการคลัง และนายสาธิต วงศ์หนองเตย แกนนำบนเวทีราชดำเนิน ได้ประกาศบนเวทีขอกำลังเสริมจากทุกพื้นที่ให้รีบไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อช่วยกำนันสุเทพ
“ใครอยู่ใกล้แถวนั้น ต้องขอกำลังไปช่วยกำนันสุเทพด่วน เพราะตำรวจกำลังจะไปจับกำนันสุเทพ ใครมีรถ ให้เอาไปปิดล้อมไม่ให้ตำรวจเข้าไปได้ และกำลังคนต้องเสริมไปเยอะๆ เราต้องช่วยกันบอกต่อๆ กันไป”
ทันทีที่นายสาธิตประกาศบนเวที โลกโซเชียลมีเดีย ได้มีการแชร์อย่างรวดเร็ว มีการไลน์ต่อๆ กันไป และเพียงชั่วไม่กี่นาที ทุกพื้นที่บริเวณกระทรวงการคลังเต็มไปด้วยผู้ชุมนุม พร้อมทั้งนำเอารถยนต์ไปปิดกั้นถนนทุกสายที่จะมุ่งหน้าเข้ามาที่กระทรวงการคลัง รวมทั้งปิดทางขึ้น-ลงทางด่วนพระราม 6 ส่วนรถตำรวจที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ใกล้กระทรวงการคลัง กลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้าไปล้อมและปล่อยลมยางของรถตู้ที่ขนตำรวจมา
นี่คือพลังของการใช้โซเชียลมีเดียที่ฝ่ายผู้ชุมนุมติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่อรับข้อมูลมาจากนั้นก็แพร่กระจายไปยังเครือข่ายต่างๆ ทำให้คืนนั้นภารกิจการเข้าจับกุมนายสุเทพต้องล้มเหลว
อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของโลกข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หลังจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยที่เวทีศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ในช่วงเกือบ 2 ทุ่มของคืนวันที่ 3 ธันวาคม โดยกล่าวถึงเรื่องของนายกฯ ตามมาตรา 7 และแนวทางของสภาประชาชน หลังจากนั้นไม่นานในโลกออนไลน์มีการเผยแพร่โฉมหน้าของรัฐบาลชุดใหม่ พร้อมด้วยเจ้ากระทรวงต่างๆ ระบุชื่อบุคคลเบ็ดเสร็จ รวมไปถึงชื่อบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในสภาประชาชน
รายชื่อของคณะบุคคลที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในรัฐบาลใหม่และในสภาประชาชน ในโลกออนไลน์ เป็นเพียงการคาดการณ์ของใครหรือฝ่ายใดก็ได้ที่ทำออกมา ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อสนุกสนาน ล้อเลียนหรือทดสอบกระแสสังคม ดังนั้นอานุภาพของการใช้เครื่องมือทางการสื่อสารของกลุ่มคนชนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ยืนอยู่ในฝั่งต่อต้านรัฐบาลจึงมีพลัง และพร้อมจะกระจายข้อมูลทุกอย่างออกไปเพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง แต้มต่อของฝ่ายผู้ชุมนุมในส่วนนี้จึงเหนือกว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล!
ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งกันในทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด คู่กรณีทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ต่างทำหน้าที่ช่วงชิงพื้นที่ข่าวเพื่อให้ฝ่ายตนอยู่ในสถานะได้เปรียบ ดังนั้นข่าวสารที่ถูกส่งออกไปให้กับมวลชนเป้าหมายจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ช่องทางการสื่อสารที่มีให้มาก บ่อยครั้งและกว้างขวางมากที่สุด โดยที่ข่าวดังกล่าวมีทั้งความถูกต้อง เป็นจริงและข่าวที่ยังไม่มีการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือหรือข่าวเท็จ เป็นสนามที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องออกมาให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้หรือทราบข้อมูลที่ส่งออกไปมากที่สุด
สงครามชิงมวลมหาประชาชน
โดยเฉพาะการออกมาเคลื่อนไหวนอกสภาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์รวมกัน 8 คน จากเป้าหมายเดิมเพื่อขับเคลื่อนมวลชนต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มีเรื่องของร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเป็นหัวเชื้อ จากเวทีเริ่มต้นที่สถานีรถไฟสามเสนจนมาถึงเวทีมวลมหาประชาชนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมๆ กับการนำไปสู่การลาออกจากการเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และขยายเป้าหมายไปสู่การขับไล่ระบอบทักษิณในที่สุด
ดังนั้นสงครามข่าวจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้ที่สำคัญ ฝ่ายผู้ชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณได้รับแรงหนุนจากคนในกรุงเทพฯ และคนในพื้นที่ภาคใต้ที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ และยังมีส่วนที่เข้ามาสมทบในแทบทุกจังหวัดของประเทศ
พิสูจน์ให้เห็นได้จากการรวมพลครั้งใหญ่ของภาคประชาชนเพื่อต่อต้านระบอบทักษิณที่เวทีราชดำเนิน เมื่อ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลายเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มวลชนทุกอาชีพ ทุกวัย ทุกชนชั้น บนถนนทุกสายต่างมุ่งหน้าสู่เวทีราชดำเนิน จนกลายเป็นคลื่นมวลมหาประชาชนที่มีคนมากกว่า 1 ล้านคน เบียดเสียดกันเต็มถนนบนเป้าหมายเดียวกันคือขับไล่ระบอบทักษิณให้พ้นไปจากประเทศไทย
จากนั้นนายสุเทพ และแกนนำได้ขับเคลื่อนไปสู่การยึดหน่วยราชการต่างๆ และเปิดเวทีเพิ่มอีก 2แห่ง คือเวทีกระทรวงการคลังและเวทีศูนย์ราชการที่ถนนแจ้งวัฒนะ และทุกเครือข่าย รวมกันเป็นหนึ่งเดียว และกำหนดเป้าหมายของชัยชนะไว้ในวันที่ 1 ธันวาคม ภายใต้ชื่อใหม่คือ คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
อย่างไรก็ดี ยุทธวิธีหนึ่งที่เหมือนกันและใช้ในการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน คือการให้ข้อมูลโจมตีฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายต่อต้านมีเวทีการชุมนุมเป็นแหล่งในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางของสื่อหลัก นั่นคือสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม บลูสกาย และยังมีเครือข่ายสื่อที่ร่วมแนวทางอย่างสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ทีนิวส์ เมื่อทุกอย่างเดินหน้าไปสู่การขับไล่ระบอบทักษิณ สื่ออื่นจึงขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน มีทั้งช่อง FMTV ช่อง 13 สยามไทย และเอเอสทีวี
ฝ่ายรัฐบาลใช้กลไกตามพระราชบัญญัติความมั่นคงมี ศอ.รส. เป็นศูนย์กลางในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามผ่านสื่อของรัฐและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (TV Pool) เป็นเครื่องมือหลัก และยังมีสื่อของกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเชีย อัปเดต เข้ามาสมทบ
เป็นที่น่าสังเกตว่าการชุมนุมของภาคประชาชนครั้งใหญ่ ภายใต้อดีตแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ สื่อของฟรีทีวีไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก สวนทางกับการออกมาร่วมชุมนุมของประชาชนทางการเมืองมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา จนเป็นเหตุให้ที่ชุมนุมมีการเดินทางไปยังสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีต่างๆ เพื่อขอให้นำเสนอข่าวสารของฝ่ายผู้ชุมนุม
กระทั่งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการกระทำที่เข้าข่ายการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ออกแถลงการณ์ขอให้ กปปส.ยุติการกระทำดังกล่าว
แต่หากพิจารณาถึงเนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าวจะพบว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเข้าใจกับการกระทำของกลุ่ม กปปส. เนื่องจากที่ผ่านมาสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ไม่ให้ความสำคัญในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นสถานการณ์สำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน นับตั้งแต่เหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ที่มีความต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 โดยปรากฏว่าสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ยังคงนำเสนอรายการตามผังรายการตามปกติ เป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของสถานีเป็นหลัก มากกว่าการคำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
ขณะที่การแย่งชิงมวลชนจนถึงการปลุกเร้ามวลชน นับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกันอย่างแพร่หลายในช่วงที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านช่วงชิงความได้เปรียบซึ่งกันและกัน ข่าวลือนานาชนิดถูกปล่อยออกมา โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายที่จะชี้ชะตาว่าฝ่ายใดจะกุมความได้เปรียบ อย่างในช่วงที่ฝ่าย กปปส.เข้าควบคุมพื้นที่หน่วยงานราชการต่างๆ ไว้ได้ ก็มีข่าวปล่อยออกมาว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยการอ้างอิงกำหนดการ วันเดินทางและสายการบินพร้อมทั้งเวลาบิน แต่ก็ถูกออกมาปฏิเสธว่าเป็นกำหนดการเก่าเนื่องจากมีการยกเลิกไปก่อนหน้านี้
หรือข่าวการหนีออกนอกประเทศของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. หลังจากศาลออกหมายจับในข้อหากบฏ รวมไปถึงการประกาศยอมแพ้ของฝ่ายต่อต้าน หรือข่าวการปรับเปลี่ยนตัว พลตำรวจโทคำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รวมถึงการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการจับกุมแกนนำ และข่าวสลายการชุมนุม หรือข่าวที่ทหารจะออกมายุติปัญหาความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย
แม้ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 กลุ่มผู้ชุมนุมจะสามารถฝ่าด่านที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลอย่างบริเวณทำเนียบรัฐบาลและที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลไปได้ โดยการถอยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การชุมนุมเพื่อขับไล่ระบอบทักษิณจะยังดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับชัยชนะ
ขณะเดียวกัน ข่าวลือ ข่าวปล่อยหรือสงครามข่าวสารระหว่างฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุมยังคงอยู่ต่อไปและเข้มข้นมากขึ้นเช่นกัน
สมาร์ทโฟนอาวุธหลักในโลกยุคใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ในการต่อสู้กันด้านข้อมูลข่าวสาร ภาครัฐบาลจะใช้ช่องทางหลักอย่าง ศอ.รส. กรมประชาสัมพันธ์ เครือข่ายมหาดไทย ฝ่ายการเมือง ทำกันอย่างเข้มข้น ถือเป็นหน่วยงานของทางการที่สำคัญในการที่จะออกมาตอบโต้หรือดำเนินการเชิงรุก และยังมีสื่อของรัฐบาลที่พร้อมจะดำเนินการถ่ายทอดต่อทั้งสถานีโทรทัศน์ในสังกัดของรัฐบาล และสื่อสิ่งพิมพ์ที่สนับสนุนรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาทาง ศอ.รส.ยังทำหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อีกช่องทางหนึ่งคือการใช้สื่อที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทีวีดาวเทียม วิทยุชุมชน โซเชียลมีเดีย ในพื้นที่ส่วนนี้ถือว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้เปรียบ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลยังไม่มียุทธศาสตร์ในด้านนี้อย่างชัดเจน อย่างทีวีเสื้อแดงก็ยังไม่เป็นระบบนัก บางรายการถอดออกไป สื่อในส่วนนี้จึงอ่อนลงไป โดยรัฐเน้นไปที่สื่อหลักของรัฐที่ดูแลอยู่
ขณะที่บลูสกายเข้มแข็งขึ้นทุกขณะ ที่สามารถรับชมการถ่ายทอดการชุมนุมได้ตลอดเวลาแล้ว เมื่อบวกกับพลังของโซเชียลมีเดียที่เพิ่มรูปถ่ายต่างๆ มีภาพ เสียง แผนที่หรือคลิปได้ และแต่ละครั้งมีคนเห็นเป็นหมื่น อีกทั้งคนในถนนราชดำเนินส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนจึงรับรู้ข่าวสารเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความไม่พอใจในการใช้อำนาจของรัฐบาลที่ผ่านมามีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ของโซเชียลมีเดียติดตามความเคลื่อนไหวของการชุมนุมมากขึ้น ถือว่านี่เป็นมิติใหม่ ขณะที่ช่องทางการสื่อสารของกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลยังคงอยู่ในเทคโนโลยียุคก่อนคือ SMS เป็นหลัก
สำหรับคนทั่วไปแล้วช่วงเวลาอย่างนี้จะมีข้อมูลข่าวสารออกมามาก และเปลี่ยนแปลงเร็ว การแยกแยะว่าข่าวใดถูกหรือผิดนั้นทำได้ยาก และต้องหาคนที่เชื่อถือได้มาตรวจสอบข่าวสารเหล่านี้ ซึ่งสื่อหลักจะเป็นตัวช่วยกลั่นกรอง
โซเชียลมีเดียหนุนฝ่ายต้านเป็นต่อ
ขณะที่นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนอย่าง ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า ช่วงวิกฤตทางการเมือง ทุกข่าวสารมักจะมีความอ่อนไหว มีการกระจายอย่างรวดเร็ว และทุกคนคาดหวังตามสื่อที่ตัวเองเชื่อ
ในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญ ด้วยการเข้าถึงผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่สามารถติดตามข่าวสารได้ทั้งจากอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก หรือผ่านการสนทนาอย่าง Line ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รู้จักกันเป็นเพื่อนกัน ดังนั้นเมื่อใครในกลุ่มได้รับข้อมูลมาแล้วนำมาเผยแพร่ต่อก็มักจะเชื่อกัน
ข่าวลือที่นำมาเผยแพร่กันในกลุ่ม Line จะมีมากกว่าเฟซบุ๊ก เพราะเป็นกลุ่มเฉพาะ โดยในช่วงนี้ข่าวลือต่างๆ จะมีค่อนข้างมาก อีกทั้งผู้ที่เสพยังกลายเป็นส่งต่อไปในตัว เช่นกด like แล้วก็ share โดยที่ข่าวดังกล่าวอาจจะไม่ได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ในสังคมออนไลน์ข่าวประเภทนี้เผยแพร่ได้เร็วมาก
ตอนนี้แต่ละฝ่ายต่างใช้เป็นช่องทางการรบ สร้างโฆษณาชวนเชื่อของทุกฝ่าย สามารถให้ผลได้ทั้งบวกและลบ เมื่อก่อนใช้ฟรีทีวี แต่ขณะนี้โซเชียลมีเดียทุกคนเข้าถึงได้ง่าย แม้กระทั่งบุคคลต่างๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มขัดแย้งก็เข้ามาได้
ปัจจุบันข่าวลือมีการปล่อยกันมาก ฝ่ายต่อต้านได้เปรียบ เพราะสามารถดึงเอาคนหนุ่มสาว และคนที่เริ่มต้นในวัยทำงานเข้ามาร่วม รวมไปถึงกลุ่มไทยเฉย โดยมีเรื่องของพระราชบัญญัตินิรโทษเข้ามาเป็นจุดเริ่มต้น เดิมไม่มีใครสนใจหรือรู้เรื่องมากนัก แต่สื่อสมัยใหม่ทำให้คนเข้ามาหาข้อมูล และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการระดมพลได้ง่ายขึ้นด้วยสมาร์ทโฟน ดังนั้นโซเชียลมีเดียจึงเป็นตัวชี้ขาดแพ้ชนะได้เช่นกัน
รัฐบาลยังไม่สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้ได้อย่างมีพลัง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของรัฐบาลเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน ดังนั้นการใช้สื่อของรัฐจึงต้องใช้สื่อในยุคเก่า อย่างกรณีเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่ม นปช.อาจไม่ชำนาญในเรื่องเหล่านี้ แต่ฝ่ายของผู้ต่อต้านรัฐบาลทำได้ดีกว่า ส่วนคนที่ใช้โซเชียลมีเดียได้ดีฝ่ายคนเสื้อแดงอย่าง นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก็มีความขัดแย้งกับรัฐบาลในเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมาก่อน และกว่าจะกลับเข้ามาใหม่ก็ช้าเกินไป
อีกทั้งพลังของฟรีทีวี ไม่ได้มีมากเหมือนในยุคแรกๆ พฤษภาคม 2535 ที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สำคัญ ตอนนี้คนเมืองมีสมาร์ทโฟน พลังการสื่อสารจึงตรงกับจริตของคนในยุคนี้มากกว่า และแม้ฟรีทีวีจะไม่นำเสนอข่าวการชุมนุม หรือทีวีดาวเทียมอาจถูกสกัดกั้น แต่ก็ยังติดตามข้อมูลข่าวสารได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นภาคประชาชนต้องตั้งสติ การเสพข้อมูลที่หลากหลาย การเลือกที่จะเชื่อหรือไม่ควรเป็นข้อมูลข่าวสารที่ผ่านองค์กรสื่อ เพราะเท่ากับมีการตรวจสอบมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป
หนึ่งในยุทธวิธีทำลายคู่ต่อสู้
ขณะที่แหล่งข่าวจากกองทัพบกกล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้ถือเป็นการทำสงครามข่าว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย เพื่อเป้าหมายทั้งช่วงชิงหรือทำลายมวลชน โดยเป็นการชิงความได้เปรียบและเป็นวิธีการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้มวลชนมาร่วมชุมนุมหรือขู่ให้ผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามกลับบ้านเพื่อให้เหลือผู้ชุมนุมน้อยลง แม้ว่าท้ายที่สุดความจริงจะเปิดเผยออกมาในภายหลัง แต่ช่วงจังหวะเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นทุกฝ่ายต้องเร่งชิงความได้เปรียบ ดังนั้นผู้ที่เสพข่าวในช่วงนี้คงต้องให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวด้วย
สำหรับช่องทางในการใช้เผยแพร่ สามารถใช้ได้หมด ยิ่งในยุคสังคมออนไลน์ การปล่อยข่าวต้องทำให้ได้อย่างเร็วที่สุดและได้ผลมากที่สุด อย่างข่าวสารที่ออกมาจากศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) มีทั้งจริงและลวง ทั้งหมดเป็นเรื่องของการสู้กันในเชิงยุทธวิธี ใครไวกว่าได้เปรียบ สถานการณ์อย่างนี้ทุกอย่างเคลื่อนไหวเร็ว การที่จะมาตรวจสอบหรือจับผิดว่าใครพูดจริงหรือเท็จนั้นเป็นเรื่องยากภายใต้เวลาจำกัด
มันเป็นการรบอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ใช้ข่าวสาร ข้อเท็จจริงหรือข่าวลือต่างๆ มาเป็นเครื่องมือรบ มีการใช้ทั้งจิตวิทยา ความเร็วและความแพร่กระจายข้อมูลในวงกว้างเข้ามาสร้างความได้เปรียบ ฝ่ายใดที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า และมีอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัยตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า ย่อมได้เปรียบกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
โซเชียลมีเดียช่วยปกป้อง ‘สุเทพ’
