ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ถึงเวลาทวงคืน! “เกาะพระทอง” ทุ่งหญ้าสะวันนา อันซีนเมืองไทย หลังนายทุน ผู้มีอุทธิพล นักการเมืองท้องถิ่นเข้าบุกรุกยึดครองพื้นที่นานกว่า 10 ปี สร้างรีสอร์ต ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา เหิมหนักขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐจนเข้าพื้นที่ไม่ได้ รอพิสูจน์ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐในการทวงคืนผืนป่าอันซีนเมืองไทย
ถ้านึกถึง “เกาะพระทอง” อ.คุระบุรี จ.พังงา เชื่อว่า หลายๆ คนจะต้องนึกถึง “ทุ่งหญ้าสะวันนา” สีเหลืองทองยามต้องแสงอาทิตย์ สลับกับป่าเสม็ดขาว หนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จากความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติสูง ความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้นานาชนิด สัตว์ป่า ทั้งกวาง ม้า นกแก๊ก นกตะกรุม และสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช เตรียมประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เกาะระ-เกาะพระทอง อีกด้วย
จากความโดดเด่นของเกาะพระทอง ทำให้ปัจจุบันพบว่า เกาะพระทอง และเกาะระ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ถูกบุกรุกจากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเข้ายึดครองพื้นที่นานนับ 10 ปี แต่การบุกรุกเพิ่งถูกเปิดเผย และกลายเป็นข่าวดังขึ้นมาเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังชาวบ้านในพื้นที่ทนไม่ไหวต่อพฤติกรรมการบุกรุกทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติบนเกะพระทอง ด้วยการแผ้วถางพื้นที่ป่า ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา รวมทั้งสร้างรีสอร์ตรองรับนักท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง โดยกลุ่มนายทุนนามสกุลเดียวเท่านั้น
ทันทีที่มีการร้องเรียน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมเปิด “ยุทธการทวงคืนผืนป่า เกาะระ-เกาะพระทอง จ.พังงา” การตรวจสอบในเบื้องต้นของหน่วยเฉพาะกิจพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ ที่ได้ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. 2560 พบมีการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่า 16 จุด กว่า 954 ไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 100 ล้านบาท
เจ้าหน้าที่มีการตรวจยึดพื้นที่ และของกลาง พร้อมแจ้งความดำเนินดีเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด แต่พบว่าภายหลังมีการลักลอบนำของกลางซึ่งเป็นเครื่องจักรกลหนักออกนอกพื้นที่ คนที่จะทำการดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้ที่มิอิทธิพลในพื้นที่ จนกระทั่ง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ต้องทำทีมลุยเองอีกครั้งเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2560 พร้อมสั่งการให้ตรวจสอบพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อทวงคืนป่าเกาะพระทอง-เกาะระ กลับมาเป็นสมบัติของชาติให้ได้
ใครคือผู้มีอิทธิพลบุกรุกพื้นที่ป่าเกาะ เกาะระ-พระทอง ตัวจริง
การลงพื้นที่ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่เกาะพระทอง ของหน่วยเฉพาะกิจพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค.2560 “สามารถนำไปสู่การออกหมายจับผู้บุกรุกได้ 1 คน คือ นายโสภณ ชลธี อายุ 53 ปี เป็นคนในพื้นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นเจ้าของรถของกลางที่ถูกตรวจยึดขณะกำลังบุกรุกแผ้วถางป่า เจ้าหน้าที่จึงขอหมายศาลจากศาลจังหวัดตะกั่วป่า ในข้อหาเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด บุกรุกพื้นที่ 282 ไร่ และศาลได้อนุมัติหมายจับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหมายจับเลขที่ 31/60 ลงวันที่ 9 มิ.ย.60 แต่ในทางสืบสวนเชื่อว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงลูกน้องของผู้บุกรุกตัวจริงเท่านั้น ซึ่งกลุ่มนายทุนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังการบุกรุกแผ้วถางป่า เป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เพราะจากการตรวจสอบในเชิงลึกพบว่า กลุ่มผู้บุกรุกใช้นามสกุลเดียวกันทั้งหมด
แต่การบุกรุกพื้นที่เกาะพระทอง ไม่ได้มีเฉพาะการบุกรุกเพื่อปลูกปาล์ม และสวนยางพาราเท่านั้น พบว่า มีการบุกรุกเพื่อสร้างรีสอร์ตไม่ต่ำกว่า 3 แห่ง เป็นรีสอร์ตของคนในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ทางป่าไม้กำลังตรวจสอบ และเตรียมแจ้งความดำเนินคดี จะต้องเร่งพิสูจน์ทราบตัวบุคคลผู้กระทำความผิดโดยเร็วที่สุด โดยรีสอร์ตเหล่านั้นสร้างกันมายาวนานเป็น 10 กว่าปีแล้ว และจากข้อมูลพบว่า บางรีสอร์ตมีอดีตนักการเมืองท้องถิ่นเป็นเจ้าของ
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบทำอะไรอยู่ถึงปล่อยให้มีการบุกรุกมาอย่างยาวนาน
จากการสอบถามแหล่งข่าวรายหนึ่ง ทราบว่า การบุกรุกพื้นที่บนเกาะพระทอง มีมาตั้งแต่ก่อนสึนามิ แต่ช่วงนั้นเป็นการบุกรุกโดยคนในพื้นที่ ไม่รุนแรงมากนัก และเพื่อป้องกันการบุกรุก ทางกรมอุทยานแห่งชาติ เตรียมที่จะประกาศให้พื้นที่เกาะระ-เกาะพระทอง เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ คนในพื้นที่ และผู้นำท้องถิ่นออกมาคัดค้าน จึงทำได้แค่เตรียมประกาศเท่านั้น เมื่อไม่สามารถประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้ จึงไม่สามารถใช้กฎหมายอุทยานฯ บังคับหรือจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ที่บุกรุกได้ ต้องใช้กฎหมายป่าสงวนเข้าไปดำเนินคดีแทน ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่ากฎหมายอุทยาน และต้องใช้การสนธิกำลัง ทำให้การยึดคืนป่าทำได้ไม่เบ็ดเสร็จ ประกอบกับผู้บุกรุกครอบครอง หรือทำประโยชน์ในพื้นอ้างเอกสารสิทธิ และส่วนหนึ่งของผู้ที่ครอบครอง หรือหนุนหลังเจ้าของที่ดินเป็นคนค่อนข้างมีอิทธิพลในพื้นที่
“หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อปี 2547 การบุกรุกบนเกาะพระทอง เริ่มหนักข้อขึ้น โดยกลุ่มคนที่เป็นผู้นำชุมชน และนักการเมืองท้องถิ่น ถามว่าเจ้าหน้าที่เจ้าของพื้นที่ ทำอะไรอยู่ ถึงไม่เข้าจับกุมดำเนินคดี หลังมีการบุกรุกสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ป่าไม้บนเกาะจนสร้างความเสียหายมหาศาล คำตอบก็คือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ และที่สำคัญมีการข่มขู่ ขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่สารพัดจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ จนต้องย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ฝั่งตรงข้ามที่ว่าการอำเภอคุระบุรี ซึ่งอยู่ไกลจากพื้นที่มาก การจะลงพื้นที่แต่ละครั้งจะต้องรอการสนธิกำลังเท่านั้น ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก”
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวว่า จากการแปรภาพถ่ายย้อนหลังเกาะพระทอง พบว่า เมื่อปี 2529 สภาพของป่าระบบนิเวศ ทุ่งหญ้าสะวันนา ยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันกลายเป็นสวนปาล์ม สวนยางพารา ที่มีอายุประมาณ 3-4 ปีเท่านั้น และพบว่ามีการบุกรุกไปแล้วประมาณ 40% จากเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6.5 หมื่นไร่ ส่วนเกาะระ มีการบุกรุกไปแล้วประมาณ 50% จากเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.2 หมื่นไร่ และจากข้อมูลของกรมป่าไม้ เมื่อปี 2552 พบว่า กรมป่าไม้ได้เข้าทำการรังวัดพื้นที่เพื่อกันให้แก่ชาวบ้านที่ครอบครองอยู่ก่อน หรือที่เรียกว่า สทก. (สิทธิทำกินในพื้นที่ป่า) โดยทางกรมป่าไม้ให้ชาวบ้านที่ครอบครองอยู่เดิมมาขึ้นทะเบียน และมีการจัดสรรแบ่งส่วนชัดเจน
แต่จากการตรวจสอบรายชื่อชาวบ้านที่มาขึ้นทะเบียน พบว่า ผู้ที่มีชื่ออยู่เดิมกลับไม่มีตัวตนในการครองพื้นที่แต่อย่างใด แต่กลับพบว่า ผู้ที่ครอบครองแทนชาวบ้าน กลายเป็นชื่อคนคนเดียว จึงเป็นที่กังขาของการตรวจสอบ เพราะตามเงื่อนไขของ สทก.ห้ามมีการซื้อขาย แต่ทำไม สทก.ที่ชาวบ้านไปขึ้นทะเบียนกลับตกไปอยู่ในมือของคนคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป
ส่วนกรณีมีการอ้างเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ก็ต้องดูอีกว่ามีการออกเอกสารสิทธิกันมาอย่างไร เป็นการออกเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการดำเนินคดีอยู่ระว่างการรวบรวมพยานหลักฐานของชั้นพนักงานสอบสวน และสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ใครถูกใครผิดก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปตามกระบวนการของกฎหมาย
มาถึงตอนนี้ ก็ต้องมาดูกันว่าปฏิบัติการ “ยึดคืนผืนป่า เกาะระ-เกาะกระทอง” ที่มี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหอกคนสำคัญ รวมทั้งชุดเฉพาะกิจ ชุดพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ จะสามารถยึดคืนผืนพื้นที่ป่าทุ่งสะวันนา อันซีนไทยแลนด์ “เกาะพระทอง” กลับมาเป็นสมบัติของชาติได้หรือไม่
ถ้านึกถึง “เกาะพระทอง” อ.คุระบุรี จ.พังงา เชื่อว่า หลายๆ คนจะต้องนึกถึง “ทุ่งหญ้าสะวันนา” สีเหลืองทองยามต้องแสงอาทิตย์ สลับกับป่าเสม็ดขาว หนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จากความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติสูง ความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้นานาชนิด สัตว์ป่า ทั้งกวาง ม้า นกแก๊ก นกตะกรุม และสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช เตรียมประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เกาะระ-เกาะพระทอง อีกด้วย
จากความโดดเด่นของเกาะพระทอง ทำให้ปัจจุบันพบว่า เกาะพระทอง และเกาะระ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ถูกบุกรุกจากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเข้ายึดครองพื้นที่นานนับ 10 ปี แต่การบุกรุกเพิ่งถูกเปิดเผย และกลายเป็นข่าวดังขึ้นมาเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังชาวบ้านในพื้นที่ทนไม่ไหวต่อพฤติกรรมการบุกรุกทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติบนเกะพระทอง ด้วยการแผ้วถางพื้นที่ป่า ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา รวมทั้งสร้างรีสอร์ตรองรับนักท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง โดยกลุ่มนายทุนนามสกุลเดียวเท่านั้น
ทันทีที่มีการร้องเรียน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมเปิด “ยุทธการทวงคืนผืนป่า เกาะระ-เกาะพระทอง จ.พังงา” การตรวจสอบในเบื้องต้นของหน่วยเฉพาะกิจพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ ที่ได้ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. 2560 พบมีการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่า 16 จุด กว่า 954 ไร่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 100 ล้านบาท
เจ้าหน้าที่มีการตรวจยึดพื้นที่ และของกลาง พร้อมแจ้งความดำเนินดีเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด แต่พบว่าภายหลังมีการลักลอบนำของกลางซึ่งเป็นเครื่องจักรกลหนักออกนอกพื้นที่ คนที่จะทำการดังกล่าวได้จะต้องเป็นผู้ที่มิอิทธิพลในพื้นที่ จนกระทั่ง พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ต้องทำทีมลุยเองอีกครั้งเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2560 พร้อมสั่งการให้ตรวจสอบพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อทวงคืนป่าเกาะพระทอง-เกาะระ กลับมาเป็นสมบัติของชาติให้ได้
ใครคือผู้มีอิทธิพลบุกรุกพื้นที่ป่าเกาะ เกาะระ-พระทอง ตัวจริง
การลงพื้นที่ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่เกาะพระทอง ของหน่วยเฉพาะกิจพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค.2560 “สามารถนำไปสู่การออกหมายจับผู้บุกรุกได้ 1 คน คือ นายโสภณ ชลธี อายุ 53 ปี เป็นคนในพื้นที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นเจ้าของรถของกลางที่ถูกตรวจยึดขณะกำลังบุกรุกแผ้วถางป่า เจ้าหน้าที่จึงขอหมายศาลจากศาลจังหวัดตะกั่วป่า ในข้อหาเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด บุกรุกพื้นที่ 282 ไร่ และศาลได้อนุมัติหมายจับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหมายจับเลขที่ 31/60 ลงวันที่ 9 มิ.ย.60 แต่ในทางสืบสวนเชื่อว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงลูกน้องของผู้บุกรุกตัวจริงเท่านั้น ซึ่งกลุ่มนายทุนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังการบุกรุกแผ้วถางป่า เป็นอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เพราะจากการตรวจสอบในเชิงลึกพบว่า กลุ่มผู้บุกรุกใช้นามสกุลเดียวกันทั้งหมด
แต่การบุกรุกพื้นที่เกาะพระทอง ไม่ได้มีเฉพาะการบุกรุกเพื่อปลูกปาล์ม และสวนยางพาราเท่านั้น พบว่า มีการบุกรุกเพื่อสร้างรีสอร์ตไม่ต่ำกว่า 3 แห่ง เป็นรีสอร์ตของคนในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ทางป่าไม้กำลังตรวจสอบ และเตรียมแจ้งความดำเนินคดี จะต้องเร่งพิสูจน์ทราบตัวบุคคลผู้กระทำความผิดโดยเร็วที่สุด โดยรีสอร์ตเหล่านั้นสร้างกันมายาวนานเป็น 10 กว่าปีแล้ว และจากข้อมูลพบว่า บางรีสอร์ตมีอดีตนักการเมืองท้องถิ่นเป็นเจ้าของ
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบทำอะไรอยู่ถึงปล่อยให้มีการบุกรุกมาอย่างยาวนาน
จากการสอบถามแหล่งข่าวรายหนึ่ง ทราบว่า การบุกรุกพื้นที่บนเกาะพระทอง มีมาตั้งแต่ก่อนสึนามิ แต่ช่วงนั้นเป็นการบุกรุกโดยคนในพื้นที่ ไม่รุนแรงมากนัก และเพื่อป้องกันการบุกรุก ทางกรมอุทยานแห่งชาติ เตรียมที่จะประกาศให้พื้นที่เกาะระ-เกาะพระทอง เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ คนในพื้นที่ และผู้นำท้องถิ่นออกมาคัดค้าน จึงทำได้แค่เตรียมประกาศเท่านั้น เมื่อไม่สามารถประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้ จึงไม่สามารถใช้กฎหมายอุทยานฯ บังคับหรือจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ที่บุกรุกได้ ต้องใช้กฎหมายป่าสงวนเข้าไปดำเนินคดีแทน ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่ากฎหมายอุทยาน และต้องใช้การสนธิกำลัง ทำให้การยึดคืนป่าทำได้ไม่เบ็ดเสร็จ ประกอบกับผู้บุกรุกครอบครอง หรือทำประโยชน์ในพื้นอ้างเอกสารสิทธิ และส่วนหนึ่งของผู้ที่ครอบครอง หรือหนุนหลังเจ้าของที่ดินเป็นคนค่อนข้างมีอิทธิพลในพื้นที่
“หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อปี 2547 การบุกรุกบนเกาะพระทอง เริ่มหนักข้อขึ้น โดยกลุ่มคนที่เป็นผู้นำชุมชน และนักการเมืองท้องถิ่น ถามว่าเจ้าหน้าที่เจ้าของพื้นที่ ทำอะไรอยู่ ถึงไม่เข้าจับกุมดำเนินคดี หลังมีการบุกรุกสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ป่าไม้บนเกาะจนสร้างความเสียหายมหาศาล คำตอบก็คือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ และที่สำคัญมีการข่มขู่ ขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่สารพัดจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ จนต้องย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ฝั่งตรงข้ามที่ว่าการอำเภอคุระบุรี ซึ่งอยู่ไกลจากพื้นที่มาก การจะลงพื้นที่แต่ละครั้งจะต้องรอการสนธิกำลังเท่านั้น ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก”
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวว่า จากการแปรภาพถ่ายย้อนหลังเกาะพระทอง พบว่า เมื่อปี 2529 สภาพของป่าระบบนิเวศ ทุ่งหญ้าสะวันนา ยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันกลายเป็นสวนปาล์ม สวนยางพารา ที่มีอายุประมาณ 3-4 ปีเท่านั้น และพบว่ามีการบุกรุกไปแล้วประมาณ 40% จากเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6.5 หมื่นไร่ ส่วนเกาะระ มีการบุกรุกไปแล้วประมาณ 50% จากเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.2 หมื่นไร่ และจากข้อมูลของกรมป่าไม้ เมื่อปี 2552 พบว่า กรมป่าไม้ได้เข้าทำการรังวัดพื้นที่เพื่อกันให้แก่ชาวบ้านที่ครอบครองอยู่ก่อน หรือที่เรียกว่า สทก. (สิทธิทำกินในพื้นที่ป่า) โดยทางกรมป่าไม้ให้ชาวบ้านที่ครอบครองอยู่เดิมมาขึ้นทะเบียน และมีการจัดสรรแบ่งส่วนชัดเจน
แต่จากการตรวจสอบรายชื่อชาวบ้านที่มาขึ้นทะเบียน พบว่า ผู้ที่มีชื่ออยู่เดิมกลับไม่มีตัวตนในการครองพื้นที่แต่อย่างใด แต่กลับพบว่า ผู้ที่ครอบครองแทนชาวบ้าน กลายเป็นชื่อคนคนเดียว จึงเป็นที่กังขาของการตรวจสอบ เพราะตามเงื่อนไขของ สทก.ห้ามมีการซื้อขาย แต่ทำไม สทก.ที่ชาวบ้านไปขึ้นทะเบียนกลับตกไปอยู่ในมือของคนคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการตรวจสอบกันต่อไป
ส่วนกรณีมีการอ้างเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ก็ต้องดูอีกว่ามีการออกเอกสารสิทธิกันมาอย่างไร เป็นการออกเอกสารสิทธิถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการดำเนินคดีอยู่ระว่างการรวบรวมพยานหลักฐานของชั้นพนักงานสอบสวน และสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ใครถูกใครผิดก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปตามกระบวนการของกฎหมาย
มาถึงตอนนี้ ก็ต้องมาดูกันว่าปฏิบัติการ “ยึดคืนผืนป่า เกาะระ-เกาะกระทอง” ที่มี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหอกคนสำคัญ รวมทั้งชุดเฉพาะกิจ ชุดพยัคฆ์ไพร และชุดพญาเสือ จะสามารถยึดคืนผืนพื้นที่ป่าทุ่งสะวันนา อันซีนไทยแลนด์ “เกาะพระทอง” กลับมาเป็นสมบัติของชาติได้หรือไม่