ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้ค้าส่งน้ำมัน หรือ จ็อปเบอร์ ภาคใต้ ร้องรัฐมนตรีพลังงานให้ตรวจสอบมาตรฐาน ปตท. ชี้ทำตัวเหมือนไม่ใช่บริษัทมหาชน
วันนี้ (17 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องจากผู้ประกอบการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงใน จ.สงขลา และใกล้เคียง ถึงความไม่มีมาตรฐานในการขายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ค้าส่ง หรือจ็อปเบอร์ โดยตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมเป็นต้นมา คลังน้ำมัน ปตท.ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ได้เปลี่ยนราคาขายปลีก และค้าส่งวันละ 3-4 รอบด้วยกัน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ค้าส่งน้ำมันซึ่งรับออเดอร์จากลูกค้าที่เป็นปั๊มน้ำมัน และเป็นผู้ประกอบการต่างๆ หลังจากที่ได้แจ้งราคาไปแล้ว รถบรรทุกน้ำมัน ยังไม่ทันเข้าไปรับน้ำมัน หรืออยู่ระหว่างการรับน้ำมันอยู่ในคลังก็มีการแจ้งเปลี่ยนราคาใหม่ ทำให้เกิดการขาดทุน และสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 16 ส.ค. คลังน้ำมัน ปตท.ได้แจ้งราคาวันเดียวมีการเปลี่ยนแปลงถึง 4 รอบ เช่นเวลา 09.00 น. เป็นราคาหนึ่ง เวลา 09.30 น.เป็นอีกราคาหนึ่ง เวลา 14.30 น. มีการเปลี่ยนราคาใหม่ เวลา 14.30 น. มีการแจ้งเปลี่ยนราคา และเวลา 17.00 น. ก็มีการเปลี่ยนขึ้นราคาอีกครั้ง สรุปแล้วมีการปรับราคาขึ้นถึงวันละ 4 รอบ
โดยจ็อปเบอร์รายใหญ่ของภาคใต้รายหนึ่งได้กล่าวว่า ปตท. เป็นบริษัมมหาชน ควรที่จะมาตรฐานในการทำการค้า ไม่ใช่ราคาน้ำมันมีความไม่แน่นอน เปลี่ยนวันละ 3-4 รอบ ซึ่งเหมือนกับเป็นการค้าของบริษัทกิ๊กก๊อกที่ไม่มีมาตรฐานในการทำการค้า ทั้งที่เป็นบริษัท มหาชน ที่ใหญ่ในระดับติดอันดับโลกในธุรกิจการค้าน้ำมัน
ในขณะที่น้ำมันดิบโลก และน้ำมันสำเร็จรูปของในต่างประเทศ และในตะวันออกกลาง รวมทั้งน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกยังมีการเปลี่ยนราคาวันละ 1 ครั้งเท่านั้น
และนอกจากจะไม่มีมาตรฐานในการกำหนดราคาขายปลีก ขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ตัวแทนจำหน่าย หรือจ็อปเบอร์ แล้ว คลังน้ำมัน ปตท.ที่จังหวัดสงขลา ยังมีการทำลายการค้าน้ำมันของ จ็อปเบอร์ ด้วยการปล่อยให้มีการนำเอาโควตาน้ำมันอุตสาหรรม ซึ่งโดยกฎระเบียบต้องขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น มาขายแข่งให้แก่ปั๊มน้ำมัน และผู้ต้องซื้อทั่วๆไป ในราคาที่ถูกกว่า เป็นการทำลายการค้าส่งของจ็อปเบอร์
เช่น ในวันที่ 17 ส.ค. ปตท.กำหนดราคาขายน้ำมันดีเซล ให้แก่ จ็อปเบอร์ในราคาลิคตรละ 22.05 แต่กลับให้ บริษัทที่เป็นตัวแทนขายน้ำมันในภาคอุตสาหกรรม นำน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมมาขายให้แก่ปั๊มน้ำมันในราคาลิตรละ 21.78 บาท ซึ่งต่างกันลิตรละเกือบ 30 สตางค์ ทำให้ลูกค้าของจ็อปเบอร์ ต้องหันไปซื้อน้ำมันอุตสาหรรมไปขายในปั๊มแทน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่วงการค้าน้ำมันเป็นอย่างยิ่ง
