xs
xsm
sm
md
lg

โปรดฟังอีกครั้ง!! “ทักษิณ” ทรยศประชาชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คดีประวัติศาสตร์ยึดทรัพย์ “ทักษิณ” อาจกลายเป็นชนวนเหตุแห่งความพังพินาศของบ้านเมืองครั้งใหญ่ หากแต่ละฝ่ายไม่อาจน้อมรับคำตัดสิน การเปิดรับข้อมูลของคู่ต่อสู้ในคดีทั้งสองฝ่ายก่อนวันชี้ชะตาเพื่อให้รู้เท่าทันจึงเป็นเรื่องสำคัญ นับจากคตส.ที่ชี้มูลความผิด“ทักษิณ”ถึงขั้นทรยศต่อประชาชนส่งผ่านมายังอัยการที่มัดด้วยหลักฐานซุกหุ้น-เอื้อประโยชน์ กับคำแถลงโต้จากฝ่ายทักษิณศอกกลับคำกล่าวหาคตส.คาดเดาเอาผิดเพราะเป็นปฏิปักษ์

คดีนี้เริ่มต้นจากการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ( คตส.) ที่ชี้มูลความผิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีบิดเบือนการใช้อำนาจนิติบัญญัติ ใช้อำนาจทางบริหารครอบงำกระบวนการทางรัฐสภา ทำลายระบบกฎหมายและใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ออกมติครม.โดยขัดต่อกฎหมายและสัญญาร่วมงานกับรัฐ ทำลายความสามารถในการแข่งขันของ บริษัท ทีโอที และบริษัทกสท. หน่วยงานของรัฐที่เป็นคู่แข่งทางธุรกิจ เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอไอเอส และบริษัทในเครือชินคอร์ป ถือเป็นการกระทำที่ทรยศต่อประชาชน

ดังปรากฏรายละเอียดในข่าวเกี่ยวข้อง หัวข้อเรื่อง  “เปิดผลสอบคตส.(ฉบับเต็ม) “ทักษิณ” ทรยศประชาชน เอื้อประโยชน์ธุรกิจตนเอง – พวกพ้อง”

ผลสอบดังกล่าว ถูกส่งต่อไปยังอัยการสูงสุด เพื่อส่งฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งได้แสดงพยานหลักฐานเพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการซุกหุ้นและการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของพ.ต.ท.ทักษิณ ดังปรากฏใน “คำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ของฝ่ายอัยการ”

ขณะที่ฝ่ายทักษิณ ดาหน้าออกมาโต้แย้งข้อกล่าวหาของคตส. และอัยการ ว่า ข้อกล่าวหาต่างๆ นาๆ เพื่อร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์นั้น เป็นแต่เพียงข้อสันนิฐาน คาดเดา บิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะมีอคติและเป็นปฏิปักษ์ พร้อมแสดงพยานหลักฐานการซื้อขายหุ้นทำถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เคยใช้อำนาจหน้าที่ทุจริต เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมือง

ดังปรากฏรายละเอียดใน  “คำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ของทักษิณ ชินวัตร” , “คำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร”  และ “คำแถลงปิดคดียึดทรัพย์ของนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร”

ไม่ว่าคำตัดสินของศาลฎีกาฯ จะออกมาในลักษณะที่ “ยึดทั้งหมด” หรือ “ยึดบางส่วน” หรือ “ยกคำร้อง” ก็ล้วนรับฟังเหตุและผลจากทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการเรียกพยานไต่สวนเพิ่มเติมของศาลเองด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น