ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศรชล.เขต 3 คุมเรือประมงทูน่า 7 ลำ แจ้งหลักฐานระบุสัญชาติไม่ถูกต้อง ยึดเรือหลังตรวจพบไม่มีการแจ้งจดทะเบียนเรือที่ประเทศโบลิเวียแต่อย่างใด
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่ท่าเทียบเรือท่าศรีไทย ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 3 หรือ ศรชล.เขต 3 พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต แรงงาน ตำรวจน้ำ และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมแถลงข่าวการควบคุมเรือประมงเบ็ดราวทูน่า จำนวน 7 ลำ ไว้ตรวจสอบ ประกอบด้วย เรือ YUTUNA NO.3, ABUBANT 1, ABUBANT 3, ABUBANT 6, ABUBANT 9, ABUBANT 12, SHUN LAI หลังตรวจสอบพบพิรุธเกี่ยวกับทะเบียนเรือทั้ง 7 ลำเป็นเรือต่างประเทศ ที่ระบุเป็นสัญชาติโบลิเวีย และมีการแจ้งเข้ามาพร้อมกันในลักษณะผิดสังเกต เนื่องจากเรือแต่ละลำมีเอกสารไม่เหมือนกัน โดยเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ได้มีการตรวจสอบกับทางประเทศโบลิเวีย เพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนเรือ และต่อมา ทางโบลิเวียได้แจ้งว่า เรือทั้ง 9 ลำ ไม่ได้จดทะเบียนที่โบลิเวีย หรือได้รับใบอนุญาตทำการประมงของโบลิเวียแต่อย่างใด
พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาการทำประมงเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางศูนย์จึงได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายนั้นดำเนินการเหมือนกันทั้งในส่วนของเรือไทย และเรือต่างชาติ โดยในพื้นที่อันดามัน ได้มอบหมายให้ ศรชล.เขต 3 ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายของเรือประมงทั้งหมด
จนกระทั่งล่าสุด ทางศูนย์แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้ ศรชล.เขต 3 ตรวจสอบเรือประมงต่างประเทศที่กล่าวอ้างสัญชาติโบลิเวียที่แจ้งขอเข้ามาจอดที่ท่าเทียบเรือศรีไทย และท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต จำนวน 9 ลำ เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย เรือ YUYUNA NO.1, YUTUNA NO.3, ABUBANT 1, ABUBANT 3, ABUBANT 6, ABUBANT 9, ABUBANT 12, SHUN LAI และ SHENG JI QUN ซึ่งจากการตรวจสอบของหน่วยงานต่างๆ พบว่า มีเรือที่จอดอยู่ จำนวน 7 ลำ ส่วนเรืออีก 2 ลำ ที่แจ้งเข้าแต่ไม่ประสงค์จะจอดคือ เรือ YUTUNA NO.1 และเรือ SHENG JI QUN 3 ที่ออกจากท่าเรือไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบ โดยเรือทั้งหมดเป็นเรือเบ็ดราวทูน่า ซึ่งในการเข้ามาจอดทางบริษัทแจ้งว่าจะนำเรือมาจอดซ่อมทำตัวเรือ และจากการตรวจสอบพบว่า กัปตันเรือ และลูกเรือมีเอกสารถูกต้อง ซึ่งกัปตันเรือส่วนใหญ่เป็นชาวไต้หวัน ส่วนลูกเรือเป็นชาวอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ในเบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่าเรือ SHUN LIA และเรือ ABUBANT 9 ไม่แจ้งเข้าต่อเจ้าท่าภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดลำละ 5,000 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบทะเบียนเรือทุกลำพบมีข้อพิรุธ ซึ่งเรือทั้งหมดระบุว่าเป็นเรือสัญชาติโบลิเวีย แต่พบว่าเอกสารมีลักษณะไม่เหมือนกัน จึงได้สั่งการให้เจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ประสานตรวจสอบข้อมูลกับทางการโบลิเวีย ต่อมา ทางโบลิเวีย ได้ตอบกลับมาเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ ว่า เรือประมงทั้ง 9 ลำ ไม่ได้จดทะเบียนที่ประเทศโบลิเวีย หรือมีใบอนุญาตทำการประมงของโบลิเวีย ทางเจ้าท่าจึงได้รวบหลังฐาน และแจ้งความดำเนินคดีต่อตัวแทนเจ้าของเรือ จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เซี่ยงเฮา จำกัด บริษัทยี้หงส์ ฟิซเชอรรี่ จำกัด และบริษัทซ่วน หยิง จำกัด โดยได้แจ้งความไว้ที่ สภ.วิชิต ในข้อหานำเอกสารปลอมมาจดแจ้งการรายงานเข้า-ออกท่าเรือ เป็นความผิดปลอมและเอกสารปลอมโดยแจ้งความอันเป็นเท็จ สำหรับเรือทั้ง 7 ลำนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมไว้ที่ท่าเรือ และไม่นำออกไปได้จนกว่าเจ้าของเรือจะมีเอกสารที่ถูกต้องที่ระสัญชาติ และประเทศที่จดทะเบียนมายืนยัน ซึ่งขณะนี้เรือทั้ง 7 ลำ อยู่ในฐานะเรือไร้สัญชาติ
พล.ร.ท.สุรพล กล่าวต่อไปว่า ในการตรวจสอบเรือประมงนั้น ทาง ศรชล. จะดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งเรือไทย และเรือต่างชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการดำเนินการจับกุมเรือประมงทูน่ามาแล้ว 1 ลำ ในพื้นที่ จ.ระนอง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี และยืนยันว่าจะมีการดำเนินการอย่างเข้มงวดอย่างแน่นอน
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่ท่าเทียบเรือท่าศรีไทย ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต 3 หรือ ศรชล.เขต 3 พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต แรงงาน ตำรวจน้ำ และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมแถลงข่าวการควบคุมเรือประมงเบ็ดราวทูน่า จำนวน 7 ลำ ไว้ตรวจสอบ ประกอบด้วย เรือ YUTUNA NO.3, ABUBANT 1, ABUBANT 3, ABUBANT 6, ABUBANT 9, ABUBANT 12, SHUN LAI หลังตรวจสอบพบพิรุธเกี่ยวกับทะเบียนเรือทั้ง 7 ลำเป็นเรือต่างประเทศ ที่ระบุเป็นสัญชาติโบลิเวีย และมีการแจ้งเข้ามาพร้อมกันในลักษณะผิดสังเกต เนื่องจากเรือแต่ละลำมีเอกสารไม่เหมือนกัน โดยเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ได้มีการตรวจสอบกับทางประเทศโบลิเวีย เพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนเรือ และต่อมา ทางโบลิเวียได้แจ้งว่า เรือทั้ง 9 ลำ ไม่ได้จดทะเบียนที่โบลิเวีย หรือได้รับใบอนุญาตทำการประมงของโบลิเวียแต่อย่างใด
พล.ร.ท.สุรพล คุปตะพันธ์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาการทำประมงเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางศูนย์จึงได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายนั้นดำเนินการเหมือนกันทั้งในส่วนของเรือไทย และเรือต่างชาติ โดยในพื้นที่อันดามัน ได้มอบหมายให้ ศรชล.เขต 3 ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายของเรือประมงทั้งหมด
จนกระทั่งล่าสุด ทางศูนย์แก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้ ศรชล.เขต 3 ตรวจสอบเรือประมงต่างประเทศที่กล่าวอ้างสัญชาติโบลิเวียที่แจ้งขอเข้ามาจอดที่ท่าเทียบเรือศรีไทย และท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต จำนวน 9 ลำ เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย เรือ YUYUNA NO.1, YUTUNA NO.3, ABUBANT 1, ABUBANT 3, ABUBANT 6, ABUBANT 9, ABUBANT 12, SHUN LAI และ SHENG JI QUN ซึ่งจากการตรวจสอบของหน่วยงานต่างๆ พบว่า มีเรือที่จอดอยู่ จำนวน 7 ลำ ส่วนเรืออีก 2 ลำ ที่แจ้งเข้าแต่ไม่ประสงค์จะจอดคือ เรือ YUTUNA NO.1 และเรือ SHENG JI QUN 3 ที่ออกจากท่าเรือไปก่อนที่จะมีการตรวจสอบ โดยเรือทั้งหมดเป็นเรือเบ็ดราวทูน่า ซึ่งในการเข้ามาจอดทางบริษัทแจ้งว่าจะนำเรือมาจอดซ่อมทำตัวเรือ และจากการตรวจสอบพบว่า กัปตันเรือ และลูกเรือมีเอกสารถูกต้อง ซึ่งกัปตันเรือส่วนใหญ่เป็นชาวไต้หวัน ส่วนลูกเรือเป็นชาวอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ในเบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่าเรือ SHUN LIA และเรือ ABUBANT 9 ไม่แจ้งเข้าต่อเจ้าท่าภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดลำละ 5,000 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบทะเบียนเรือทุกลำพบมีข้อพิรุธ ซึ่งเรือทั้งหมดระบุว่าเป็นเรือสัญชาติโบลิเวีย แต่พบว่าเอกสารมีลักษณะไม่เหมือนกัน จึงได้สั่งการให้เจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ประสานตรวจสอบข้อมูลกับทางการโบลิเวีย ต่อมา ทางโบลิเวีย ได้ตอบกลับมาเกี่ยวกับการจดทะเบียนเรือ ว่า เรือประมงทั้ง 9 ลำ ไม่ได้จดทะเบียนที่ประเทศโบลิเวีย หรือมีใบอนุญาตทำการประมงของโบลิเวีย ทางเจ้าท่าจึงได้รวบหลังฐาน และแจ้งความดำเนินคดีต่อตัวแทนเจ้าของเรือ จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เซี่ยงเฮา จำกัด บริษัทยี้หงส์ ฟิซเชอรรี่ จำกัด และบริษัทซ่วน หยิง จำกัด โดยได้แจ้งความไว้ที่ สภ.วิชิต ในข้อหานำเอกสารปลอมมาจดแจ้งการรายงานเข้า-ออกท่าเรือ เป็นความผิดปลอมและเอกสารปลอมโดยแจ้งความอันเป็นเท็จ สำหรับเรือทั้ง 7 ลำนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมไว้ที่ท่าเรือ และไม่นำออกไปได้จนกว่าเจ้าของเรือจะมีเอกสารที่ถูกต้องที่ระสัญชาติ และประเทศที่จดทะเบียนมายืนยัน ซึ่งขณะนี้เรือทั้ง 7 ลำ อยู่ในฐานะเรือไร้สัญชาติ
พล.ร.ท.สุรพล กล่าวต่อไปว่า ในการตรวจสอบเรือประมงนั้น ทาง ศรชล. จะดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งเรือไทย และเรือต่างชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการดำเนินการจับกุมเรือประมงทูน่ามาแล้ว 1 ลำ ในพื้นที่ จ.ระนอง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี และยืนยันว่าจะมีการดำเนินการอย่างเข้มงวดอย่างแน่นอน