ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯ ภูเก็ต เดินหน้าหามาตรการล้อมคอก ป้องกันอุบัติเหตุจากเรือลากร่ม เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ร่มจากกองทัพภาคที่ 4 มาตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องเล่น พร้อมจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ 17 ก.ค.นี้ หลังพบว่า การให้บริการใช้แค่ประสบการณ์ แต่ยังขาดความรู้ความชำนาญด้านวิชาการ
จากกรณีเกิดเหตุนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พลัดตกจากเรือลากร่มเสียชีวิต เหตุเกิดที่หาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต หลังเกิดเหตุ นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เรียกประชุมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้ประกอบการเรือลากร่ม หรือพาราเซลลิ่ง ร่วมประชุมที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
พร้อมกับเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวหลังการประชุม ว่า จากการประชุมทราบว่า ในการให้บริการเรือลากร่ม ผู้ประกอบการแต่ละรายประกอบการโดยอาศัยประสบการณ์ แต่ยังขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องของหลักวิชาการ เพราะฉะนั้นเพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก ทางจังหวัดก็ได้มีการประสานไปทางกองทัพภาคที่ 4 ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของร่มประเภทนี้มาให้ความรู้ และมาตรวจสอบสภาพของร่ม และอุปกรณ์ต่างๆ ว่ามีความพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ ในวันจันทร์ ที่ 17 ก.ค.นี้ ที่เทศบาลตำบลกะรน
ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทั้งหมด 52 ราย นำอุปกรณ์ที่ใช้อยู่จริงๆ มาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่า อุปกรณ์ของแต่ละประเภทเหมาะสมต่อกีฬาเรือลากร่ม หรือที่เรียกว่าพาราเซลลิ่ง หรือไม่ ซึ่งตรวจอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันอุบัติเหตุได้ระดับหนึ่ง
ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีการควบคุมกันโดยใช้กลุ่ม หรือว่าเป็นชมรมฯ จึงได้เสนอให้ทำในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนต่างๆ เพื่อให้มีการควบคุม ตรวจสอบกันเอง ขณะที่ในเรื่องเรือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงว่า กำลังเครื่องยนต์เพียงพอที่จะลากร่มหรือไม่ เพราะผู้ใช้บริการบางคนมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะต้องมีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งสภาพคลื่นในทะเลก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะบั่นทอนกำลังเรือ ซึ่งเรื่องนี้ได้แจ้งให้เจ้าท่าฯ ตรวจสอบสภาพเรือให้เข้มข้น ในส่วนนี้ทางจังหวัดเคยมีประกาศจังหวัด ปี 2558 เพื่อจัดระเบียบในเรื่องเหล่านี้ในเบื้องต้น แต่ส่วนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของอุปกรณ์ ซึ่งเราก็จะเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการในส่วนนี้
นายนรภัทร กล่าวต่อไปว่า เครื่องเล่นประเภทนี้ กฎกระทรวงที่ออกยังไม่ครอบคลุมถึง เมื่อวานนี้ ตนได้ระดมทีมกฎหมาย ทั้งอัยการ สำนักงานโยธา ทั้งหมดมาคุยกันแล้ว ก็ทราบว่าเรือลากร่ม หรือพาราเซลลิ่ง อยู่ระหว่างเสนอกฎเป็นกฎหมาย ซึ่งทราบว่าขณะนี้อยู่ในชั้นของกฤษฎีกา ถ้ากฎหมายนี้ออกมาก็มีสภาพบังคับ เราก็สามารถใช้มาตรการจังหวัดในการกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องสุขภาพของผู้เล่น บางคนมีโรคประจำตัว ซึ่งโรคประจำตัวอาจจะสัมพันธ์กับการเล่นกีฬาประเภทนี้ อย่างเช่น ความสูง บางคนระยะ 34 ฟุต เป็นจุดที่น่าหวาดเสียวที่สุด ความตกใจทำให้เป็นอันตราย แนะนำว่าควรจะให้ผู้ใช้บริการรับรองตัวเองว่าไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเล่นกีฬา
นายนรภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการกลับมาให้บริการเรือลากล่มแก่นักท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งจังหวัดขอให้หยุดดำเนินการชั่วคราวหลังจากเกิดเหตุนักท่องเที่ยวชายชาวออสเตรเลียพลาดพลัดตกลงมาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น หลังจากได้มีการอบรมพูดคุยให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งตรวจสอบเครื่องมือในวันจันทร์นี้ สัปดาห์หน้าคิดว่าน่าจะกลับมาให้บริการได้
จากกรณีเกิดเหตุนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พลัดตกจากเรือลากร่มเสียชีวิต เหตุเกิดที่หาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต หลังเกิดเหตุ นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เรียกประชุมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้ประกอบการเรือลากร่ม หรือพาราเซลลิ่ง ร่วมประชุมที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
พร้อมกับเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวหลังการประชุม ว่า จากการประชุมทราบว่า ในการให้บริการเรือลากร่ม ผู้ประกอบการแต่ละรายประกอบการโดยอาศัยประสบการณ์ แต่ยังขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องของหลักวิชาการ เพราะฉะนั้นเพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก ทางจังหวัดก็ได้มีการประสานไปทางกองทัพภาคที่ 4 ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของร่มประเภทนี้มาให้ความรู้ และมาตรวจสอบสภาพของร่ม และอุปกรณ์ต่างๆ ว่ามีความพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ ในวันจันทร์ ที่ 17 ก.ค.นี้ ที่เทศบาลตำบลกะรน
ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทั้งหมด 52 ราย นำอุปกรณ์ที่ใช้อยู่จริงๆ มาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่า อุปกรณ์ของแต่ละประเภทเหมาะสมต่อกีฬาเรือลากร่ม หรือที่เรียกว่าพาราเซลลิ่ง หรือไม่ ซึ่งตรวจอุปกรณ์ต่างๆ เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันอุบัติเหตุได้ระดับหนึ่ง
ส่วนเรื่องของการบริหารจัดการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีการควบคุมกันโดยใช้กลุ่ม หรือว่าเป็นชมรมฯ จึงได้เสนอให้ทำในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนต่างๆ เพื่อให้มีการควบคุม ตรวจสอบกันเอง ขณะที่ในเรื่องเรือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงว่า กำลังเครื่องยนต์เพียงพอที่จะลากร่มหรือไม่ เพราะผู้ใช้บริการบางคนมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะต้องมีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งสภาพคลื่นในทะเลก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะบั่นทอนกำลังเรือ ซึ่งเรื่องนี้ได้แจ้งให้เจ้าท่าฯ ตรวจสอบสภาพเรือให้เข้มข้น ในส่วนนี้ทางจังหวัดเคยมีประกาศจังหวัด ปี 2558 เพื่อจัดระเบียบในเรื่องเหล่านี้ในเบื้องต้น แต่ส่วนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของอุปกรณ์ ซึ่งเราก็จะเสริมให้ความรู้ผู้ประกอบการในส่วนนี้
นายนรภัทร กล่าวต่อไปว่า เครื่องเล่นประเภทนี้ กฎกระทรวงที่ออกยังไม่ครอบคลุมถึง เมื่อวานนี้ ตนได้ระดมทีมกฎหมาย ทั้งอัยการ สำนักงานโยธา ทั้งหมดมาคุยกันแล้ว ก็ทราบว่าเรือลากร่ม หรือพาราเซลลิ่ง อยู่ระหว่างเสนอกฎเป็นกฎหมาย ซึ่งทราบว่าขณะนี้อยู่ในชั้นของกฤษฎีกา ถ้ากฎหมายนี้ออกมาก็มีสภาพบังคับ เราก็สามารถใช้มาตรการจังหวัดในการกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งจะรวมไปถึงเรื่องสุขภาพของผู้เล่น บางคนมีโรคประจำตัว ซึ่งโรคประจำตัวอาจจะสัมพันธ์กับการเล่นกีฬาประเภทนี้ อย่างเช่น ความสูง บางคนระยะ 34 ฟุต เป็นจุดที่น่าหวาดเสียวที่สุด ความตกใจทำให้เป็นอันตราย แนะนำว่าควรจะให้ผู้ใช้บริการรับรองตัวเองว่าไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเล่นกีฬา
นายนรภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการกลับมาให้บริการเรือลากล่มแก่นักท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งจังหวัดขอให้หยุดดำเนินการชั่วคราวหลังจากเกิดเหตุนักท่องเที่ยวชายชาวออสเตรเลียพลาดพลัดตกลงมาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น หลังจากได้มีการอบรมพูดคุยให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งตรวจสอบเครื่องมือในวันจันทร์นี้ สัปดาห์หน้าคิดว่าน่าจะกลับมาให้บริการได้