โดยผู้ค้ามันที่เป็นคู่ค้าของ ปตท.ที่ได้รับผลกระทบได้หารือกันว่าจะทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.อนัตนพร กาญจรัตน์ รมว.พลังงาน และซีอีโอ ของ บริษัท ปตท.ให้ทราบถึงความไม่มีมาตรฐานในการขายน้ำมันของคลังน้ำมัน จ.สงขลา รวมทั้งการนำน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมมาขายในราคาถูกกว่า ซึ่งเป็นการทำลายจ็อปเอบร์ที่เป็นคู่ค้าของ ปตท.เอง นอกจากนั้น จ็อปเบอร์รายใหญ่ยังได้หารือกันว่าอาจจะหยุดซื้อนำมันจากคลัง ปตท. ไปซื้อจากคลังอื่นๆ เช่น เอสโซ่ คาลเท็กซ์ เพื่อให้ ปตท.แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นางนารีรัตน์ ซึ่งเป็นจ็อปเบอร์รายใหญ่ เจ้าของ หจก.สงขาลปิโตรเลียม ว่า การที่มีผู้ค้าน้ำมันร้องเรียนมามีข้อเท็จจริงอย่างไร ซึ่งนางนารีรัตน์ กล่าวว่า เป็นไปอย่างที่มีการร้องเรียน โดยตนเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งเรื่องราคาที่ไร้มาตรฐาน ทำให้ขาดทุน และถูกลูกค้าตำหนิ รวมทั้งในเรื่องของการขายน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมให้แก่ลูกค้าเจ้าของปั๊มน้ำมันในราคาถูก โดยตนเองได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายขายของ ปตท.ทราบถึงความเดือดร้อนทั้ง 2 เรื่องมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
วันนี้ (17 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องจากผู้ประกอบการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงใน จ.สงขลา และใกล้เคียง ถึงความไม่มีมาตรฐานในการขายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ค้าส่ง หรือจ็อปเบอร์ โดยตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคมเป็นต้นมา คลังน้ำมัน ปตท.ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ได้เปลี่ยนราคาขายปลีก และค้าส่งวันละ 3-4 รอบด้วยกัน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ค้าส่งน้ำมันซึ่งรับออเดอร์จากลูกค้าที่เป็นปั๊มน้ำมัน และเป็นผู้ประกอบการต่างๆ หลังจากที่ได้แจ้งราคาไปแล้ว รถบรรทุกน้ำมัน ยังไม่ทันเข้าไปรับน้ำมัน หรืออยู่ระหว่างการรับน้ำมันอยู่ในคลังก็มีการแจ้งเปลี่ยนราคาใหม่ ทำให้เกิดการขาดทุน และสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 16 ส.ค. คลังน้ำมัน ปตท.ได้แจ้งราคาวันเดียวมีการเปลี่ยนแปลงถึง 4 รอบ เช่นเวลา 09.00 น. เป็นราคาหนึ่ง เวลา 09.30 น.เป็นอีกราคาหนึ่ง เวลา 14.30 น. มีการเปลี่ยนราคาใหม่ เวลา 14.30 น. มีการแจ้งเปลี่ยนราคา และเวลา 17.00 น. ก็มีการเปลี่ยนขึ้นราคาอีกครั้ง สรุปแล้วมีการปรับราคาขึ้นถึงวันละ 4 รอบ
โดยจ็อปเบอร์รายใหญ่ของภาคใต้รายหนึ่งได้กล่าวว่า ปตท. เป็นบริษัมมหาชน ควรที่จะมาตรฐานในการทำการค้า ไม่ใช่ราคาน้ำมันมีความไม่แน่นอน เปลี่ยนวันละ 3-4 รอบ ซึ่งเหมือนกับเป็นการค้าของบริษัทกิ๊กก๊อกที่ไม่มีมาตรฐานในการทำการค้า ทั้งที่เป็นบริษัท มหาชน ที่ใหญ่ในระดับติดอันดับโลกในธุรกิจการค้าน้ำมัน
ในขณะที่น้ำมันดิบโลก และน้ำมันสำเร็จรูปของในต่างประเทศ และในตะวันออกกลาง รวมทั้งน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกยังมีการเปลี่ยนราคาวันละ 1 ครั้งเท่านั้น
และนอกจากจะไม่มีมาตรฐานในการกำหนดราคาขายปลีก ขายส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ตัวแทนจำหน่าย หรือจ็อปเบอร์ แล้ว คลังน้ำมัน ปตท.ที่จังหวัดสงขลา ยังมีการทำลายการค้าน้ำมันของ จ็อปเบอร์ ด้วยการปล่อยให้มีการนำเอาโควตาน้ำมันอุตสาหรรม ซึ่งโดยกฎระเบียบต้องขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น มาขายแข่งให้แก่ปั๊มน้ำมัน และผู้ต้องซื้อทั่วๆไป ในราคาที่ถูกกว่า เป็นการทำลายการค้าส่งของจ็อปเบอร์
เช่น ในวันที่ 17 ส.ค. ปตท.กำหนดราคาขายน้ำมันดีเซล ให้แก่ จ็อปเบอร์ในราคาลิคตรละ 22.05 แต่กลับให้ บริษัทที่เป็นตัวแทนขายน้ำมันในภาคอุตสาหกรรม นำน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมมาขายให้แก่ปั๊มน้ำมันในราคาลิตรละ 21.78 บาท ซึ่งต่างกันลิตรละเกือบ 30 สตางค์ ทำให้ลูกค้าของจ็อปเบอร์ ต้องหันไปซื้อน้ำมันอุตสาหรรมไปขายในปั๊มแทน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่วงการค้าน้ำมันเป็นอย่างยิ่ง
โดยผู้ค้ามันที่เป็นคู่ค้าของ ปตท.ที่ได้รับผลกระทบได้หารือกันว่าจะทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.อนัตนพร กาญจรัตน์ รมว.พลังงาน และซีอีโอ ของ บริษัท ปตท.ให้ทราบถึงความไม่มีมาตรฐานในการขายน้ำมันของคลังน้ำมัน จ.สงขลา รวมทั้งการนำน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมมาขายในราคาถูกกว่า ซึ่งเป็นการทำลายจ็อปเอบร์ที่เป็นคู่ค้าของ ปตท.เอง นอกจากนั้น จ็อปเบอร์รายใหญ่ยังได้หารือกันว่าอาจจะหยุดซื้อนำมันจากคลัง ปตท. ไปซื้อจากคลังอื่นๆ เช่น เอสโซ่ คาลเท็กซ์ เพื่อให้ ปตท.แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นางนารีรัตน์ ซึ่งเป็นจ็อปเบอร์รายใหญ่ เจ้าของ หจก.สงขาลปิโตรเลียม ว่า การที่มีผู้ค้าน้ำมันร้องเรียนมามีข้อเท็จจริงอย่างไร ซึ่งนางนารีรัตน์ กล่าวว่า เป็นไปอย่างที่มีการร้องเรียน โดยตนเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งเรื่องราคาที่ไร้มาตรฐาน ทำให้ขาดทุน และถูกลูกค้าตำหนิ รวมทั้งในเรื่องของการขายน้ำมันในภาคอุตสาหกรรมให้แก่ลูกค้าเจ้าของปั๊มน้ำมันในราคาถูก โดยตนเองได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายขายของ ปตท.ทราบถึงความเดือดร้อนทั้ง 2 เรื่องมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข