ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กรมการท่องเที่ยว เดินสายรับฟังความคิดเห็นการจัดทำมาตรฐานกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” หลังมีนักท่องเที่ยวประสบอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ ระบุเป็นกิจกรรมที่กำลังได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยว ในแต่ละปีทำรายได้มหาศาล
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (25 พ.ย.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต กรมการการท่องเที่ยว ซึ่งได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศึกษาการกำหนดร่างเกณฑ์มาตรฐานกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น การจัดทำมาตรฐานกิจกรรมผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการเข้าร่วม เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าว โดยมี น.ส.วันทนา แจ้งประจักษ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา
น.ส.วันทนา กล่าวว่า ปัจจุบันกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยขณะนี้ธุรกิจดังกล่าวมีให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย และมีผู้ประกอบการอยู่เป็นจำนวนมาก ทางกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของมาตรฐานการให้บริการ และเพื่อยกระดับการให้บริการ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบกับก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการ จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำมาตรฐานกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ขึ้น โดยว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดร่างดังกล่าว
น.ส.วันทนา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการการท่องเที่ยวมีเกิดขึ้นน้อยมาก แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานของกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งหลังจากมีมาตรฐานกำหนดไว้ การตรวจสอบก็จะสามารถทำได้ และผู้ให้บริการก็จะต้องผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด เชื่อว่านอกจากจะสร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องงเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
ขณะที่ ดร.เอกฉัตร ตันศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และอำนวยการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า หลังจากได้รับมอบหมายจากกรมการท่องเที่ยว ก็ เริ่มศึกษาข้อมูลด้วยการลงพื้นที่จริงทั้ง 4 ภาค ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำร่างมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า ในส่วนของผู้ให้บริการก็มีมาตรฐานในการให้บริการอยู่แล้ว ทั้งเรื่องอุปกรณ์ เรื่องคน และอื่นๆ แต่หลังจากนี้ การกำหนดมาตรฐานก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการจัดทำร่างมาตรฐานกำลังอยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดร่าง คาดว่าการดำเนินการจะเสร็จเร็วๆ นี้ ซึ่งนอกจากทำให้สถานประกอบการมีมาตรฐานเดียวกันแล้ว การกำหนดมาตรฐานการให้บริการที่ชัดเจนก็จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีมากกว่า 90% ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 30 ราย ทำรายได้แต่ละปีประมาณ 1,000 ล้านบาท และการตรวจสอบกิจกรรมการของผู้ประกอบการพบว่า ส่วนใหญ่ดำเนินการตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เชียงใหม่ พบว่า อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคนมีมาตรฐานสากลอยู่แล้ว แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการเล่นของนักท่องเที่ยวเองที่ไม่ฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (25 พ.ย.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต กรมการการท่องเที่ยว ซึ่งได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศึกษาการกำหนดร่างเกณฑ์มาตรฐานกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น การจัดทำมาตรฐานกิจกรรมผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการเข้าร่วม เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าว โดยมี น.ส.วันทนา แจ้งประจักษ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา
น.ส.วันทนา กล่าวว่า ปัจจุบันกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยขณะนี้ธุรกิจดังกล่าวมีให้บริการครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย และมีผู้ประกอบการอยู่เป็นจำนวนมาก ทางกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของมาตรฐานการให้บริการ และเพื่อยกระดับการให้บริการ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบกับก่อนหน้านี้มีเหตุการณ์ประสบอุบัติเหตุจากการใช้บริการ จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำมาตรฐานกิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline Standard” ขึ้น โดยว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดร่างดังกล่าว
น.ส.วันทนา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บริการการท่องเที่ยวมีเกิดขึ้นน้อยมาก แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานของกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งหลังจากมีมาตรฐานกำหนดไว้ การตรวจสอบก็จะสามารถทำได้ และผู้ให้บริการก็จะต้องผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด เชื่อว่านอกจากจะสร้างความปลอดภัยให้แก่นักท่องงเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง
ขณะที่ ดร.เอกฉัตร ตันศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และอำนวยการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า หลังจากได้รับมอบหมายจากกรมการท่องเที่ยว ก็ เริ่มศึกษาข้อมูลด้วยการลงพื้นที่จริงทั้ง 4 ภาค ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อทำร่างมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า ในส่วนของผู้ให้บริการก็มีมาตรฐานในการให้บริการอยู่แล้ว ทั้งเรื่องอุปกรณ์ เรื่องคน และอื่นๆ แต่หลังจากนี้ การกำหนดมาตรฐานก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการจัดทำร่างมาตรฐานกำลังอยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดร่าง คาดว่าการดำเนินการจะเสร็จเร็วๆ นี้ ซึ่งนอกจากทำให้สถานประกอบการมีมาตรฐานเดียวกันแล้ว การกำหนดมาตรฐานการให้บริการที่ชัดเจนก็จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยวผจญภัยโหนสลิง “Zipline” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีมากกว่า 90% ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 30 ราย ทำรายได้แต่ละปีประมาณ 1,000 ล้านบาท และการตรวจสอบกิจกรรมการของผู้ประกอบการพบว่า ส่วนใหญ่ดำเนินการตามมาตรฐานสากลอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่เชียงใหม่ พบว่า อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคนมีมาตรฐานสากลอยู่แล้ว แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการเล่นของนักท่องเที่ยวเองที่ไม่ฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่