ศูนย์ข่าวภูเก็ต- ดับนานกว่า 6 ชั่วโมง ไฟฟ้าบริเวณอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ สนามบินภูเก็ต ผู้อำนวยการท่าอากาศภูเก็ตแจงเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าลัดวงจร ทำระบบจ่ายไฟฟ้ามีปัญหา ตรวจสอบพบเป็นหม้อแปลงที่ใช้งานมากว่า 30 ปี เร่งของบจัดซื้อใหม่ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ
จากกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าดับภายในอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.)เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 ระหว่างเวลา 17.30-01.30 น. รวมเวลากว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายเพชร ชั้นเจริญ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต ชี้แจงว่า หลังจากได้รับแจ้งทางท่าอากาศยานภูเก็ตได้รีบดำเนินการเข้าตรวจสอบ พบว่า สาเหตุเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 1500kVA ลัดวงจร และมีน้ำมันจากหม้อแปลงรั่วไหลออกจากบริเวณด้านบนของหม้อแปลง เป็นเหตุให้หม้อแปลงชำรุด จึงส่งผลกระทบต่อระบบที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า
หลังจากนั้น ได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น โดยจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ และได้ประสานขอสนับสนุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสงสว่างชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Lighting) ขนาด 250kVA จากฝ่ายดับเพลิง และกู้ภัย (ฝดภ.ทภก.) และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสงสว่างชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Lighting) ขนาด 6kVA ของฝ่ายบำรุงรักษา (ฝบร.ทภก.) เพื่อให้แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน
นอกจากนั้น ขอสนับสนุนอุปกรณ์แสงสว่างจากผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน มาอำนวยความสะดวกบริเวณสายพานรับสัมภาระ พร้อมทั้งได้ทำการสลับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ระบบแสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระ เพื่อให้ระบบต่างๆ สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระบบรักษาความปลอดภัยโดยรอบ และระบบนำร่องอากาศยานบริเวณทางวิ่งแต่อย่างใด แต่พบว่าหม้อแปลงที่เกิดการลัดวงจรมีอายุการใช้งานมาตั้งแต่ปี 2532 โดยท่าอากาศยานภูเก็ตได้ดำเนินการจัดทำงบประมาณเร่งด่วนเพื่อจัดซื้อหม้อแปลงใหม่มาทดแทนของเดิมที่มีอายุการใช้งานนาน และเพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ พร้อมทั้งแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว
ผู้อำนวยการท่าอากาศภูเก็ต กล่าวว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่าอากาศยานภูเก็ตรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องขออภัยต่อความไม่สะดวกดังกล่าว พร้อมทั้งได้เร่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีการนำเรียนผู้บริหารระดับสูงเพื่อทราบถึงการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
จากกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าดับภายในอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.)เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 ระหว่างเวลา 17.30-01.30 น. รวมเวลากว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายเพชร ชั้นเจริญ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต ชี้แจงว่า หลังจากได้รับแจ้งทางท่าอากาศยานภูเก็ตได้รีบดำเนินการเข้าตรวจสอบ พบว่า สาเหตุเกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 1500kVA ลัดวงจร และมีน้ำมันจากหม้อแปลงรั่วไหลออกจากบริเวณด้านบนของหม้อแปลง เป็นเหตุให้หม้อแปลงชำรุด จึงส่งผลกระทบต่อระบบที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า
หลังจากนั้น ได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น โดยจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ และได้ประสานขอสนับสนุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสงสว่างชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Lighting) ขนาด 250kVA จากฝ่ายดับเพลิง และกู้ภัย (ฝดภ.ทภก.) และ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสงสว่างชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Lighting) ขนาด 6kVA ของฝ่ายบำรุงรักษา (ฝบร.ทภก.) เพื่อให้แสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน
นอกจากนั้น ขอสนับสนุนอุปกรณ์แสงสว่างจากผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน มาอำนวยความสะดวกบริเวณสายพานรับสัมภาระ พร้อมทั้งได้ทำการสลับระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ระบบแสงสว่างบริเวณลานจอดอากาศยาน ห้องโถงพักคอยผู้โดยสารขาออก และบริเวณสายพานรับสัมภาระ เพื่อให้ระบบต่างๆ สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระบบรักษาความปลอดภัยโดยรอบ และระบบนำร่องอากาศยานบริเวณทางวิ่งแต่อย่างใด แต่พบว่าหม้อแปลงที่เกิดการลัดวงจรมีอายุการใช้งานมาตั้งแต่ปี 2532 โดยท่าอากาศยานภูเก็ตได้ดำเนินการจัดทำงบประมาณเร่งด่วนเพื่อจัดซื้อหม้อแปลงใหม่มาทดแทนของเดิมที่มีอายุการใช้งานนาน และเพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ พร้อมทั้งแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว
ผู้อำนวยการท่าอากาศภูเก็ต กล่าวว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่าอากาศยานภูเก็ตรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องขออภัยต่อความไม่สะดวกดังกล่าว พร้อมทั้งได้เร่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีการนำเรียนผู้บริหารระดับสูงเพื่อทราบถึงการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป