ชุมพร - ชาวประมงชุมพรยื่นหนังสือจี้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ปัญหาความเดือดร้อน หลังเอาใจ EU ออกฎหยุมหยิม ทำปรับตัวไม่ทัน ขู่ไม่สนใจหยุดจับปลาพร้อมกันทั่วประเทศ

วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร ได้มีกลุ่มเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ จากสมาคมชาวประมงเรืออวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร สมาคมชาวประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร ประมาณ 100 คน นำโดย นายสัญญา วัชรโคตระกูล นายกสมาคมอวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร ได้มายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายณรงค์ พลละเอียด ผวจ.ชุมพร

โดยระบุว่า ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ คือ 1.ให้ทบทวนประกาศที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวประมงที่ต้องสุ่มเสี่ยงในการกระทำผิดกฎหมาย คือ เรื่องการจ่ายค่าแรงผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายไม่สมควรจะเกิดขึ้นต่อนายจ้างและแรงงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากในระหว่างเดือนแรงงานมีการเบิกค่าใช้จ่ายล่วงหน้า การจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนเป็นการจ่ายที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากอาชีพประมงต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และได้มีการประกาศจากกรมประมงให้เครื่องมือบางประเภททำประมงได้เพียง 240 วันต่อปี และมีการเคลื่อนย้ายของแรงงานเป็นประจำ การจดบันทึกเวลาพักของแรงงานซึ่งไม่สอดคล้องต่อวิถีการทำประมง

2.ขอให้ชาวประมงมีส่วนร่วมในการทบทวนประกาศคำสั่งกฎกระทรวงที่สร้างเงื่อนไขขัดต่อวิถีประมง และบั่นทอนความมั่นคงในกิจการประมงไทย 3.ขอให้ตรวจสอบประกาศคำสั่งกฎกระทรวงที่ออกมาโดยมิชอบ
4.ขอให้ระงับการออกประกาศคำสั่งกฎกระทรวงใดๆ และในระหว่างการทบทวนประกาศคำสั่ง กฎกระทรวง
5.ขอให้ช่วยเหลือเรื่องการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมงโดยด่วน

นายธำรง พันธุ์เล็ก ที่ปรึกษาสมาคมชาวประมงเรืออวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร กล่าวว่า จากการที่กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศให้ใบเหลืองแก่ไทยจากปัญหา IUU Fishing เพื่อแก้วิกฤตสถานการณ์เร่งด่วน รัฐบาลจึงออกประกาศพระราชบัญญัติการประมงปี พ.ศ.2558 จัดตั้งศูนย์บัญชาการการแก้ไขการทำประมงอย่างผิดกฎหมาย เพื่อปฏิรูปกิจการประมงไทย และต่อมา กรมประมง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้มีการออกประกาศบังคับใช้กฎหมายหลายร้อยฉบับอย่างต่อเนื่อง และเร่งรีบในระยะเวลาอันสั้น โดยมิได้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ประกอบกิจการประมงที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ไม่มีการศึกษา และทดลองความเหมาะสมสอดคล้องในวิถีปฏิบัติของลักษณะการทำประมงไทยแต่อย่างใดทั้งสิ้น

นายธำรง กล่าวต่อว่า การออกกฎหมายที่หยุมหยิมมากเกินนับร้อยฉบับ ทำให้พวกเราเรือประมงปรับตัวไม่ทัน บางเรื่องยากต่อการปฏิบัติ เช่น จ่ายค่าจ้างให้ลูกเรือแรงต่างด้าวทุกคนผ่านบัญชีธนาคาร และให้มีบัตร ATM เพราะแรงงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งพอรับเข้าทำงานแล้วหลบหนี หรือเปลี่ยนไปทำงานอื่น จะหาแรงงานใหม่มาทดแทนก็ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย และยังทำให้ขาดแคลนแรงงานอีกด้วย ตอนนี้ผู้ประกอบการเรือประมงเจ๊งกันเกือบหมดแล้ว และหากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ชาวประมงจากทั่วประเทศไปประชุม และมีมติกันแล้วว่า ในวันที่ 9 เมษายนนี้ จะนำเรือเข้ามาจอดเทียบท่าหยุดทำประมง เพราะออกไปก็สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย และได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องหยุมหยิมของกฎหมายที่ออกมานับร้อยฉบับ
วันนี้ (5 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร ได้มีกลุ่มเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ จากสมาคมชาวประมงเรืออวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร สมาคมชาวประมงร่วมใจปากน้ำชุมพร ประมาณ 100 คน นำโดย นายสัญญา วัชรโคตระกูล นายกสมาคมอวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร ได้มายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายณรงค์ พลละเอียด ผวจ.ชุมพร
โดยระบุว่า ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ คือ 1.ให้ทบทวนประกาศที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวประมงที่ต้องสุ่มเสี่ยงในการกระทำผิดกฎหมาย คือ เรื่องการจ่ายค่าแรงผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายไม่สมควรจะเกิดขึ้นต่อนายจ้างและแรงงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากในระหว่างเดือนแรงงานมีการเบิกค่าใช้จ่ายล่วงหน้า การจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนเป็นการจ่ายที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากอาชีพประมงต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และได้มีการประกาศจากกรมประมงให้เครื่องมือบางประเภททำประมงได้เพียง 240 วันต่อปี และมีการเคลื่อนย้ายของแรงงานเป็นประจำ การจดบันทึกเวลาพักของแรงงานซึ่งไม่สอดคล้องต่อวิถีการทำประมง
2.ขอให้ชาวประมงมีส่วนร่วมในการทบทวนประกาศคำสั่งกฎกระทรวงที่สร้างเงื่อนไขขัดต่อวิถีประมง และบั่นทอนความมั่นคงในกิจการประมงไทย 3.ขอให้ตรวจสอบประกาศคำสั่งกฎกระทรวงที่ออกมาโดยมิชอบ
4.ขอให้ระงับการออกประกาศคำสั่งกฎกระทรวงใดๆ และในระหว่างการทบทวนประกาศคำสั่ง กฎกระทรวง
5.ขอให้ช่วยเหลือเรื่องการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมงโดยด่วน
นายธำรง พันธุ์เล็ก ที่ปรึกษาสมาคมชาวประมงเรืออวนซั้งและเรือร่วมปากน้ำชุมพร กล่าวว่า จากการที่กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศให้ใบเหลืองแก่ไทยจากปัญหา IUU Fishing เพื่อแก้วิกฤตสถานการณ์เร่งด่วน รัฐบาลจึงออกประกาศพระราชบัญญัติการประมงปี พ.ศ.2558 จัดตั้งศูนย์บัญชาการการแก้ไขการทำประมงอย่างผิดกฎหมาย เพื่อปฏิรูปกิจการประมงไทย และต่อมา กรมประมง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้มีการออกประกาศบังคับใช้กฎหมายหลายร้อยฉบับอย่างต่อเนื่อง และเร่งรีบในระยะเวลาอันสั้น โดยมิได้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ประกอบกิจการประมงที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ไม่มีการศึกษา และทดลองความเหมาะสมสอดคล้องในวิถีปฏิบัติของลักษณะการทำประมงไทยแต่อย่างใดทั้งสิ้น
นายธำรง กล่าวต่อว่า การออกกฎหมายที่หยุมหยิมมากเกินนับร้อยฉบับ ทำให้พวกเราเรือประมงปรับตัวไม่ทัน บางเรื่องยากต่อการปฏิบัติ เช่น จ่ายค่าจ้างให้ลูกเรือแรงต่างด้าวทุกคนผ่านบัญชีธนาคาร และให้มีบัตร ATM เพราะแรงงานต่างด้าวจำนวนหนึ่งพอรับเข้าทำงานแล้วหลบหนี หรือเปลี่ยนไปทำงานอื่น จะหาแรงงานใหม่มาทดแทนก็ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย และยังทำให้ขาดแคลนแรงงานอีกด้วย ตอนนี้ผู้ประกอบการเรือประมงเจ๊งกันเกือบหมดแล้ว และหากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล ชาวประมงจากทั่วประเทศไปประชุม และมีมติกันแล้วว่า ในวันที่ 9 เมษายนนี้ จะนำเรือเข้ามาจอดเทียบท่าหยุดทำประมง เพราะออกไปก็สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย และได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องหยุมหยิมของกฎหมายที่ออกมานับร้อยฉบับ