ละครสร้างภาพลวงโลกการเจรจาสันติภาพเพื่อดับไฟใต้ ที่มี นช.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับใหญ่ใกล้จะจบเห่ลงแล้วเพราะไปไม่รอดด้วยตัวของมันเองในทางความเป็นจริง ถึงแม้หลายคนจะเคลิบเคลิ้มฝันหวานไปกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ “นช.ทักษิณ” ว่านี่แหละคือหนทางที่จะคืนสันติสุขแก่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ใครหน้าไหนออกมาท้วงติงวิพากษ์วิจารณ์ก็พากันหวาดหวั่นว่าการเจรจาจะล่มกลางคัน ซ้ำบางคนยังทำตัวปกป้องเหมือนกับเป็น “โฆษกบีอาร์เอ็น” อย่างที่ “ปกรณ์ พึ่งเนตร” บก.ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา เหน็บแหนม
อันที่จริงตามหลักการแล้วไม่มีใครปฏิเสธกระบวนการเจรจาสันติภาพเพราะมันเป็นหนทางในการยุติปัญหาความขัดแย้งรุนแรงทั้งหลายทั้งปวง แต่การเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้คราวนี้ชวนสงสัยตั้งแต่ต้นแล้วว่านี่มันแหกตากันชัดๆ เพราะฝั่งโน้นก็ยังมีข้อสงสัยว่าหัวขบวนที่นำการเจรจานั้นไม่ได้มีอำนาจควบคุมกลุ่มกำลังต่างๆ ที่สร้างเหตุการณ์รุนแรงรายวัน ซึ่งถึงวันนี้ยังร้ายแรงไม่หยุด
สรุปง่ายๆ คือ ไม่ได้เป็นผู้นำตัวจริงเสียงจริง ซ้ำยังฉกฉวยโอกาสยื่นข้อเรียกร้องที่ไม่มีวันเป็นไปได้ต่อทางการไทยผ่านยูทิวบ์ (Youtube) เพื่อหวังสร้างราคาประกาศตัวตนสู่ชาวโลก ขณะที่ฝั่งนี้คือทางการไทยก็ไม่ได้มีโรดแมป ไม่ได้มียุทธศาสตร์รับมือกับข้อเรียกร้องและการเจรจาสันติภาพดังว่า เอาแต่อ้ำๆ อึ้งๆ จนมึนงงกันทั้งประเทศ ลักษณะของโต๊ะเจรจาที่มีมือที่สาม คือ มาเลเซีย เป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก จึงออกมาคล้ายๆ กับว่าคุยกันไปมาสามวาสองศอก
อย่างไรก็ตาม แม้ใครๆ จะรู้ไส้รู้พุงว่างานนี้คืองานสร้างภาพแหกตา ส่วนจะเอามรรคเอาผลสำเร็จคงหวังได้ยาก แต่กระนั้น นช.ทักษิณก็ยังทำขมีขมันกระตือรือร้น เมื่อมีปัจจัยเงื่อนไขความเคลื่อนไหวต่างๆ เกิดขึ้นก็รีบเร่เข้าไปเอาหน้า เพื่อจะได้อ้างเอาบุญคุณเผื่อฟลุกถ้าไฟใต้สงบ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่พอมาเลเซียมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้วผลปรากฏว่านายนาจิบ ราชัค ผู้นำพรรคอัมโน อดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย มีชัยชนะ นช.ทักษิณก็รีบโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับนายราจิบที่ได้เป็นรัฐบาลอีกสมัย
ลิ่วล้อ นช.ทักษิณคือ นายนพดล ปัทมะ กุลีกุจอออกข่าวว่า นายใหญ่ของตัวเองโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับนายราจิบ และย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และนายนาจิบมีความสนิทสนมกันมากเพราะเคยทำงานร่วมกันมา พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ที่ได้ประสานนายนาจิบเพื่อให้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยกันระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับบีอาร์เอ็น เพื่อแก้ไขปัญหาลดความรุนแรง และนำสันติสุขมาสู่ดินแดนภาคใต้ ซึ่งการพูดคุยระหว่าง สมช.กับกลุ่มบีอาร์เอ็นก็คงดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องเพราะนโยบายไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สอดรับกับ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. ที่รีบออกมารับเป็นลูกคู่ทันที โดยยืนยันว่าผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่พรรครัฐบาลชนะเลือกตั้งนั้นเชื่อว่าจะทำให้การเจรจาเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น พร้อมทั้งมั่นใจว่าแม้ฝ่ายค้านของมาเลเซียจะคัดค้านผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้ส่งผลทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซ้ำยังคุยว่าฝ่ายไทยมียุทธศาสตร์ มีโรดเมป ตอนนี้ก็มีการจัดเวทีภาคประชาชนเพื่อฟังข้อคิดเห็น คาดว่าน่าจะได้ข้อมูลระดับหนึ่งก่อนจะไปพูดคุยรอบที่สามกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิถุนายนนี้
เช่นเดียวกับ พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่มองว่า การที่นายนาจิบ ราซัค แห่งพรรคอัมโน ชนะการเลือกตั้ง และได้กลับมาเป็นผู้นำมาเลเซียอีกครั้งจะเป็นผลดีต่อการพูดคุยในการเจรจาให้ต่อเนื่อง เพราะเขาเป็นคนริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมา และต้องมีการทำต่อเนื่องไปเหมือนเชือกที่ต้องขมวดให้มันแน่นขึ้น
การแสดงความยินดีกับเพื่อนซี้ นายนาจิบ ผู้มีบทบาทในการเป็นตัวกลางอำนวยความสะดวกในการเจรจาระหว่าง สมช.กับบีอาร์เอ็นนั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องที่น่าเคลือบแคลงอย่างที่สุดก็คือ กระแสข่าวที่ นช.ทักษิณเดินทางไปพูดคุยกับนายฮัดซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นที่มาเลเซีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนวันเลือกตั้งมาเลย์ไม่กี่วัน
เมื่อเรื่องนี้เป็นข่าวฉาวโฉ่ขึ้นมาในทำนองว่า นช.ทักษิณเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและไปคุยกับแกนนำบีอาร์เอ็นในลักษณะยื่นหมูยื่นแมวอย่างไรก็แล้วแต่ นายนพดลถึงกับรีบแจ้นออกมาแจงว่านายใหญ่ไม่ได้ไปคุยกับนายฮัดซันอย่างที่สงสัยกัน แต่ยอมรับว่าช่วง 2-3 วันก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปมาเลเซียจริง เพื่อพบปะกับผู้นำศาสนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางช่วยให้ภาคใต้เกิดสันติสุขในพื้นที่
ซ้ำยังเอาดีใส่ตัวด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณหวังให้แกนนำศาสนาในมาเลเซียส่งสัญญาณถึงความจริงใจของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาภาคใต้ไปยังผู้นำศาสนาในประเทศไทย ทั้งที่จะว่าไปแล้วอาการทุรนทุรายของ พ.ต.ท.ทักษิณในเรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นความพยายามเพื่อไถ่บาปของตัวเอง เพราะรัฐบาลทักษิณนั่นเองที่ทำให้ไฟใต้ปะทุขึ้นและลุกลามจนบัดนี้
ไม่ว่าจะเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟด้วยวาทะ “โจรกระจอก” หรือการยุบทิ้ง ศอ.บต. จนต้องมาตั้งขึ้นใหม่ในภายหลัง และที่สำคัญคือกรณีสลายม็อบตากใบ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 87 ศพ และการสังหารหมู่ที่มัสยิดกรือเซะ 32 ศพ ถือเป็นเหตุการณ์ที่จุดไฟแห่งความคับแค้นให้แก่คนในพื้นที่ดังปรากฏจากคำสารภาพของผู้ก่อเหตุความไม่สงบต่างกรรมต่างวาระ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการไถ่บาปของชายที่น่าสงสัยว่าคงบาปหนาสาหัสอย่างหนักจึงยังไม่เห็นผลแม้แต่น้อย เพราะนับจากมีการตั้งโต๊ะเจรจาเกิดขึ้นสถานการณ์ความรุนแรงหาได้บรรเทาเบาบางลงไปไม่ กระทั่ง พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ต้องออกปากยอมรับความจริงว่าเหตุการณ์รุนแรงก็ยังเกิดขึ้น แต่ปากแข็งว่า แม้สถานการณ์จะรุนแรงแต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการพักเจรจาชั่วคราวเนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่มีผลต่อการพูดคุย
ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนจะเยาะเย้ยกระบวนการเจรจาสันติภาพ นัยหนึ่งทำให้ทางการไทยเห็นชัดเจนว่าผู้ก่อเหตุไม่ใช่แค่กลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้น มีผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม บีอาร์เอ็นเป็นแค่กลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งก็บอกและตอกย้ำความหมายในตัวเองว่า ตัวละครที่อุปโลกน์กันขึ้นมานั้นมันไม่ใช่ตัวจริงเสียงจริงที่จะไปคุมใครเขาได้ ซ้ำฝ่ายทางการไทยยังเสียค่าโง่ไปช่วยยกระดับกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงให้สมอ้างตัวว่าเป็น “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เสียโก้หรูอีกต่างหาก
เรื่องปาหี่ของ นช.ทักษิณที่ทำทีทำท่าเจ้ากี้เจ้าการเพื่อสร้างภาพสร้างสันติภาพ ล้างบาปให้ตัวเองนั้นจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ดูท่าทีของ “ท่านรองเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ก็รู้แล้วว่าบทสรุปจะจบแบบไหน เพราะถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า “ท่านรองเหลิม” ซึ่งรู้ขี้รู้ไส้ นช.ทักษิณเป็นอย่างดีนั้น ไม่ได้มีความกระตือรือร้นอันใดกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมือนกับจะรู้ล่วงหน้าแล้วว่าโต๊ะเจรจาสันติภาพที่ นช.ทักษิณเปิดเกมเขี่ยลูกนั้น สุดท้ายก็เป็นได้แค่มุกแป้ก
ยิ่งเลือกผู้ที่มีข้อสงสัยจากคนในพื้นที่ว่าเป็นมือสังหาร อย่าง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหนึ่งในคนเดินเกมที่สำคัญ ก็ยิ่งเห็นปลายทางรำไรแล้วว่าจบเห่ แต่ที่พยายามทำๆ กันอยู่ก็แค่หาอะไรทำให้ไม่ว่างเพื่อสร้างภาพเท่านั้น
อย่ากระนั้นเลย เพื่อไม่ให้ “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เยาะเย้ยฝ่ายทางการไทยไปมากกว่านี้ ก่อนเดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติภาพกันต่อไปก็ควรสดับรับฟังความเห็นของ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ที่เสนอแนะไว้ในการจัดเสวนาวงปิดที่จังหวัดปัตตานี กับนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขเมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้สรุป “จุดอ่อน” และประเด็นที่ต้องแก้ไขทบทวนก่อนเดินหน้า “พูดคุยเจรจา” ต่อไป ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ยังไม่มีกรอบการพูดคุยเจรจา ไม่มีกรอบกติกาการสื่อสารและการแถลงข่าว แต่กลับข้ามไปคุยเรื่องเงื่อนไขกันแล้ว 2. ฝ่ายรัฐบาลไทยยังไม่มีแผนที่เดินทาง หรือ “โรดแมป” ไม่มีข้อเสนอ และไม่มียุทธศาสตร์รับมือกับข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง 3. คณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทยประชุมเพื่อระดมสมองกันน้อยเกินไป ระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนวันนัดพูดคุยแต่ละครั้งแทบไม่มีการประชุมกันเลย 4. ตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อพูดคุยเป็นการลับไปพร้อมกันด้วย ไม่ต้องรอคณะพูดคุยชุดใหญ่ที่กำหนดกรอบเวลาไว้เดือนละครั้ง และ 5. ค้นหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
