ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต แจงข้อเท็จจริงทุ่นตรวจวัดสึนามิไม่แสดงสถานะทำงาน ระบุศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังสามารถใช้ทุ่นตรวจวัดสึนามิ ในโครงข่ายเดียวกับการเชื่อมโยงสัญญาณทั่วโลกของ NOAA ประเทศสหรัฐฯ ขณะที่อุปกรณ์ตรวจวัดระบบน้ำที่เกาะเมียง จ.พังงา สามารถใช้ยืนยันการเกิดคลื่นสึนามิได้อีกทางหนึ่ง และแจ้งเตือนในการเตรียมความพร้อมป้องกันสึนามิ
วันนี้ (25 ก.ค.) นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จังหวัดภูเก็ต (ภาคประชาชน) ได้โพสต์ระบุทุ่นเตือนภัยคลื่นสึนามิ หมายเลข 23401 ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ในทะเลอันดามัน ห่างจากฝั่ง 1,100 กิโลเมตร ไม่ส่งข้อความของคลื่นกลับมาเป็นเวลา 80 วัน ซึ่งจังหวัดภูเก็ต ได้ขอทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และได้รับคำชี้แจงจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ว่า ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องไปแล้ว โดยได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับทุ่นตรวจวัดสึนามิดังกล่าว ซึ่งไม่แสดงสถานะทำงาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559
ส่วนการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังสามารถใช้ทุ่นตรวจวัดสึนามิที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกับการเชื่อมโยงสัญญาณระบบทุ่นตรวจวัดสึนามิทั่วโลกของ NOAA ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดสึนามิของประเทศอินเดีย และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นทุ่นที่อยู่ใกล้กับทุ่นตรวจวัดสึนามิ 23401 ขณะที่อุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะเมียง จ.พังงา ก็สามารถใช้ยืนยันการเกิดคลื่นสึนามิได้อีกทางหนึ่ง และแจ้งเตือนในการเตรียมความพร้อมป้องกันสึนามิ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีโครงการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในฝั่งอันดามันเพิ่มเติม ทั้งนี้ การดำเนินการติดตั้ง และวางทุ่นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และคาดว่าจะสามารถดำเนินการติดตั้งทุ่นได้อย่างช้าประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 นี้ ฉะนั้นในส่วนของประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้ มั่นใจได้ว่ากรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวในทะเลจะมีการเตือนภัยล่วงหน้าอย่างแน่นอน
วันนี้ (25 ก.ค.) นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหว จังหวัดภูเก็ต (ภาคประชาชน) ได้โพสต์ระบุทุ่นเตือนภัยคลื่นสึนามิ หมายเลข 23401 ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ในทะเลอันดามัน ห่างจากฝั่ง 1,100 กิโลเมตร ไม่ส่งข้อความของคลื่นกลับมาเป็นเวลา 80 วัน ซึ่งจังหวัดภูเก็ต ได้ขอทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และได้รับคำชี้แจงจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ว่า ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องไปแล้ว โดยได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับทุ่นตรวจวัดสึนามิดังกล่าว ซึ่งไม่แสดงสถานะทำงาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559
ส่วนการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังสามารถใช้ทุ่นตรวจวัดสึนามิที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกับการเชื่อมโยงสัญญาณระบบทุ่นตรวจวัดสึนามิทั่วโลกของ NOAA ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดสึนามิของประเทศอินเดีย และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นทุ่นที่อยู่ใกล้กับทุ่นตรวจวัดสึนามิ 23401 ขณะที่อุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำที่เกาะเมียง จ.พังงา ก็สามารถใช้ยืนยันการเกิดคลื่นสึนามิได้อีกทางหนึ่ง และแจ้งเตือนในการเตรียมความพร้อมป้องกันสึนามิ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีโครงการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในฝั่งอันดามันเพิ่มเติม ทั้งนี้ การดำเนินการติดตั้ง และวางทุ่นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และคาดว่าจะสามารถดำเนินการติดตั้งทุ่นได้อย่างช้าประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 นี้ ฉะนั้นในส่วนของประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้ มั่นใจได้ว่ากรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวในทะเลจะมีการเตือนภัยล่วงหน้าอย่างแน่นอน