ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ช่วยแล้ว 95 พนักงาน “ทรานลี่” หลังบริษัทถูกปิด เหลืออีกกว่า 300 ราย อยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบ ขณะที่จัดหางานจังหวัดภูเก็ต แถลงผลการปฏิบัติงาน 5 ด้านสำคัญ ในรอบปีงบประมาณ 59 จับกุมดำเนินคดีนายจ้าง 17 ราย คนต่างด้าว 131 คน ที่มีพฤติการณ์แย่งอาชีพคนไทย
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต นายพิทูร ดำสาคร จัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้แถลงถึงผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ 2559 ว่า ในรอบปีที่ผ่านมา สำนักจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ของจังหวัด และของกรมการจัดหางาน ตามภารกิจในทุกด้านอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยยึดหลักมีคุณธรรม มุ่งมั่นบริการ ทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์ใน 5 ประเด็นสำคัญ
ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างจากบริษัททราลลี่ เทรเวล จำกัด ซึ่งประกอบกิจการทัวร์ท่องเที่ยว และบริษัทในเครืออีก 13 บริษัท ซึ่งอยู่ใน จ.ภูเก็ต 10 บริษัท จ.พังงา 3 บริษัท ได้ถูกสั่งปิดกิจการเนื่องจากผู้บริหารใช้เอกสารปลอมในการขอจดทะเบียนจัดทั้ง ส่งผลให้มีผู้ถูกเลิกจ้าง 421 คน ขณะนี้ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ผู้ถูกเลิกจ้างด้วยการขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน จำนวน 95 คน โดยได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือนครั้งสุดท้ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ช่วยเหลือด้านการรับสมัครงาน จำนวน 95 คน ได้รับการบรรจุงาน 9 คน เดินทางกลับภูมิลำเนา 4 คน มีผู้ถูกเลิกจ้างที่อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน จำนวน 313 คน จัดเตรียมตำแหน่งงานว่างที่ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 244 แห่ง ตำแหน่งงานว่าง 111 ตำแหน่ง รวม 855 อัตรา นอกจากนั้น ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตมีเฟซบุ๊ก และได้สร้างไลน์กลุ่มทรานลี่ เพื่อประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือด้านต่างๆ
นายพิทูร ยังกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของด้านการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่มีพฤติการณ์แย่งอาชีพคนไทย และลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ/นายจ้าง จำนวน 96 แห่ง คนต่างด้าว จำนวน 985 คน ในจำนวนนี้มีการจับกุมดำเนินคดีต่อนายจ้าง 17 ราย คนต่างด้าว 131 คน ทั้งนี้ การปราบปราม จับกุม ดำเนินคดี คนต่างด้าวจะยังคงต้องปราบปราม จับกุมต่อไป เพื่อสงวนอาชีพไว้ให้คนไทย โดยเน้นหนักที่นายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ด้านการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (บัตรสีชมพู) ณ ศูนย์ One Stop Service หรือ oss เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ถึงวันที่ 10 ส.ค.59 ที่ศาลาประชาคมจังหวัดภูเก็ต มีผลการจดทะเบียน นายจ้าง 12,203 ราย แรงงานต่างด้าว 32,958 คน (พม่า 32,985 (คิดเป็น 98.21%) ลาว 392 คน (1.22%) กัมพูชา 183 คน (0.57%) ) ผู้ติดตาม 410 คน
ด้านการดำเนินคดีเรือประมงที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ตามนโยบายของ คสช. โดยร่วมทำงานที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงภูเก็ต (PIPO) เป็นระยะเวลา 16 เดือน มีการดำเนินคดีเรือประมงที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหาย จำนวน 32 ลำ ซึ่งถือเป็นเรือนอกน่านน้ำไทย ข้อหาจ้างคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ตามาตรา 27 พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อการจ้างคนต่างด้าวหนึ่งคน มีรายละเอียดดังนี้ นายจ้าง 8 ราย เรือ 32 ลำ ความคืบหน้าของคดี พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาแล้วทั้งหมด 32 ลำ อยู่ในขั้นตอนอัยการสูงสุด 16 ลำ และอยู่ในขั้นตอนอัยการ 16 ลำ ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะยังคงดำเนินการต่อตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
ด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการและผู้สูงอายุ ตามที่กรมการจัดหางานมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุ ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ พร้อมเคาน์เตอร์การให้บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ ทางสำนักงานจังหวัดภูเก็ต จึงได้เปิดศูนย์บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ณ สำนักงานฯ มีกิจกรรมประกอบด้วย รับขึ้นทะเบียนคนพิการและผู้สูงอายุ มีคนพิการและผู้สูงอายุมาขึ้นทะเบียนแล้ว 20 คน เชิญนายจ้าง/สถานประกอบการที่ประสงค์จ้างคนพิการและผู้สูงอายุมาร่วมสัมภาษณ์งาน 4 บริษัท ตำแหน่งงาน 8 ตำแหน่ง รวม 12 อัตรา ผู้พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย ได้รับการบรรจุงาน 1 คน (รายได้ 9,000 บาท/เดือน) ทั้งนี้ สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต พร้อมให้บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงแรงงานกำหนด
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต นายพิทูร ดำสาคร จัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้แถลงถึงผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ 2559 ว่า ในรอบปีที่ผ่านมา สำนักจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ของจังหวัด และของกรมการจัดหางาน ตามภารกิจในทุกด้านอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยยึดหลักมีคุณธรรม มุ่งมั่นบริการ ทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์ใน 5 ประเด็นสำคัญ
ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างจากบริษัททราลลี่ เทรเวล จำกัด ซึ่งประกอบกิจการทัวร์ท่องเที่ยว และบริษัทในเครืออีก 13 บริษัท ซึ่งอยู่ใน จ.ภูเก็ต 10 บริษัท จ.พังงา 3 บริษัท ได้ถูกสั่งปิดกิจการเนื่องจากผู้บริหารใช้เอกสารปลอมในการขอจดทะเบียนจัดทั้ง ส่งผลให้มีผู้ถูกเลิกจ้าง 421 คน ขณะนี้ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ผู้ถูกเลิกจ้างด้วยการขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน จำนวน 95 คน โดยได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือนครั้งสุดท้ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ช่วยเหลือด้านการรับสมัครงาน จำนวน 95 คน ได้รับการบรรจุงาน 9 คน เดินทางกลับภูมิลำเนา 4 คน มีผู้ถูกเลิกจ้างที่อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน จำนวน 313 คน จัดเตรียมตำแหน่งงานว่างที่ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 244 แห่ง ตำแหน่งงานว่าง 111 ตำแหน่ง รวม 855 อัตรา นอกจากนั้น ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตมีเฟซบุ๊ก และได้สร้างไลน์กลุ่มทรานลี่ เพื่อประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือด้านต่างๆ
นายพิทูร ยังกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของด้านการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่มีพฤติการณ์แย่งอาชีพคนไทย และลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ/นายจ้าง จำนวน 96 แห่ง คนต่างด้าว จำนวน 985 คน ในจำนวนนี้มีการจับกุมดำเนินคดีต่อนายจ้าง 17 ราย คนต่างด้าว 131 คน ทั้งนี้ การปราบปราม จับกุม ดำเนินคดี คนต่างด้าวจะยังคงต้องปราบปราม จับกุมต่อไป เพื่อสงวนอาชีพไว้ให้คนไทย โดยเน้นหนักที่นายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ด้านการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา (บัตรสีชมพู) ณ ศูนย์ One Stop Service หรือ oss เปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ถึงวันที่ 10 ส.ค.59 ที่ศาลาประชาคมจังหวัดภูเก็ต มีผลการจดทะเบียน นายจ้าง 12,203 ราย แรงงานต่างด้าว 32,958 คน (พม่า 32,985 (คิดเป็น 98.21%) ลาว 392 คน (1.22%) กัมพูชา 183 คน (0.57%) ) ผู้ติดตาม 410 คน
ด้านการดำเนินคดีเรือประมงที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ตามนโยบายของ คสช. โดยร่วมทำงานที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงภูเก็ต (PIPO) เป็นระยะเวลา 16 เดือน มีการดำเนินคดีเรือประมงที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหาย จำนวน 32 ลำ ซึ่งถือเป็นเรือนอกน่านน้ำไทย ข้อหาจ้างคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ตามาตรา 27 พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อการจ้างคนต่างด้าวหนึ่งคน มีรายละเอียดดังนี้ นายจ้าง 8 ราย เรือ 32 ลำ ความคืบหน้าของคดี พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาแล้วทั้งหมด 32 ลำ อยู่ในขั้นตอนอัยการสูงสุด 16 ลำ และอยู่ในขั้นตอนอัยการ 16 ลำ ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะยังคงดำเนินการต่อตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
ด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการและผู้สูงอายุ ตามที่กรมการจัดหางานมีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุ ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ พร้อมเคาน์เตอร์การให้บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ ทางสำนักงานจังหวัดภูเก็ต จึงได้เปิดศูนย์บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ณ สำนักงานฯ มีกิจกรรมประกอบด้วย รับขึ้นทะเบียนคนพิการและผู้สูงอายุ มีคนพิการและผู้สูงอายุมาขึ้นทะเบียนแล้ว 20 คน เชิญนายจ้าง/สถานประกอบการที่ประสงค์จ้างคนพิการและผู้สูงอายุมาร่วมสัมภาษณ์งาน 4 บริษัท ตำแหน่งงาน 8 ตำแหน่ง รวม 12 อัตรา ผู้พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย ได้รับการบรรจุงาน 1 คน (รายได้ 9,000 บาท/เดือน) ทั้งนี้ สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต พร้อมให้บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงแรงงานกำหนด