ศูนย์ข่าวภาคใต้ - เปิดงานวิจัยผลงาน “นาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ” ผู้ล่วงลับ ทำวิจัยหัวข้อ “ปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านการบินของนักบินฝูงบิน 411 กองบิน 41 เผยปัจจัยเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดอุบัติเหตุทางการบินมาจากปัจจัยที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและอากาศยาน แต่อ่านได้เฉพาะบทคัดย่อ ส่วนลิงค์ถาวรแบบสาธารณะกลับไม่สามารถเข้าอ่านได้ ต้องมีล็อคอินของหอวิทยานิพนธ์ มช.ถึงจะเข้าอ่านและดาวน์โหลดฉบับเต็มได้
วันนี้ (23 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีอุบัติเหตุเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39 ZA/ART) ประสบอุบัติเหตุตกลงบริเวณสนามกอล์ฟ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก ขณะที่พยายามขึ้นบินเพื่อไปสมทบกับฝูงบินกองบิน 41 เชียงใหม่ โดยนาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ ผู้ขับ เสียชีวิต ส่วนนักบินอีก 1 รายคือนาวาอากาศเอก จีรศักดิ์ นามวงษ์ศรี อายุ 42 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส
โดยจากประวัติพบว่านาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ พื้นเพเป็นชาว ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา และมีชื่อเล่นว่า “บิน” โดยนอกจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรั้วของชาติในสังกัดกองทัพอากาศไทยแล้ว MGR Online ภาคใต้ สืบค้นพบว่านาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ ยังมีผลงานการวิจัยที่น่าสนใจในหัวข้อ
“ปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านการบินของนักบินฝูงบิน 411 กองบิน 41" (Risk Factors and Risk Assessment in the Field of Aviation of 411 Squadron Wing 41 Pilots) จัดอยู่ในหมวดการค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยมีรายละเอียดในบทคัดย่อระบุถึงการศึกษาวิจัยนี้ว่าเป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการทำงานของนักบิน ฝูงบิน 411 กองบิน 41 รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำการบินของนักบิน ฝูงบิน 411 กองบิน 41 ประชากรได้แก่ นักบินฝูงบิน 411 กองบิน 41 ซึ่งทำการบินในช่วงวงรอบการฝึกที่ 1 ของปี พ.ศ. 2555 (1 ตุลาคม 2554 - 31 มีนาคม 2555)
โดยมีนักบินทั้งหมด 25 คน จากการศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการทำงานด้านการบินของนักบินฝูงบิน 411 กองบิน 41 จำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยที่เกิดจากตัวนักบินเอง 2) ปัจจัยที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและอากาศยาน 3) ปัจจัยด้านการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและระบบสนับสนุนต่าง ๆ ในที่ทำงาน 4) ปัจจัยด้านการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและมนุษย์ที่เกี่ยวข้องคนอื่น และ 5) ปัจจัยด้านการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินกับสิ่งแวดล้อม
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับตัวนักบิน และรวบรวมข้อมูลการบิน รายละเอียดข้อขัดข้องของอากาศยาน ข้อมูลของสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศที่ทำการบิน จากเอกสารที่มีการบันทึกไว้ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินความเสี่ยง
พบว่า ปัจจัยที่มีค่าระดับความเสี่ยงสูงที่สุดได้แก่ ปัจจัยที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและอากาศยาน รองลงมาคือปัจจัยด้านการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่เกิดจากตัวนักบินเอง ปัจจัยการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและระบบสนับสนุนต่าง ๆ ในที่ทำงาน และปัจจัยการทำงานร่วมกันระหว่างนักบินและมนุษย์ที่เกี่ยวข้องคนอื่น ตามลำดับ
ทั้งนี้งานวิจัยของนาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงในการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการอุปกรณ์ของพนักงานบริการลานจอด ในเขตพืน้ ท่ีลานจอดอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง” โดย ณุฐิพงศ์ สนส่ง และเสกสรรค์ สุทธิสงค์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
โดยมีการอ้างอิงถึงทฤษฎีโดมิโน (domino theory) ที่นาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ ให้ความสำคัญในงานวิจัยซึ่งกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านการบินไว้ว่า การเกิดอุบัติเหตุสามารถเชื่อมโยงได้กับปรัชญาความปลอดภัยของ Heinrich เก่ียวกับสาเหตุของอุบัติเหตุ ได้ Heinrich (NPC Safety and Environmental Service, 2011) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้พัฒนามาจากหลักความเป็นจริงที่เก่ียวข้องกับความปลอดภัยในอตุสาหกรรม ซึ่งต่อมาได้ยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการป้องกันอุบัติเหตุ ในวงการอุตสาหกรรม”
โดยมีหลักการสำคัญคือการเรียงลำดับการประสบอันตรายเป็นขั้นตอน ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ที่ทำให้ขั้นตอนท่ีหน่ึงเกิดข้ึนก็จะส่งผลกระทบ ไปยังขั้นตอนอื่นๆตามลำดับจนถึงขั้นสุดท้ายก็คือการบาดเจ็บ องค์ประกอบต่างๆ ในขั้นตอนตามทฤษฎีโดมิโน สามารถอธิบายได้ตามลำดับดังน้ี
ลำดับท่ี 1 บรรพบุรุษและสิ่งแวดล้อมทางสังคม (ancestryandsocialenvironment)สิ่งแวดล้อมและการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีต ทำให้แต่ละบุคคลมีพฤติกรรมท่ีแสดงออกมา ต่างๆกันเช่นความสะเพร่าประมาทเลินเล่อขาดความ คิดไตร่ตรองความดื้อดึง ความชอบในการเสี่ยงอันตราย ความตระหนี่เหนียวแน่น เห็นแต่เงินและลักษณะอื่นๆ ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เป็นต้น
ลำดับที่ 2 ความผิดปกติของบุคคล (fault of person)สุขภาพจิตและส่ิงแวดล้อมทางสังคมเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิด ปกติของบุคคล เช่น การปฏิบัติงานโดย ขาดความยั้งคิดอารมณ์รุนแรงประสาทอ่อนไหวง่ายความ ตื่นเต้น ขาดความรอบคอบเพิกเฉยละเลยต่อการกระทำท่ี ปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติเหล่าน้ีส่งผล กระทบ ให้เกิดการกระทา ไม่ปลอดภัย และทำให้เครื่องจักรและ การทำงานต้องอยู่ในสภาพหรือในสภาวะที่เป็นอันตราย
ลำดับที่ 3 การกระทำที่ไม่ปลอดภัยและ/หรือ สภาพเครื่องจักรหรือสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย (unsafe act mechanical or physical hazard) ตัวอย่างการ ปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยของบุคคล เช่น ยืนทำงานภาย ใต้น้ำหนักท่ีแขวนอยู่การติดเครื่องยนต์โดยไม่แจ้ง หรือ เตือนชอบหยอกล้อ เล่นถอดเซฟการ์ดของเครื่องจักรออก เป็นต้น ตัวอย่างสภาพเครื่องจักรหรือสภาวะสิ่งแวดล้อม ที่เป็นอันตราย เช่น ขาดเครื่องป้องกันจุดอันตรายหรือ จุดท่ีมีการเคลื่อนท่ีไม่มีร้ัวกั้นเสียงดังเกินไปแสงสว่าง ไม่เพียงพอการระบายอากาศไม่ดี เป็นต้น สิ่งท่ีเกิดจากการกระทำท่ีไม่ปลอดภัยและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย จะเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ลำดับท่ี 4 การเกิดอุบัติเหตุ (accident) เหตุการณ์ท่ี มีสาเหตุปัจจัยทั้ง 3 ลำดับมาแล้วย่อมส่งผลให้เกิดอุบัติการ เช่น ตกจากท่ีสูง ลื่นหกล้ม เดินสะดุด สิ่งของหล่นจาก ที่สูง วัตถุกระเด็นใส่ ถูกวัตถุวิ่งชน กระแทก หนีบ หรือ ตัด เป็นต้น ซึ่งอุบัติการณ์เหล่าน้ีอาจจะเป็นสาเหตุของ การบาดเจ็บ
ลำดับที่ 5 การบาดเจ็บ (injury) ตัวอย่างการบาด เจ็บที่เกิดกับอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น กระดูกหักหรือแตกเคล็ดขัดยอกแผลฉีกขาดแผลไฟไหม้เป็นต้น การบาดเจ็บเหล่าน้ีเป็นผลโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโน
การที่จะป้องกัน บุคคลไม่ให้ประสบกับอันตรายจนทำใหเ้กิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตนั้น สามารถทำได้โดยการควบคุม (control) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการขจัดการกระทำท่ีไม่ปลอดภัยและสภาพท่ีไม่ปลอดภัย (ลำดับท่ี 3) นั้นคือ ดึงโดมิโน ตัวกลางออกไป ก็จะทำให้ผลขององค์ประกอบเบื้องต้นไม่มี ผลกระทบต่อองค์ประกอบหลักๆ ดังนั้นอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บก็จะไม่เกิดข้ึน
อย่างไรก็ตามพบว่าลิงค์ถาวรของงานวิจัยหัวข้อ “ปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านการบินของนักบินฝูงบิน 411 กองบิน 41 ของนาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ ที่เผยแพร่สาธารณะไม่สามารถใช้การได้ในขณะนี้ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเชื่อมโยงกับการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้นาวาอากาศตรี เกริกเกียรติ สุวรรณโณ เสียชีวิตดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งการจะอ่านรายงานชิ้นนี้อย่างละเอียดจะต้องใช้ยูเซอร์และพาสเวิร์ดล็อคอินเข้าไปอ่านในเว็บไซต์หอวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเข้าไปที่ลิงค์นี้เท่านั้น http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/16944