พังงา - สุดตื่นเต้นอีกแล้ว คลิปนาทีลูกเต่าฟักตัวออกจากไข่ และออกจากหลุมเพื่อดูโลก บนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โดยนับจำนวนลูกเต่าตนุที่ฟักได้ทั้งสิ้น 77 ตัว โดยใช้เวลาในการฟักตัวทั้งสิ้น 55 วัน พบว่า มีอัตราการฟักตัว 71.29% จากไข่ทั้งสิ้น 108 ฟอง

วานนี้ (24 เม.ย.) นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ได้รับรายงานจาก นายศุภเชษฐ์ ชะตาแก้ว นักดำน้ำระดับกู้ภัย ว่า ขณะที่ตนกำลังกวาดใบไม้ใกล้จุดฟักไข่เต่าทะเล ได้สังเกตเห็นว่าหลุมเพาะฟักไข่เต่าทะเลได้เกิดยุบตัว เลยเดินเข้าไปสังเกตดูใกล้ๆ พบว่า ลูกเต่าบางส่วนกำลังคลานขึ้นจากหลุม จึงได้นำคณะเจ้าหน้าที่ไปทำการเก็บลูกเต่าทะเลขึ้นจากหลุม โดยนับจำนวนลูกเต่าตนุที่ฟักได้ทั้งสิ้น 77 ตัว โดยใช้เวลาในการฟักตัวทั้งสิ้น 55 วัน พบว่า มีอัตราการฟักตัว 71.29% จากไข่ทั้งสิ้น 108 ฟอง

ซึ่งลูกเต่าชุดนี้เป็นลูกเต่าที่เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ที่ สล.1 (เกาะเมียง) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สามารถเก็บไข่เต่าได้ จำนวน 108 ฟอง ณ เวลานั้น เจ้าหน้าที่ไม่พบแม่เต่าจึงยังไม่ทราบว่าเป็นเต่าชนิดใดขึ้นมาวางไข่ โดยการขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดเล็กของเกาะเมียง หมู่เกาะสิมิลันในครั้งนั้นเป็นครั้งแรกของปีงบประมาณ 2561 ซึ่งนักวิชาการได้แนะนำว่า ให้นำลูกเต่าอย่างน้อย 50% ปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งลูกเต่าจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตตามธรรมชาติ และเก็บบางส่วนอนุบาลเอาไว้จนกว่าจะมีอายุครบ 8 เดือน ซึ่งจะมีอัตราการเป็นผู้ถูกล่าต่ำกว่า

อย่างไรก็ดี นักวิชาการยังแนะนำให้เจ้าหน้าที่ใช้ช่วงเวลาน้ำนิ่งตอนรุ่งเช้าเป็นช่วงเวลาในการปล่อยลูกเต่า ซึ่งจะปลอดจากการล่าของฉลาม และให้วางลูกเต่าลงบนพื้นทราย ซึ่งลูกเต่าจะหมุนตัวเพื่อจดจำพิกัดของจุดที่ตัวเองเกิด ก่อนจะเดินลงน้ำ และกลับมาวางไข่ ณ จุดเดิม เมื่อร่างกายพร้อมขยายพันธุ์

วานนี้ (24 เม.ย.) นายรวมศิลป์ มานะจงประเสริฐ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ได้รับรายงานจาก นายศุภเชษฐ์ ชะตาแก้ว นักดำน้ำระดับกู้ภัย ว่า ขณะที่ตนกำลังกวาดใบไม้ใกล้จุดฟักไข่เต่าทะเล ได้สังเกตเห็นว่าหลุมเพาะฟักไข่เต่าทะเลได้เกิดยุบตัว เลยเดินเข้าไปสังเกตดูใกล้ๆ พบว่า ลูกเต่าบางส่วนกำลังคลานขึ้นจากหลุม จึงได้นำคณะเจ้าหน้าที่ไปทำการเก็บลูกเต่าทะเลขึ้นจากหลุม โดยนับจำนวนลูกเต่าตนุที่ฟักได้ทั้งสิ้น 77 ตัว โดยใช้เวลาในการฟักตัวทั้งสิ้น 55 วัน พบว่า มีอัตราการฟักตัว 71.29% จากไข่ทั้งสิ้น 108 ฟอง
ซึ่งลูกเต่าชุดนี้เป็นลูกเต่าที่เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ที่ สล.1 (เกาะเมียง) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สามารถเก็บไข่เต่าได้ จำนวน 108 ฟอง ณ เวลานั้น เจ้าหน้าที่ไม่พบแม่เต่าจึงยังไม่ทราบว่าเป็นเต่าชนิดใดขึ้นมาวางไข่ โดยการขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดเล็กของเกาะเมียง หมู่เกาะสิมิลันในครั้งนั้นเป็นครั้งแรกของปีงบประมาณ 2561 ซึ่งนักวิชาการได้แนะนำว่า ให้นำลูกเต่าอย่างน้อย 50% ปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งลูกเต่าจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตตามธรรมชาติ และเก็บบางส่วนอนุบาลเอาไว้จนกว่าจะมีอายุครบ 8 เดือน ซึ่งจะมีอัตราการเป็นผู้ถูกล่าต่ำกว่า
อย่างไรก็ดี นักวิชาการยังแนะนำให้เจ้าหน้าที่ใช้ช่วงเวลาน้ำนิ่งตอนรุ่งเช้าเป็นช่วงเวลาในการปล่อยลูกเต่า ซึ่งจะปลอดจากการล่าของฉลาม และให้วางลูกเต่าลงบนพื้นทราย ซึ่งลูกเต่าจะหมุนตัวเพื่อจดจำพิกัดของจุดที่ตัวเองเกิด ก่อนจะเดินลงน้ำ และกลับมาวางไข่ ณ จุดเดิม เมื่อร่างกายพร้อมขยายพันธุ์