พังงา - ต้องช่วยกัน! หลายภาคส่วนในจังหวัดพังงา ร่วมมือร่วมใจปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ จำนวน 500 ต้น เพื่อเตรียมเนรมิตให้จุดชมวิวเขานางหงส์ กลายเป็นภูเขาสีชมพูแห่งแรกของภาคใต้ ในช่วงที่ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ออกดอกบานสะพรั่งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี
ที่จุดชมวิวเขานางหงส์ ต.ถ้ำทองหลาง อ.ทับปุด จ.พังงา นายบำรุง ปิยนามวาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ร่วมกับ นายปภาวิน แสงสุริยา นายอำเภอทับปุด นายทวี ลือชา ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ 12 สาขากระบี่ นำประชาชนชาวจังหวัดพังงา กว่า 500 คน ร่วมโครงการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลูก “ชมพูพันธุ์ทิพย์ ปรับภูมิทัศน์ พัฒนาการท่องเที่ยว เขานางหงส์” เฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
โดยร่วมกันปลูกต้น ชมพูพันธุ์ทิพย์ จำนวน 500 ต้น เพื่อเตรียมเนรมิตให้จุดชมวิวเขานางหงส์ กลายเป็นภูเขาสีชมพูแห่งแรกของภาคใต้ ในช่วงที่ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ออกดอกบานสะพรั่งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี
นายปภาวิน แสงสุริยา กล่าวว่า เขานางหงส์ในอดีตนั้นเป็นเส้นทางที่กล่าวขานถึงความอันตราย คู่กับเขาพับผ้า ในจังหวัดตรัง เป็นเส้นทางสายหลักของภาคใต้ เชื่อมโยงเข้าสู่จังหวัดพังงา และ ไปสู่จังหวัดใกล้เคียง มีความสูงประมาณ 400 เมตร มีโค้งมากถึง 120 โค้ง
ปัจจุบัน มีผู้ใช้เส้นทางน้อยลง และจังหวัดพังงา ได้พัฒนาเขานางหงส์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งของจังหวัด ได้มีการบูรณะศาลเจ้าแม่นางหงส์ ขึ้นใหม่ สร้างหอชมวิว จุดพักรถ และจัดทำระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และผู้ที่สัญจรไปมา
แต่ก็ไม่มีหน่วยงานใดมารับผิดชอบโดยตรง ทำให้เกิดสภาพเหมือนถูกปล่อยทิ้งร้าง จึงร่วมกับทุกภาคส่วนมารวมพลังกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ และจะร่วมกับบำรุงรักษาเพื่อสร้างความร่มรื่นให้ธรรมชาติ ให้เป็นจุดเช็กอินอีกรูปแบบหนึ่งของจังหวัดพังงา
ขณะที่ นายบำรุง ปิยนามวาณิช กล่าวว่า ต้องขอแสดงความชื่นชมในดำริริเริ่มที่ดี และมีประโยชน์ของนายอำเภอทับปุด และได้ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวอำเภอทับปุดทุกภาคส่วน สิ่งสำคัญที่อยากฝากคือ การปลูกต้นไม้นั้นไม่ยากเลย แต่ที่ยากกว่าคือ จะทำอย่างไรให้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ที่ร่วมกันปลูกทั้ง 500 ต้นนี้ อยู่รอดปลอดภัย และเจริญเติบโตจนกระทั่งผลิดอกงามสะพรั่งให้พวกเราได้ชื่นชมทุกต้น
สิ่งเดียวที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ก็คือ การหมั่นดูแล บำรุงรักษา ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ช่วยกันหาทางป้องกันอย่าให้มีวัชพืชปกคลุม และมีเถาวัลย์พันรัด โดยคิดอยู่เสมอว่าต้นไม้เหล่านี้ คือสมบัติของพวกเราทุกคน ถ้าจะให้ดีขอให้ทุกคนจดจำไว้ว่า ต้นที่ตัวเองปลูกคือต้นไหนบ้าง เวลาผ่านไปผ่านมาก็แวะดูแวะเยี่ยม และบำรุงรักษาบ้าง เชื่อว่าถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ในเวลาไม่เกิน 3-5 ปี ทุกคนคงได้ร่วมภาคภูมิใจ และคิดถึง
ที่จุดชมวิวเขานางหงส์ ต.ถ้ำทองหลาง อ.ทับปุด จ.พังงา นายบำรุง ปิยนามวาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ร่วมกับ นายปภาวิน แสงสุริยา นายอำเภอทับปุด นายทวี ลือชา ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ 12 สาขากระบี่ นำประชาชนชาวจังหวัดพังงา กว่า 500 คน ร่วมโครงการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลูก “ชมพูพันธุ์ทิพย์ ปรับภูมิทัศน์ พัฒนาการท่องเที่ยว เขานางหงส์” เฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
โดยร่วมกันปลูกต้น ชมพูพันธุ์ทิพย์ จำนวน 500 ต้น เพื่อเตรียมเนรมิตให้จุดชมวิวเขานางหงส์ กลายเป็นภูเขาสีชมพูแห่งแรกของภาคใต้ ในช่วงที่ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ออกดอกบานสะพรั่งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมของทุกปี
นายปภาวิน แสงสุริยา กล่าวว่า เขานางหงส์ในอดีตนั้นเป็นเส้นทางที่กล่าวขานถึงความอันตราย คู่กับเขาพับผ้า ในจังหวัดตรัง เป็นเส้นทางสายหลักของภาคใต้ เชื่อมโยงเข้าสู่จังหวัดพังงา และ ไปสู่จังหวัดใกล้เคียง มีความสูงประมาณ 400 เมตร มีโค้งมากถึง 120 โค้ง
ปัจจุบัน มีผู้ใช้เส้นทางน้อยลง และจังหวัดพังงา ได้พัฒนาเขานางหงส์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งของจังหวัด ได้มีการบูรณะศาลเจ้าแม่นางหงส์ ขึ้นใหม่ สร้างหอชมวิว จุดพักรถ และจัดทำระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และผู้ที่สัญจรไปมา
แต่ก็ไม่มีหน่วยงานใดมารับผิดชอบโดยตรง ทำให้เกิดสภาพเหมือนถูกปล่อยทิ้งร้าง จึงร่วมกับทุกภาคส่วนมารวมพลังกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ และจะร่วมกับบำรุงรักษาเพื่อสร้างความร่มรื่นให้ธรรมชาติ ให้เป็นจุดเช็กอินอีกรูปแบบหนึ่งของจังหวัดพังงา
ขณะที่ นายบำรุง ปิยนามวาณิช กล่าวว่า ต้องขอแสดงความชื่นชมในดำริริเริ่มที่ดี และมีประโยชน์ของนายอำเภอทับปุด และได้ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวอำเภอทับปุดทุกภาคส่วน สิ่งสำคัญที่อยากฝากคือ การปลูกต้นไม้นั้นไม่ยากเลย แต่ที่ยากกว่าคือ จะทำอย่างไรให้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ที่ร่วมกันปลูกทั้ง 500 ต้นนี้ อยู่รอดปลอดภัย และเจริญเติบโตจนกระทั่งผลิดอกงามสะพรั่งให้พวกเราได้ชื่นชมทุกต้น
สิ่งเดียวที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ก็คือ การหมั่นดูแล บำรุงรักษา ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ช่วยกันหาทางป้องกันอย่าให้มีวัชพืชปกคลุม และมีเถาวัลย์พันรัด โดยคิดอยู่เสมอว่าต้นไม้เหล่านี้ คือสมบัติของพวกเราทุกคน ถ้าจะให้ดีขอให้ทุกคนจดจำไว้ว่า ต้นที่ตัวเองปลูกคือต้นไหนบ้าง เวลาผ่านไปผ่านมาก็แวะดูแวะเยี่ยม และบำรุงรักษาบ้าง เชื่อว่าถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ในเวลาไม่เกิน 3-5 ปี ทุกคนคงได้ร่วมภาคภูมิใจ และคิดถึง