xs
xsm
sm
md
lg

Easy Learn Music แอปเรียนดนตรีออนไลน์ฟรี เข้าถึงง่าย ทุกที่ทุกเวลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อีซี่เลิร์น มิวสิค แอพพลิเคชั่น ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยบริษัท GBY Digital Tech CO.,LTD.กลุ่ม Start up คนไทย 100 % โดยมีคุณศรีจันทร์ จริงจิตร ผู้หญิงแกร่งเป็นประธานบริษัทมีเภสัชกรหญิงเสาวภา ก้าวสมบูรณ์ และ คุณโกสินทร์ จริงจิตร เป็นบอร์ดบริหาร และมีนายสุทธิพงศ์ ฉายากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหัวหน้าทีมเขียนหลักสูตร และเป็น GM ของบริษัทนายรณกร พรพชรวรรณ ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการสอนดนตรีและการสร้างหลักสูตรดนตรีสำหรับโรงเรียนในระบบเป็นที่ปรึกษาอาวุโสนายสุกิจ วงศ์จิตสุขเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านการอำนวยเพลง ทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด และให้คำปรึกษา พร้อมทั้งทีมงานโปรแกรมเมอร์ รวมถึงทีมพัฒนาคอนเทนต์ต่าง ๆอีกกว่า 20 ชีวิต

อีซี่เลิร์น มิวสิค แอพพลิเคชั่นเป็นแอพพลิเคชั่นที่ถูกคิดขึ้นมาด้วยหลักการง่าย ๆคือ “เยาวชนทุกคนในประเทศไทย ต้องได้เรียนดนตรีกับครูดนตรีมาตรฐานระดับโลก” เมื่อแนวคิดนี้ถูกขยายออกไป จึงมีคำถามต่าง ๆตามมาอีกมากมายเช่น
1.อยากเรียนกับครูระดับโลก แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายจะทำอย่างไร?
2.จะส่งคอนเทนต์ต่าง ๆของการเรียนดนตรีไปให้ถึงทุกมุมของประเทศไทยได้อย่างไร?
3.นักเรียนที่เรียนแล้วอยากมีโน้ตประกอบบทเรียนต้องทำอย่างไร? จะหาได้ที่ไหน?
4.นักเรียนที่อ่านโน้ตไม่ได้ แต่อยากเรียนดนตรีจะทำอย่างไร?
5.เล่นได้บ้างแล้ว แต่ไม่มีวงเล่นด้วย จะทำอย่างไรถึงจะได้เล่นกับวงดนตรีจริง ๆ
6.อยากเล่นเครื่องเป่าแบบถูกวิธีตั้งแต่การหายใจ การยืน การนั่ง การใช้รูปปากที่ถูกต้อง จะทำอย่างไร?
7.อยากได้โน้ตเพลงฮิต แต่ราคาในตลาดตกเพลงละ 200-300 บาท นักเรียนไม่มีเงินซื้อจะทำอย่างไร?
8.อยากได้โน้ตสำหรับวงออเคสตร้าไว้ใช้บรรเลงในโรงเรียนแบบถูกลิขสิทธิ์ แต่ไม่มีเงินซื้อ เนื่องจากเพลงออเคสตร้าแบบถูกลิขสิทธิ์สำหรับใช้ในโรงเรียนเพลงละ 5,000 - 30,000 บาท ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีงบประมาณเพียงพอจะทำอย่างไร?
9.โรงเรียนอยากสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนและเล่นดนตรี แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเล่นได้จริง?
10.ฯลฯ


ซึ่งคำถามเหล่านี้..นำไปสู่การพัฒนาแอพพลิเคชั่น อีซี่เลิร์น ให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการ  โดยนายรณกร พรพชรวรรณ หัวหน้าโปรเจคและเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของบริษัท GBY ได้กลั่นกรองและกำหนดโซลูชั่นต่าง ๆขึ้นมา และมอบโจทย์นี้ให้ทีมโปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาต่อ เพื่อจะตอบโจทย์ได้ครอบคลุม ทั้งมุมของนักเรียน มุมของผู้สนใจในดนตรีซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และตอบโจทย์ในมุมของโรงเรียน ซึ่งเมื่อพัฒนาขึ้นมาเป็นแอพพลิเคชั่นแล้ว จะมีฟังก์ชั่นต่าง ๆ ดังนี้

1.เปียโน (Piano)
เป็นฟังก์ชั่นของผู้ที่มีความประสงค์จะเล่นเปียโนให้ได้ระดับมืออาชีพ โดยสอนตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงระดับแอดวานซ์ แบ่งออกเป็นจำนวน 24 เกรด แต่ละเกรดจะมี 16 Exercise และ 1 Exam ผู้เรียนจะต้องบรรเลงเปียโนตามครูผู้สอนในวีดีโอ หากผู้เล่นมีการเชื่อมต่อแอพ ฯ เข้ากับระบบ Midi ของเปียโน จะทำให้ผู้เล่นได้ทราบคะแนนที่เล่นในแต่ละรอบด้วย

2.เพลงฮิต (Hit Song)
เป็นฟังก์ชั่นของการสอนบรรเลงเพลงฮิตด้วย กีต้าร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด แต่ละวีดีโอมีครูผู้สอนบรรเลงให้ดู พร้อมโน้ตสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้ดาวน์โหลดฟรี โดยผู้เรียนสามารถเลื่อนเครื่องมือให้วีดีโอช้าลงได้ เพื่อจะเล่นตามได้อย่างถูกต้อง หากเพลงไหนมีเทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีนั้นในระดับสูง ครูผู้สอนจะสร้างคลิปแนะนำเทคนิคอย่างละเอียดใต้คลิปสอนโดยจะเป็นหัวข้อ Tips & Trick และมีไอคอนให้โหลด Note / Tab สำหรับเครื่องดนตรีนั้น ๆ

3.วงโยธวาทิต (Marching Band)
เป็นฟังก์ชั่นในการสอนบรรเลงเพลงพิธีประจำโรงเรียน โดยสอนทั้ง 9 เครื่องดนตรีคือ
1.Flute2.Clarinet3.Saxophone Alto/Tenor4.Trumpet5.Trombone6.Euphonium7.Horn8.Tuba9.Percussion โดยอาจารย์ผู้สอนแต่ละเครื่องมือ ล้วนเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญระดับประเทศ จบการศึกษาด้านดนตรีจากต่างประเทศ มีประสบการณ์ในการเล่นดนตรีอาชีพกับวงออเคสตร้าระดับโลก และปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหิดล จุฬา ศิลปากร รังสิต ฯลฯและในคลิปจะมีไอคอนให้โหลด Note สำหรับเครื่องดนตรีนั้น ๆ

4.แบคกิ้งแทรค (Backing Track)
เป็นฟังก์ชั่นในการเป็นเครื่องมือ “วงดนตรีประกอบ” ให้กับผู้เรียนในหมวดHit Song /Symphony
Orchestra / Concert Bandเนื่องจากมี “คาราโอเกะ” สำหรับเครื่องดนตรี เช่นเมื่อผู้เรียนฝึกซ้อมกีต้าร์จนสามารถบรรเลงเพลง Back in Black ของศิลปินวง AC/DC จนคล่อง ผู้เรียนสามารถเปิดฟังก์ชั่นแบคกิ้งแทรค และเลือกเพลงนี้ขึ้นมา พร้อมทั้งกด Mute ไลน์กีต้าร์ เมื่อผู้เรียนกด Play จะมีซาวด์เพลงขึ้นมาครบทุกเครื่องดนตรี ไม่มีเพียงเสียงกีต้าร์ ซึ่งผู้เรียนจะต้องบรรเลงกีต้าร์เข้าไปแทน จะก่อให้เกิดทักษะต่อผู้เรียนอย่างมาก เปรียบเสมือนได้ซ้อมกับวงดนตรีจริง ๆ

5. แซก โซไซตี้ (Sax society)
เป็นฟังก์ชั่นสำหรับเรียนรู้วิธีการบรรเลงแซกโซโฟนในหลากหลายมิติ อาทิเช่น
- การบรรเลงในแนวป๊อบ หรือแจ๊ส
- เทคนิคการอิมโพรไวเซชั่นในแบบต่าง ๆ
- การบรรเลงด้วยวิธีการคิดแบบคีย์หลัก (Key Center Approach)
- บรรเลงด้วยเทคนิคแบบเน้นใช้กลุ่มโน้ตให้สัมพันธ์กับคอร์ดในทุก ๆ คอร์ด มากกว่ามองความสัมพันธ์ของคีย์หลัก (Outline Chord Changes)
- เทคนิคสร้างทำนองเพลงซ้อนทับลงไปบนคอร์ด (Superimposed) ฯลฯ
ซึ่งอำนวยการสอนโดย อาจารย์โก้ แซกแมน มือแซกโซโฟนแถวหน้าของเอเชีย และอาจารย์แซกโซโฟนมืออาชีพท่านอื่น ๆ

6. Lead Sheet
เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการดาวน์โหลดโน้ตเพลงฮิต ที่จะมีทั้ง Melody Chord และเนื้อร้อง ซึ่งจะเหมาะสำหรับนักดนตรีที่เล่นได้บ้างแล้ว โดยจะมีเพลงใหม่เดือนละ 100 เพลงฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในเดือนสิงหาคม 2564 นี้

7.Symphony Orchestra
เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการดาวน์โหลดโน้ตเพลงสำหรับวงออเคสตร้า ที่จะมีทั้งFull Score โน้ตเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น และMP4 สำหรับฟังเพลง มีระบบแบคกิ้งแทรค เพื่อให้นักเรียนได้ตัดไลน์โน้ตของตนเองออก และร่วมบรรเลงไปพร้อมกับวงออเคสตร้า โดยจะเป็นแบคกิ้งแทรคจำนวน 60 แทรค ซึ่งจะเหมาะสำหรับนักดนตรีที่เล่นได้บ้างแล้ว โดยจะมีเพลงใหม่เดือนละ 10 เพลง มีโน้ตแต่ละเครื่องมือรวม ๆแล้ว 600 ชีท ต่อเดือนฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้

8.Concert Band
เป็นฟังก์ชั่น สำหรับการโหลดโน้ตเพลงของวงคอนเสิร์ต แบนด์ โดยจะมีทั้งโน้ตทุกไลน์ โน้ตฟูลสกอร์ และมีระบบแบคกิ้งแทรค ที่สามารถตัดไลน์ต่าง ๆได้อย่างอิสระเสรี เพื่อการซ้อมส่วนตัวที่มีประสิทธิภาพ เปรียบประดุจได้ซ้อมกับวงดนตรีจริง ๆ

9.Chord Tab
เป็นฟังก์ชั่นที่ผลิตมาเพื่อนักดนตรี โดยสามารถเข้าไปจัดเพลย์ลิสต์ของตนเองได้ว่า ในตอนไปเล่นดนตรีจะจัดคิวเพลงไว้กี่เพลง เรียงลำดับเพลงได้ตามใจ สามารถเรียกโน้ต หรือ แทป มาวางไว้ในหน้าเพลย์ลิสต์ได้ สำหรับคนที่ต้องการดูเนื้อและคอร์ดเพลง สามารถกดเปลี่ยนคีย์ได้ตามความต้องการ และหากอยากช่วยแก้คอร์ด หรือจะอเรนจ์คอร์ดใหม่ในแบบของตัวเองก็สามารถทำได้ ที่สำคัญยังสามารถเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ได้ใช้ด้วยฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในปลายปี 2564 นี้ และในอนาคตจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นเปียโนป๊อบ (Popular Piano) /ฟังก์ชั่นเรียนกีต้าร์แจ๊ส (Jazz Guitar) ฯลฯ และในปี 2565 จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาร่วมสร้างคอนเทนต์ได้ตามที่ใจต้องการ และสามารถรับรายได้จากคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ผลิตเข้ามาได้ด้วย

10.Classroom
สำหรับฟังก์ชั่น Classroom ที่มีระบบ School Management นั้นมีรายละเอียดสำหรับโรงเรียนค่อนข้างเยอะ ที่สรุปให้พอได้เห็นภาพคร่าว ๆมีดังนี้

สำหรับระบบสอนดนตรีในชั้นเรียน เมื่อนักเรียนเข้ามาในห้อง นักเรียนจะนั่งตามเลขที่ มีเปียโนไฟฟ้า แทบเล็ต และหูฟัง เป็นอุปกรณ์การเรียน ครูจะเรียกชั้นเรียนเช่น ป.5/3 เข้ามาในระบบโปรแกรม และที่หน้าจอแทบเล็ตนักเรียนทุกคนจะเข้าคลาสของตนโดยอัตโนมัติ เมื่อนักเรียนกดเพลย์ นักเรียนจะได้เรียนสาระแกนกลางของวิชาดนตรี 5 นาที และทำแบบทดสอบ 5 ข้อ โดยคะแนนที่ได้จะถูกเก็บไว้ในระบบ หากแบบทดสอบข้อไหนทำผิด นักเรียนก็จะทราบได้ทันทีว่าตัวเลือกที่ถูกต้องคืออะไร และจะได้เรียนเปียโนอีก 30 นาที ซึ่งใน 30 นาทีนี้ จะมีครูผู้สอนในวีดีโอออกมาสาธิตให้นักเรียนดู และปฏิบัติตาม โดยรวมนักเรียนจะได้เล่นเปียโนแต่ละ Exercise จำนวน 30 รอบ และเมื่อเรียนจบ จะเข้าบททดสอบเปียโนอีก 10 นาทีเพื่อเก็บคะแนน เมื่อนักเรียนทั้งห้องเล่นแบบทดสอบครบถ้วนครูจะทำการกดส่งคะแนน ซึ่งครูจะเห็นคะแนนของผู้ที่ได้ต่ำกว่า 70 % ครูก็จะแจ้งให้นักเรียนมาเรียนซ่อมเสริมอีกครั้งจนกว่าจะผ่านเกณฑ์

ปัจจุบันผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้แล้ว
ระบบ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play
ระบบ ios ดาวน์โหลดได้ที่ App Store 1 สิงหาคม 2564 นี้

“Easy Learn Music เทคโนโลยีการเรียนดนตรีแห่งโลกอนาคต”

                   

                     

                   


(advertorial)


กำลังโหลดความคิดเห็น