กระบี่ - ปัดฝุ่น! กฟผ.และบริษัทที่ปรึกษาเตรียมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ฯ -ท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว วันที่ 28 มกราคม 2561 ชวนประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น
กลับมาพลิกฟื้นอีกครั้งโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และและท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว หลังจากที่เงียบหายไปนาน ล่าสุด นายวิมลไชย มงคล หัวหน้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน (หก-ศก.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางรัฐบาลได้สั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชะลอการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนคัดค้าน และไม่เห็นด้วยต่อการทำ EHIA ของโครงการฯ โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่สมบูรณ์ และครบถ้วน ซึ่งในเบื้องต้น ทาง กฟผ.ได้นำข้อมูลทั้งหมดกลับมาพิจารณาทบทวนข้อบกพร่อง และจะเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่อีกครั้ง
นายวิมลไชย กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นหนึ่งในโครงการโรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2555-2573 (PDP 2010) เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอย่างเพียงพอ ต้องพึ่งพาสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลาง ดังนั้น การมีโรงไฟฟ้าในภาคใต้จึงช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และเกิดการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ
นายวิมลไชย กล่าวต่อไปว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะทำการศึกษา EHIA ใหม่ จำนวน 3 ครั้ง โดยจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 1 หรือ ค.1 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น
โดย กฟผ.และบริษัทแอร์เชฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เวลา 13.00-17.00 น.จึงขอเชิญทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในทุกด้านในวันและเวลาดังกล่าว
“การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการต่อเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของภาคใต้ ที่ผ่านมา มีการตั้งคำถาม ว่า ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่กระบี่ขึ้นอีก ก็เนื่องจากจังหวัดกระบี่ เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการโยกย้ายที่อยู่อาศัยของประชาชน และยังเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างระบบส่งไฟฟ้ารองรับอยู่แล้ว และการเดินหน้าโครงการใหม่นี้จะเปลี่ยนชื่อจากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ มาใช้ชื่อ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ส่วนเชื้อเพลิงก็ยังเป็นถ่านหินเช่นเดิม”
กลับมาพลิกฟื้นอีกครั้งโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และและท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว หลังจากที่เงียบหายไปนาน ล่าสุด นายวิมลไชย มงคล หัวหน้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน (หก-ศก.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางรัฐบาลได้สั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชะลอการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนคัดค้าน และไม่เห็นด้วยต่อการทำ EHIA ของโครงการฯ โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่สมบูรณ์ และครบถ้วน ซึ่งในเบื้องต้น ทาง กฟผ.ได้นำข้อมูลทั้งหมดกลับมาพิจารณาทบทวนข้อบกพร่อง และจะเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่อีกครั้ง
นายวิมลไชย กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นหนึ่งในโครงการโรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2555-2573 (PDP 2010) เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่เติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอย่างเพียงพอ ต้องพึ่งพาสายส่งเชื่อมโยงจากภาคกลาง ดังนั้น การมีโรงไฟฟ้าในภาคใต้จึงช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และเกิดการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ
นายวิมลไชย กล่าวต่อไปว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะทำการศึกษา EHIA ใหม่ จำนวน 3 ครั้ง โดยจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 1 หรือ ค.1 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น
โดย กฟผ.และบริษัทแอร์เชฟ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้กำหนดให้จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เวลา 13.00-17.00 น.จึงขอเชิญทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในทุกด้านในวันและเวลาดังกล่าว
“การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการต่อเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของภาคใต้ ที่ผ่านมา มีการตั้งคำถาม ว่า ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่กระบี่ขึ้นอีก ก็เนื่องจากจังหวัดกระบี่ เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้ากระบี่เดิม ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการโยกย้ายที่อยู่อาศัยของประชาชน และยังเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างระบบส่งไฟฟ้ารองรับอยู่แล้ว และการเดินหน้าโครงการใหม่นี้จะเปลี่ยนชื่อจากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ มาใช้ชื่อ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ส่วนเชื้อเพลิงก็ยังเป็นถ่านหินเช่นเดิม”