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าผู้ชุมนุมเกือบทุกคนมีสมาร์ทโฟน จึงรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก เข้าดูเว็บไซต์ข่าว ดูการชุมนุมในเวทีอื่นๆ ทำทุกอย่างได้ทั้งหมด ขณะที่ฝ่ายของรัฐบาลแม้ว่าจะมีเครื่องมือสื่อสารอย่างฟรีทีวี แต่ก็ไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลหรือตอบโต้ได้อย่างทันที ส่วนความพร้อมทีมงานด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กฝ่ายรัฐและคนเสื้อแดงก็มีไม่น้อย
แต่ปัญหาคือผู้รับสารของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไม่มีความพร้อม เพราะจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนของฐานเสียงพรรคเพื่อไทยมีจำกัด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียแล้วทำให้ป้องกันปัญหาได้ โดยในคืนวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากศาลได้อนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และมีกระแสข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมนำกำลังเข้าจับกุมนายสุเทพ ที่คืนดังกล่าวมีการนำมวลชนพักค้างที่กระทรวงการคลัง และนายสาธิต วงศ์หนองเตย แกนนำบนเวทีราชดำเนิน ได้ประกาศบนเวทีขอกำลังเสริมจากทุกพื้นที่ให้รีบไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อช่วยกำนันสุเทพ
“ใครอยู่ใกล้แถวนั้น ต้องขอกำลังไปช่วยกำนันสุเทพด่วน เพราะตำรวจกำลังจะไปจับกำนันสุเทพ ใครมีรถ ให้เอาไปปิดล้อมไม่ให้ตำรวจเข้าไปได้ และกำลังคนต้องเสริมไปเยอะๆ เราต้องช่วยกันบอกต่อๆ กันไป”
ทันทีที่นายสาธิตประกาศบนเวที โลกโซเชียลมีเดีย ได้มีการแชร์อย่างรวดเร็ว มีการไลน์ต่อๆ กันไป และเพียงชั่วไม่กี่นาที ทุกพื้นที่บริเวณกระทรวงการคลังเต็มไปด้วยผู้ชุมนุม พร้อมทั้งนำเอารถยนต์ไปปิดกั้นถนนทุกสายที่จะมุ่งหน้าเข้ามาที่กระทรวงการคลัง รวมทั้งปิดทางขึ้น-ลงทางด่วนพระราม 6 ส่วนรถตำรวจที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่ใกล้กระทรวงการคลัง กลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้าไปล้อมและปล่อยลมยางของรถตู้ที่ขนตำรวจมา
นี่คือพลังของการใช้โซเชียลมีเดียที่ฝ่ายผู้ชุมนุมติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่อรับข้อมูลมาจากนั้นก็แพร่กระจายไปยังเครือข่ายต่างๆ ทำให้คืนนั้นภารกิจการเข้าจับกุมนายสุเทพต้องล้มเหลว
อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของโลกข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หลังจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยที่เวทีศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ในช่วงเกือบ 2 ทุ่มของคืนวันที่ 3 ธันวาคม โดยกล่าวถึงเรื่องของนายกฯ ตามมาตรา 7 และแนวทางของสภาประชาชน หลังจากนั้นไม่นานในโลกออนไลน์มีการเผยแพร่โฉมหน้าของรัฐบาลชุดใหม่ พร้อมด้วยเจ้ากระทรวงต่างๆ ระบุชื่อบุคคลเบ็ดเสร็จ รวมไปถึงชื่อบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในสภาประชาชน
รายชื่อของคณะบุคคลที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในรัฐบาลใหม่และในสภาประชาชน ในโลกออนไลน์ เป็นเพียงการคาดการณ์ของใครหรือฝ่ายใดก็ได้ที่ทำออกมา ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อสนุกสนาน ล้อเลียนหรือทดสอบกระแสสังคม ดังนั้นอานุภาพของการใช้เครื่องมือทางการสื่อสารของกลุ่มคนชนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ยืนอยู่ในฝั่งต่อต้านรัฐบาลจึงมีพลัง และพร้อมจะกระจายข้อมูลทุกอย่างออกไปเพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง แต้มต่อของฝ่ายผู้ชุมนุมในส่วนนี้จึงเหนือกว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล!