ศูนย์ข่าวภูเก็ต - พร้อมทุกรูปแบบ! ทัพเรือภาคที่ 3 เอกชน หน่วยงานรัฐ จับมือโชว์ศักยภาพความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกรูปแบบ
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (6 มิ.ย.) พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ และเสนาธิการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ เดินทางมาตรวจเยี่ยม และตรวจสอบการเตรียมความพร้อมของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 รวมทั้งการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาหากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น
โดยมี พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้นำเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร เรือ รถที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาร่วมแสดงด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีสภาพคลื่นลมที่ค่อนข้างแรง มีฝนตก ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวอาจจะทำให้ส่งผลต่อการบรรเทาสาธารณภัย เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น รวมทั้งอุบัติภัยทางทะเล เช่น เรือล่ม เรือจม เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
โดยการปฏิบัติงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 นั้น พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 ได้สั่งการให้หน่วยต่างๆ ได้มีการเตรียมความพร้อม และสามารถปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ โดยมีศูนย์รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับการเดินทางมาตรวจเยี่ยมของเสนาธิการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ในครั้งนี้ จะเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา รวมทั้งการเตรียมความพร้อมหากเกิดอุบัติภัยทางทะเล โดยจะทำการสาธิตการฝึกซ้อมบริเวณชายหาดบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวมทั้งรองรับกรณีการเกิดคลื่นยักษ์สินามิด้วย
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ จะให้หน่วยงานเอกชน หรือพลเรือดำเนินการเพียงลำพังไม่ได้ ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ ตามคำขวัญที่ว่า ทหารเรือจะไม่ทอดทิ้งประชาชน และจะต้องปฎิบัติภารกิจอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากอะไร ทั้งมรสุม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ภัยแล้ง รวมถุงภัยคุกคามอย่างสึนามิ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยไม่บอกล่วงหน้า ทุกหน่วยจึงต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในการรับมือต่อภัยพิบัติ
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวต่อไปว่า การเดินทางมาที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 ในครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความพร้อมของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และ จ.สตูล ซึ่งจะต้องมีความพร้อมทั้งกำลังคน และเครื่องมือ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของทัพเรือภาคที่ 3 มีความพร้อม ซึ่งนอกจากในส่วนของทหารเรือจะมีความพร้อมแล้ว ในการบูรณาการการช่วยเหลือร่วมกับภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐพบว่า มีศักยภาพมาก ซึ่งสมารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆได้ ซึ่งในการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะร่วมกันทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ทั้งนี้ หากเกิดภัยพิบัติขึ้น ในส่วนของทหารเรามีความพร้อมก็สามารถเข้าพื้นที่ได้ก่อน หลังจากนั้นหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานรัฐก็สามารถเข้าตามไป และทางทหารก็จะส่งมอบพื้นที่ให้ เนื่องจากหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบางหน่วยงาน มีศักยภาพและความพร้อมมากกว่า ซึ่งการช่วยเหลือประชาชนจะมาเกี่ยวกันไม่ได้ เราต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้มากที่สุด
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวต่อไปว่า เรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์ ในส่วนของทหารนั้นต้องยอมรับว่าเรามียุทธโทปกรณ์ที่เกี่ยวกับการดูแลปกป้องประเทศด้านความมั่นคงเป็นหลัก แต่เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นต่อประชาชน ก็นำยุทธโทปกรณ์ที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมต่อการช่วยเหลือประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยืนยันว่า ถึงเวลานี้ทัพเรือภาคที่ 3 มีความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของทัพเรือ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยพร้อมที่จะเผชิญต่อภัยพิบัติทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทหารเรือไม่ทำ คือ การฉกฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชน ด้วยการขอจัดซื้อยุทธโทปกรณ์ใหม่เพื่อนำมาใช้สำหรับการช่วยเหลือประชาชน แต่จะนำยุทธโทปกรณ์ที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม ให้สมกับคำขวัญที่ว่า “ทหารเรือไม่ทอดทิ้งประชาชน”
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (6 มิ.ย.) พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ และเสนาธิการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ เดินทางมาตรวจเยี่ยม และตรวจสอบการเตรียมความพร้อมของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 รวมทั้งการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาหากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น
โดยมี พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้นำเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร เรือ รถที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาร่วมแสดงด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากในขณะนี้ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีสภาพคลื่นลมที่ค่อนข้างแรง มีฝนตก ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวอาจจะทำให้ส่งผลต่อการบรรเทาสาธารณภัย เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น รวมทั้งอุบัติภัยทางทะเล เช่น เรือล่ม เรือจม เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
โดยการปฏิบัติงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 นั้น พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 ได้สั่งการให้หน่วยต่างๆ ได้มีการเตรียมความพร้อม และสามารถปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ โดยมีศูนย์รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับการเดินทางมาตรวจเยี่ยมของเสนาธิการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ในครั้งนี้ จะเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา รวมทั้งการเตรียมความพร้อมหากเกิดอุบัติภัยทางทะเล โดยจะทำการสาธิตการฝึกซ้อมบริเวณชายหาดบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวมทั้งรองรับกรณีการเกิดคลื่นยักษ์สินามิด้วย
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ จะให้หน่วยงานเอกชน หรือพลเรือดำเนินการเพียงลำพังไม่ได้ ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ ตามคำขวัญที่ว่า ทหารเรือจะไม่ทอดทิ้งประชาชน และจะต้องปฎิบัติภารกิจอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจะเกิดจากอะไร ทั้งมรสุม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ภัยแล้ง รวมถุงภัยคุกคามอย่างสึนามิ ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยไม่บอกล่วงหน้า ทุกหน่วยจึงต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในการรับมือต่อภัยพิบัติ
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวต่อไปว่า การเดินทางมาที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 ในครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความพร้อมของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน ประกอบด้วย ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และ จ.สตูล ซึ่งจะต้องมีความพร้อมทั้งกำลังคน และเครื่องมือ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของทัพเรือภาคที่ 3 มีความพร้อม ซึ่งนอกจากในส่วนของทหารเรือจะมีความพร้อมแล้ว ในการบูรณาการการช่วยเหลือร่วมกับภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐพบว่า มีศักยภาพมาก ซึ่งสมารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆได้ ซึ่งในการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะร่วมกันทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ทั้งนี้ หากเกิดภัยพิบัติขึ้น ในส่วนของทหารเรามีความพร้อมก็สามารถเข้าพื้นที่ได้ก่อน หลังจากนั้นหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานรัฐก็สามารถเข้าตามไป และทางทหารก็จะส่งมอบพื้นที่ให้ เนื่องจากหน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานรัฐบางหน่วยงาน มีศักยภาพและความพร้อมมากกว่า ซึ่งการช่วยเหลือประชาชนจะมาเกี่ยวกันไม่ได้ เราต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้มากที่สุด
พล.ร.อ.ลือชัย กล่าวต่อไปว่า เรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์ ในส่วนของทหารนั้นต้องยอมรับว่าเรามียุทธโทปกรณ์ที่เกี่ยวกับการดูแลปกป้องประเทศด้านความมั่นคงเป็นหลัก แต่เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นต่อประชาชน ก็นำยุทธโทปกรณ์ที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมต่อการช่วยเหลือประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยืนยันว่า ถึงเวลานี้ทัพเรือภาคที่ 3 มีความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของทัพเรือ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกหน่วยพร้อมที่จะเผชิญต่อภัยพิบัติทุกรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทหารเรือไม่ทำ คือ การฉกฉวยโอกาสเอาเปรียบประชาชน ด้วยการขอจัดซื้อยุทธโทปกรณ์ใหม่เพื่อนำมาใช้สำหรับการช่วยเหลือประชาชน แต่จะนำยุทธโทปกรณ์ที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม ให้สมกับคำขวัญที่ว่า “ทหารเรือไม่ทอดทิ้งประชาชน”