ASTVผู้จัดการายวัน - ศาลฎีกาฯ เลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตกล้ายางเป็นวันที่ 21 ก.ย.นี้ จับตาข้าราชการก๊วน “เนวิน” จำเลยในคดีเจริญรุ่งเรืองได้ดีถ้วนหน้า มือขวาควบบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง บางรายรอคั่วตำแหน่งรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรหากหลุดคดี ขณะที่เครือซีพีเส้นใหญ่ไม่ถูกขึ้นแบล็กลิสต์แถมไม่มีการไล่เบี้ยทำรัฐเสียหายส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามสัญญาทำให้พื้นที่ปลูกยางต่ำกว่าเป้าถึง 2 แสนไร่
ในที่สุด จำเลยในคดีทุจริตกล้ายางก็เบี้ยวไม่มาฟังคำพิพากษาให้ครบถ้วนทั้ง 44 คนตามคาดหมาย การยื้อเวลาออกไปเท่ากับต่อลมหายใจให้ชีวิตมีอิสระอีกนิดหนึ่ง แต่คนที่ทำให้เพื่อนพ้องรอดอีกเฮือกกลับต้องเอาตัวเองไปเสี่ยงคุกเสี่ยงตารางก่อนใครอื่น
***ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางและการดำเนินโครงการปลูกยางล้านไร่ของ ออกไปจากวันที่ 17 ส.ค. 52 เป็นวันที่ 21 ก.ย. 2552 เนื่องจากจำเลยในคดีมาฟังศาลไม่ครบ
สาเหตุเนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก หนึ่งในจำเลย ส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์มายังแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยอ้างว่าป่วยขณะเดินทางไปต่างประเทศและยังพักรักษาตัวอยู่ระหว่าง 5 ก.ค. – 31 ส.ค. 52 จึงขอเลื่อนการฟังคำพิพากษา แต่ศาลเห็นว่านายอดิศัย ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เดินทางไปต่างประเทศ และไม่เคยขอเลื่อนคดีมาก่อนให้ถูกต้อง คำร้องจึงไม่มีน้ำหนัก ถือว่ามีเจตนาหลบหนีจึงให้ออกหมายจับ พร้อมปรับนายประกันตามสัญญาเต็มอัตรา
***การหนีศาลไม่มาฟังคำพิพากษาของนายอดิศัย ทำให้มีการอ่านสัญญาณและคาดหมายกันไปต่างๆ นาๆ ว่า จำเลยในคดีนี้จะรอดพ้นคุกหรือไม่รอด แต่ทั้งหลายทั้งปวงต้องรอฟังชัดๆ จากคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ที่นับถอยหลังในอีก 34 วันข้างหน้า
นายอดิศัย ตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตกล้ายางโดยอยู่ในกลุ่มที่หนึ่ง คือ คณะกรรมการนโยบายและมาตราการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งกลุ่มนี้มีจำเลยที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ คือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะประธาน คชก., นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะกรรมการ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกรรมการ คชก. และนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะกรรมการ คชก.
ข้อหาสำคัญที่คณะกรรมการ คชก. คือ การกระทำความผิดตามมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่า “ผู้ใดเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับ ตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ขณะที่ เนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,157 และ 341 ไปรอฟังศาลอ่านคำพิพากษาก่อนเวลานัด ซ้ำยังยืนยันหนักแน่นมาโดยตลอดว่าจะไม่หนีไปไหน ไม่ว่าผลแห่งคดีจะออกมาเช่นใด
***การกล้ายืนยันหนักแน่นในวันนี้ อาจจะด้วยคาดหมายว่า จะมีจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลไม่ครบถ้วน และต้องเลื่อนออกไปก่อน ดังนั้น ของจริงต้องรอดูกันว่าวันนัดหมายสุดท้ายคือ วันที่ 21 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ลูกผู้ชายชื่อ “เนวิน” จะยังเดินทางมาฟังศาลพิพากษาคดีซึ่งจะมีผลสะท้อนไปถึงอนาคตในทางการเมืองด้วยหรือไม่
***ใช้อำนาจเพื่อพวกพ้องประเทศล่มจม
หากย้อนกลับไปดูสำนวนคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แล้ว จะพบว่า จำเลยในกลุ่มนักการเมืองข้างต้นที่เป็นคณะกรรมการ คชก. และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นี่เองที่ตกเป็นจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในเชิงนโยบาย คือ การออกกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ หลีกเลี่ยงกฎหมาย และยกเว้นมติคชก.เพื่อนำเงินกองทุนออกมาใช้โดยไม่ชอบ นอกจากนั้น ยังใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือพวกพ้อง
บรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตกรรมการ คตส. เขียนไว้ใน “การทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน” ในหนังสือปัจฉิมบท คตส. ตอนหนึ่งว่า “.... การใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้องของตน ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากแต่เรียกว่าเป็นการบิดเบือนการใช้อำนาจ (ubuse of power) ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความชอบธรรมของรัฐบาลในการใช้อำนาจมหาชนแทนประชาชนโดยรวม”
และ “.....การใช้อำนาจรัฐที่เป็นการใช้อำนาจทางการเมืองระดับสูงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง ย่อมปราศจากความชอบธรรมใดๆ และการกระทำนั้นย่อมไม่ผูกพันต่อรัฐ.... ส่วนคำว่าพวกพ้องนั้นแสดงนัยถึงการมีผลประโยชน์เกี่ยวโยงกันทางใดทางหนึ่งหรืออย่างใดอย่างหนึ่งกับกลุ่มบุคคลในทางการเมืองหรือบุคคลอื่น ....”
****อดีตกรรมการ คตส. ยังมองว่า “....หากสังคมไทยยังคงยึดถืออำนาจทางเงินตราเป็นหลัก ประเทศไทยคงไม่มีอนาคต ตราบใดที่ใครมีอำนาจ ใครกุมอำนาจ ใครมีเงินตรานั้นคือความถูกต้อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้ หากประชาธิปไตยยังคงเป็นต้นทุนทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองที่ไม่มีจิตสำนึกต่อประเทศชาติ การทุจริตคอร์รัปชั่นทางการเมืองเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สุดของการคอร์รัปชั่นทั้งหมด....”
***ปูนบำเหน็จข้าราชการขี้ฉ้อ
โครงการจัดซื้อต้นกล้ายางและปลูกยางล้านไร่ ไม่เพียงพรรคไทยรักไทยโดยฝีมือ เนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรฯ ในขณะนั้นเท่านั้นที่โกยคะแนนเสียงไปก่อนที่จะเห็นความเสียหายตามมาภายหลัง ในส่วนของข้าราชการก็ดูเหมือนว่าจะเจริญก้าวหน้าในการงานอย่างรวดเร็ว แถมได้รับการอุ้มชูอย่างต่อเนื่องแม้ว่า เนวิน จะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองก็ตาม
ตัวอย่าง ฉกรรรจ์ แสงรักษาวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในปัจจุบัน อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หนึ่งในจำเลยคดีทุจริตกล้ายาง ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของเนวิน และเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้โครงการจัดซื้อกล้ายางฯ เป็นรูปเป็นร่าง รวมถึงการประมูลที่เครือซีพีกำชัยชนะ
เวลานี้ ฉกรรจ์ ได้รับการผลักดันให้เข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ทั้งประธานบอร์ดการประปานครหลวง (กปน.), การทางพิเศษฯ, โรงงานยาสูบ และบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)
บทบาทของ ฉกรรจ์ สำหรับโครงการจัดซื้อกล้ายางฯ ไม่เพียงแต่เป็นมือขวานักการเมืองเท่านั้น แต่เขายังทำหน้าที่ได้น่าประทับใจบริษัทยักษ์ใหญ่เกษตรยิ่งนัก ดังเช่นเมื่อโครงการนี้ฉาวโฉ่ขึ้นมาหลังเครือซีพีส่งกล้ายางด้อยคุณภาพและส่งมอบต้นกล้าให้เกษตรกรไม่ทันตามสัญญา ฉกรรจ์ ก็พลิกบทบาท ปกป้องเครือซีพีอย่างเห็นได้ชัด
ช่วงนั้น ฉกรรจ์ กับ สมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถมยังนั่งเป็นบอร์ดการรถไฟฯ ด้วย) และลูกน้อง 4 ทหารเสือข้างกายเนวิน ทำหน้าที่โฆษกร่วมแถลงข่าวแก้ต่างให้แก่กันและกันอย่างสุดลิ่ม ในที่สุดผลสอบจากกระทรวงเกษตรฯ ก็ออกมาว่าเจ้าหน้าที่รับมอบกล้ายางจากซีพีมีความบกพร่องแต่ไม่ผิด เพราะภาระงานมากเกินกว่าจะดูแลได้ทั่วถึง
ไม่เพียงแต่ ฉกรรจ์ เท่านั้น ที่ได้ดิบได้ดี คณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ขณะนั้น (ปี 2546) เช่น จิรากรณ์ โกศัยเสวี ซึ่งเป็นเพียงผอ.กองเจ้าหน้าที่ เมื่อปี 2546 ก็ก้าวพรวดๆ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ในปี 2547 และรองอธิบดีกรมวิชาการฯ ในปี 2548 จนถึงปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการประกวดราคาและคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเลขานุการกรมฯ เมื่อปี 2546 ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาเขต 5 มิหนำซ้ำ ยังมีข่าวว่า ถ้าหลุดคดีนี้จะได้ขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรอีกต่างหาก
ส่วนนายจำนงค์ คงสิน ขณะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ดำรงตำแหน่งผอ.ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาง ระดับ 9 ทั้งที่เป็นคนละสายงานกัน เป็นรางวัลก่อนที่เกษียนอายุราชการไป
หากพิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า กลุ่มข้าราชการซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีนี้ต่างได้ดีกันถ้วนหน้า
ขณะที่ฟากเอกชน คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในยุคคมช.มีท่าทีขึงขังจากรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ว่าจะต้องถูกขึ้น “แบล็กลิสต์” เพราะสร้างความเสียหายให้รัฐ แต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป
มิหนำซ้ำจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการติดตามว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐเพราะส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าหมายโดยต่ำกว่าเป้าถึง 2 แสนกว่าไร่ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้หลายสิบล้านในแต่ละปีนับจากปี 2557 ที่เปิดกรีดเป็นต้นไปนั้น จะดำเนินการอย่างไรกับบริษัทยักษ์ใหญ่เกษตร ซึ่งเพิ่งเคยติดบ่วงคดีเป็นครั้งแรก
ในที่สุด จำเลยในคดีทุจริตกล้ายางก็เบี้ยวไม่มาฟังคำพิพากษาให้ครบถ้วนทั้ง 44 คนตามคาดหมาย การยื้อเวลาออกไปเท่ากับต่อลมหายใจให้ชีวิตมีอิสระอีกนิดหนึ่ง แต่คนที่ทำให้เพื่อนพ้องรอดอีกเฮือกกลับต้องเอาตัวเองไปเสี่ยงคุกเสี่ยงตารางก่อนใครอื่น
***ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางและการดำเนินโครงการปลูกยางล้านไร่ของ ออกไปจากวันที่ 17 ส.ค. 52 เป็นวันที่ 21 ก.ย. 2552 เนื่องจากจำเลยในคดีมาฟังศาลไม่ครบ
สาเหตุเนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก หนึ่งในจำเลย ส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์มายังแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยอ้างว่าป่วยขณะเดินทางไปต่างประเทศและยังพักรักษาตัวอยู่ระหว่าง 5 ก.ค. – 31 ส.ค. 52 จึงขอเลื่อนการฟังคำพิพากษา แต่ศาลเห็นว่านายอดิศัย ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เดินทางไปต่างประเทศ และไม่เคยขอเลื่อนคดีมาก่อนให้ถูกต้อง คำร้องจึงไม่มีน้ำหนัก ถือว่ามีเจตนาหลบหนีจึงให้ออกหมายจับ พร้อมปรับนายประกันตามสัญญาเต็มอัตรา
***การหนีศาลไม่มาฟังคำพิพากษาของนายอดิศัย ทำให้มีการอ่านสัญญาณและคาดหมายกันไปต่างๆ นาๆ ว่า จำเลยในคดีนี้จะรอดพ้นคุกหรือไม่รอด แต่ทั้งหลายทั้งปวงต้องรอฟังชัดๆ จากคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ที่นับถอยหลังในอีก 34 วันข้างหน้า
นายอดิศัย ตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตกล้ายางโดยอยู่ในกลุ่มที่หนึ่ง คือ คณะกรรมการนโยบายและมาตราการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งกลุ่มนี้มีจำเลยที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ คือ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะประธาน คชก., นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะกรรมการ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกรรมการ คชก. และนายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะกรรมการ คชก.
ข้อหาสำคัญที่คณะกรรมการ คชก. คือ การกระทำความผิดตามมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ที่ระบุว่า “ผู้ใดเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับ ตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ขณะที่ เนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวงเกษตรฯ ซึ่งตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,157 และ 341 ไปรอฟังศาลอ่านคำพิพากษาก่อนเวลานัด ซ้ำยังยืนยันหนักแน่นมาโดยตลอดว่าจะไม่หนีไปไหน ไม่ว่าผลแห่งคดีจะออกมาเช่นใด
***การกล้ายืนยันหนักแน่นในวันนี้ อาจจะด้วยคาดหมายว่า จะมีจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลไม่ครบถ้วน และต้องเลื่อนออกไปก่อน ดังนั้น ของจริงต้องรอดูกันว่าวันนัดหมายสุดท้ายคือ วันที่ 21 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ลูกผู้ชายชื่อ “เนวิน” จะยังเดินทางมาฟังศาลพิพากษาคดีซึ่งจะมีผลสะท้อนไปถึงอนาคตในทางการเมืองด้วยหรือไม่
***ใช้อำนาจเพื่อพวกพ้องประเทศล่มจม
หากย้อนกลับไปดูสำนวนคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แล้ว จะพบว่า จำเลยในกลุ่มนักการเมืองข้างต้นที่เป็นคณะกรรมการ คชก. และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นี่เองที่ตกเป็นจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในเชิงนโยบาย คือ การออกกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ หลีกเลี่ยงกฎหมาย และยกเว้นมติคชก.เพื่อนำเงินกองทุนออกมาใช้โดยไม่ชอบ นอกจากนั้น ยังใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือพวกพ้อง
บรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตกรรมการ คตส. เขียนไว้ใน “การทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน” ในหนังสือปัจฉิมบท คตส. ตอนหนึ่งว่า “.... การใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตนหรือพวกพ้องของตน ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากแต่เรียกว่าเป็นการบิดเบือนการใช้อำนาจ (ubuse of power) ซึ่งจะนำไปสู่การสูญเสียความชอบธรรมของรัฐบาลในการใช้อำนาจมหาชนแทนประชาชนโดยรวม”
และ “.....การใช้อำนาจรัฐที่เป็นการใช้อำนาจทางการเมืองระดับสูงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง ย่อมปราศจากความชอบธรรมใดๆ และการกระทำนั้นย่อมไม่ผูกพันต่อรัฐ.... ส่วนคำว่าพวกพ้องนั้นแสดงนัยถึงการมีผลประโยชน์เกี่ยวโยงกันทางใดทางหนึ่งหรืออย่างใดอย่างหนึ่งกับกลุ่มบุคคลในทางการเมืองหรือบุคคลอื่น ....”
****อดีตกรรมการ คตส. ยังมองว่า “....หากสังคมไทยยังคงยึดถืออำนาจทางเงินตราเป็นหลัก ประเทศไทยคงไม่มีอนาคต ตราบใดที่ใครมีอำนาจ ใครกุมอำนาจ ใครมีเงินตรานั้นคือความถูกต้อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้ หากประชาธิปไตยยังคงเป็นต้นทุนทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองที่ไม่มีจิตสำนึกต่อประเทศชาติ การทุจริตคอร์รัปชั่นทางการเมืองเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สุดของการคอร์รัปชั่นทั้งหมด....”
***ปูนบำเหน็จข้าราชการขี้ฉ้อ
โครงการจัดซื้อต้นกล้ายางและปลูกยางล้านไร่ ไม่เพียงพรรคไทยรักไทยโดยฝีมือ เนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรฯ ในขณะนั้นเท่านั้นที่โกยคะแนนเสียงไปก่อนที่จะเห็นความเสียหายตามมาภายหลัง ในส่วนของข้าราชการก็ดูเหมือนว่าจะเจริญก้าวหน้าในการงานอย่างรวดเร็ว แถมได้รับการอุ้มชูอย่างต่อเนื่องแม้ว่า เนวิน จะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองก็ตาม
ตัวอย่าง ฉกรรรจ์ แสงรักษาวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในปัจจุบัน อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หนึ่งในจำเลยคดีทุจริตกล้ายาง ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “มือขวา” ของเนวิน และเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้โครงการจัดซื้อกล้ายางฯ เป็นรูปเป็นร่าง รวมถึงการประมูลที่เครือซีพีกำชัยชนะ
เวลานี้ ฉกรรจ์ ได้รับการผลักดันให้เข้าไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ทั้งประธานบอร์ดการประปานครหลวง (กปน.), การทางพิเศษฯ, โรงงานยาสูบ และบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.)
บทบาทของ ฉกรรจ์ สำหรับโครงการจัดซื้อกล้ายางฯ ไม่เพียงแต่เป็นมือขวานักการเมืองเท่านั้น แต่เขายังทำหน้าที่ได้น่าประทับใจบริษัทยักษ์ใหญ่เกษตรยิ่งนัก ดังเช่นเมื่อโครงการนี้ฉาวโฉ่ขึ้นมาหลังเครือซีพีส่งกล้ายางด้อยคุณภาพและส่งมอบต้นกล้าให้เกษตรกรไม่ทันตามสัญญา ฉกรรจ์ ก็พลิกบทบาท ปกป้องเครือซีพีอย่างเห็นได้ชัด
ช่วงนั้น ฉกรรจ์ กับ สมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร แถมยังนั่งเป็นบอร์ดการรถไฟฯ ด้วย) และลูกน้อง 4 ทหารเสือข้างกายเนวิน ทำหน้าที่โฆษกร่วมแถลงข่าวแก้ต่างให้แก่กันและกันอย่างสุดลิ่ม ในที่สุดผลสอบจากกระทรวงเกษตรฯ ก็ออกมาว่าเจ้าหน้าที่รับมอบกล้ายางจากซีพีมีความบกพร่องแต่ไม่ผิด เพราะภาระงานมากเกินกว่าจะดูแลได้ทั่วถึง
ไม่เพียงแต่ ฉกรรจ์ เท่านั้น ที่ได้ดิบได้ดี คณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ขณะนั้น (ปี 2546) เช่น จิรากรณ์ โกศัยเสวี ซึ่งเป็นเพียงผอ.กองเจ้าหน้าที่ เมื่อปี 2546 ก็ก้าวพรวดๆ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ในปี 2547 และรองอธิบดีกรมวิชาการฯ ในปี 2548 จนถึงปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการประกวดราคาและคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเลขานุการกรมฯ เมื่อปี 2546 ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาเขต 5 มิหนำซ้ำ ยังมีข่าวว่า ถ้าหลุดคดีนี้จะได้ขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรอีกต่างหาก
ส่วนนายจำนงค์ คงสิน ขณะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ดำรงตำแหน่งผอ.ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาง ระดับ 9 ทั้งที่เป็นคนละสายงานกัน เป็นรางวัลก่อนที่เกษียนอายุราชการไป
หากพิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า กลุ่มข้าราชการซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีนี้ต่างได้ดีกันถ้วนหน้า
ขณะที่ฟากเอกชน คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในยุคคมช.มีท่าทีขึงขังจากรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ว่าจะต้องถูกขึ้น “แบล็กลิสต์” เพราะสร้างความเสียหายให้รัฐ แต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไป
มิหนำซ้ำจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการติดตามว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐเพราะส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าหมายโดยต่ำกว่าเป้าถึง 2 แสนกว่าไร่ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้หลายสิบล้านในแต่ละปีนับจากปี 2557 ที่เปิดกรีดเป็นต้นไปนั้น จะดำเนินการอย่างไรกับบริษัทยักษ์ใหญ่เกษตร ซึ่งเพิ่งเคยติดบ่วงคดีเป็นครั้งแรก