การหันกลับมาทบทวนกระบวนการเจรจาสันติภาพ อย่างน้อยก็เพื่อให้ความพยายามสร้างภาพไถ่บาปของ นช.ทักษิณได้ผลขึ้นมาบ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี และไม่เปิดช่องให้ “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เย้ยหยันฝ่ายทางการไทยไปมากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่
อันที่จริงตามหลักการแล้วไม่มีใครปฏิเสธกระบวนการเจรจาสันติภาพเพราะมันเป็นหนทางในการยุติปัญหาความขัดแย้งรุนแรงทั้งหลายทั้งปวง แต่การเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้คราวนี้ชวนสงสัยตั้งแต่ต้นแล้วว่านี่มันแหกตากันชัดๆ เพราะฝั่งโน้นก็ยังมีข้อสงสัยว่าหัวขบวนที่นำการเจรจานั้นไม่ได้มีอำนาจควบคุมกลุ่มกำลังต่างๆ ที่สร้างเหตุการณ์รุนแรงรายวัน ซึ่งถึงวันนี้ยังร้ายแรงไม่หยุด
สรุปง่ายๆ คือ ไม่ได้เป็นผู้นำตัวจริงเสียงจริง ซ้ำยังฉกฉวยโอกาสยื่นข้อเรียกร้องที่ไม่มีวันเป็นไปได้ต่อทางการไทยผ่านยูทิวบ์ (Youtube) เพื่อหวังสร้างราคาประกาศตัวตนสู่ชาวโลก ขณะที่ฝั่งนี้คือทางการไทยก็ไม่ได้มีโรดแมป ไม่ได้มียุทธศาสตร์รับมือกับข้อเรียกร้องและการเจรจาสันติภาพดังว่า เอาแต่อ้ำๆ อึ้งๆ จนมึนงงกันทั้งประเทศ ลักษณะของโต๊ะเจรจาที่มีมือที่สาม คือ มาเลเซีย เป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก จึงออกมาคล้ายๆ กับว่าคุยกันไปมาสามวาสองศอก
อย่างไรก็ตาม แม้ใครๆ จะรู้ไส้รู้พุงว่างานนี้คืองานสร้างภาพแหกตา ส่วนจะเอามรรคเอาผลสำเร็จคงหวังได้ยาก แต่กระนั้น นช.ทักษิณก็ยังทำขมีขมันกระตือรือร้น เมื่อมีปัจจัยเงื่อนไขความเคลื่อนไหวต่างๆ เกิดขึ้นก็รีบเร่เข้าไปเอาหน้า เพื่อจะได้อ้างเอาบุญคุณเผื่อฟลุกถ้าไฟใต้สงบ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่พอมาเลเซียมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้วผลปรากฏว่านายนาจิบ ราชัค ผู้นำพรรคอัมโน อดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย มีชัยชนะ นช.ทักษิณก็รีบโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับนายราจิบที่ได้เป็นรัฐบาลอีกสมัย
ลิ่วล้อ นช.ทักษิณคือ นายนพดล ปัทมะ กุลีกุจอออกข่าวว่า นายใหญ่ของตัวเองโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับนายราจิบ และย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และนายนาจิบมีความสนิทสนมกันมากเพราะเคยทำงานร่วมกันมา พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ที่ได้ประสานนายนาจิบเพื่อให้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยกันระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับบีอาร์เอ็น เพื่อแก้ไขปัญหาลดความรุนแรง และนำสันติสุขมาสู่ดินแดนภาคใต้ ซึ่งการพูดคุยระหว่าง สมช.กับกลุ่มบีอาร์เอ็นก็คงดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องเพราะนโยบายไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สอดรับกับ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. ที่รีบออกมารับเป็นลูกคู่ทันที โดยยืนยันว่าผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่พรรครัฐบาลชนะเลือกตั้งนั้นเชื่อว่าจะทำให้การเจรจาเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น พร้อมทั้งมั่นใจว่าแม้ฝ่ายค้านของมาเลเซียจะคัดค้านผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้ส่งผลทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซ้ำยังคุยว่าฝ่ายไทยมียุทธศาสตร์ มีโรดเมป ตอนนี้ก็มีการจัดเวทีภาคประชาชนเพื่อฟังข้อคิดเห็น คาดว่าน่าจะได้ข้อมูลระดับหนึ่งก่อนจะไปพูดคุยรอบที่สามกับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 13 มิถุนายนนี้
เช่นเดียวกับ พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่มองว่า การที่นายนาจิบ ราซัค แห่งพรรคอัมโน ชนะการเลือกตั้ง และได้กลับมาเป็นผู้นำมาเลเซียอีกครั้งจะเป็นผลดีต่อการพูดคุยในการเจรจาให้ต่อเนื่อง เพราะเขาเป็นคนริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมา และต้องมีการทำต่อเนื่องไปเหมือนเชือกที่ต้องขมวดให้มันแน่นขึ้น
การแสดงความยินดีกับเพื่อนซี้ นายนาจิบ ผู้มีบทบาทในการเป็นตัวกลางอำนวยความสะดวกในการเจรจาระหว่าง สมช.กับบีอาร์เอ็นนั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกเรื่องที่น่าเคลือบแคลงอย่างที่สุดก็คือ กระแสข่าวที่ นช.ทักษิณเดินทางไปพูดคุยกับนายฮัดซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นที่มาเลเซีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนวันเลือกตั้งมาเลย์ไม่กี่วัน
เมื่อเรื่องนี้เป็นข่าวฉาวโฉ่ขึ้นมาในทำนองว่า นช.ทักษิณเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและไปคุยกับแกนนำบีอาร์เอ็นในลักษณะยื่นหมูยื่นแมวอย่างไรก็แล้วแต่ นายนพดลถึงกับรีบแจ้นออกมาแจงว่านายใหญ่ไม่ได้ไปคุยกับนายฮัดซันอย่างที่สงสัยกัน แต่ยอมรับว่าช่วง 2-3 วันก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปมาเลเซียจริง เพื่อพบปะกับผู้นำศาสนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางช่วยให้ภาคใต้เกิดสันติสุขในพื้นที่
ซ้ำยังเอาดีใส่ตัวด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณหวังให้แกนนำศาสนาในมาเลเซียส่งสัญญาณถึงความจริงใจของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาภาคใต้ไปยังผู้นำศาสนาในประเทศไทย ทั้งที่จะว่าไปแล้วอาการทุรนทุรายของ พ.ต.ท.ทักษิณในเรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นความพยายามเพื่อไถ่บาปของตัวเอง เพราะรัฐบาลทักษิณนั่นเองที่ทำให้ไฟใต้ปะทุขึ้นและลุกลามจนบัดนี้
ไม่ว่าจะเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟด้วยวาทะ “โจรกระจอก” หรือการยุบทิ้ง ศอ.บต. จนต้องมาตั้งขึ้นใหม่ในภายหลัง และที่สำคัญคือกรณีสลายม็อบตากใบ จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 87 ศพ และการสังหารหมู่ที่มัสยิดกรือเซะ 32 ศพ ถือเป็นเหตุการณ์ที่จุดไฟแห่งความคับแค้นให้แก่คนในพื้นที่ดังปรากฏจากคำสารภาพของผู้ก่อเหตุความไม่สงบต่างกรรมต่างวาระ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการไถ่บาปของชายที่น่าสงสัยว่าคงบาปหนาสาหัสอย่างหนักจึงยังไม่เห็นผลแม้แต่น้อย เพราะนับจากมีการตั้งโต๊ะเจรจาเกิดขึ้นสถานการณ์ความรุนแรงหาได้บรรเทาเบาบางลงไปไม่ กระทั่ง พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ต้องออกปากยอมรับความจริงว่าเหตุการณ์รุนแรงก็ยังเกิดขึ้น แต่ปากแข็งว่า แม้สถานการณ์จะรุนแรงแต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการพักเจรจาชั่วคราวเนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่มีผลต่อการพูดคุย
ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนจะเยาะเย้ยกระบวนการเจรจาสันติภาพ นัยหนึ่งทำให้ทางการไทยเห็นชัดเจนว่าผู้ก่อเหตุไม่ใช่แค่กลุ่มบีอาร์เอ็นเท่านั้น มีผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม บีอาร์เอ็นเป็นแค่กลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งก็บอกและตอกย้ำความหมายในตัวเองว่า ตัวละครที่อุปโลกน์กันขึ้นมานั้นมันไม่ใช่ตัวจริงเสียงจริงที่จะไปคุมใครเขาได้ ซ้ำฝ่ายทางการไทยยังเสียค่าโง่ไปช่วยยกระดับกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงให้สมอ้างตัวว่าเป็น “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เสียโก้หรูอีกต่างหาก
เรื่องปาหี่ของ นช.ทักษิณที่ทำทีทำท่าเจ้ากี้เจ้าการเพื่อสร้างภาพสร้างสันติภาพ ล้างบาปให้ตัวเองนั้นจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ดูท่าทีของ “ท่านรองเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ก็รู้แล้วว่าบทสรุปจะจบแบบไหน เพราะถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า “ท่านรองเหลิม” ซึ่งรู้ขี้รู้ไส้ นช.ทักษิณเป็นอย่างดีนั้น ไม่ได้มีความกระตือรือร้นอันใดกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมือนกับจะรู้ล่วงหน้าแล้วว่าโต๊ะเจรจาสันติภาพที่ นช.ทักษิณเปิดเกมเขี่ยลูกนั้น สุดท้ายก็เป็นได้แค่มุกแป้ก
ยิ่งเลือกผู้ที่มีข้อสงสัยจากคนในพื้นที่ว่าเป็นมือสังหาร อย่าง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหนึ่งในคนเดินเกมที่สำคัญ ก็ยิ่งเห็นปลายทางรำไรแล้วว่าจบเห่ แต่ที่พยายามทำๆ กันอยู่ก็แค่หาอะไรทำให้ไม่ว่างเพื่อสร้างภาพเท่านั้น
อย่ากระนั้นเลย เพื่อไม่ให้ “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เยาะเย้ยฝ่ายทางการไทยไปมากกว่านี้ ก่อนเดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติภาพกันต่อไปก็ควรสดับรับฟังความเห็นของ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ที่เสนอแนะไว้ในการจัดเสวนาวงปิดที่จังหวัดปัตตานี กับนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขเมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้สรุป “จุดอ่อน” และประเด็นที่ต้องแก้ไขทบทวนก่อนเดินหน้า “พูดคุยเจรจา” ต่อไป ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ยังไม่มีกรอบการพูดคุยเจรจา ไม่มีกรอบกติกาการสื่อสารและการแถลงข่าว แต่กลับข้ามไปคุยเรื่องเงื่อนไขกันแล้ว 2. ฝ่ายรัฐบาลไทยยังไม่มีแผนที่เดินทาง หรือ “โรดแมป” ไม่มีข้อเสนอ และไม่มียุทธศาสตร์รับมือกับข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง 3. คณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทยประชุมเพื่อระดมสมองกันน้อยเกินไป ระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนวันนัดพูดคุยแต่ละครั้งแทบไม่มีการประชุมกันเลย 4. ตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อพูดคุยเป็นการลับไปพร้อมกันด้วย ไม่ต้องรอคณะพูดคุยชุดใหญ่ที่กำหนดกรอบเวลาไว้เดือนละครั้ง และ 5. ค้นหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
การหันกลับมาทบทวนกระบวนการเจรจาสันติภาพ อย่างน้อยก็เพื่อให้ความพยายามสร้างภาพไถ่บาปของ นช.ทักษิณได้ผลขึ้นมาบ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี และไม่เปิดช่องให้ “ขบวนการปลดปล่อยชาวปัตตานี” เย้ยหยันฝ่ายทางการไทยไปมากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่