ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผอ.ทอท.ภูเก็ต ระบุมั่นใจโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือน ก.ย.นี้ เผยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนทดลองใช้ระบบต่างๆ เพื่อให้บริการผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตั้งทีมงาน HKT PR NETWORK เพื่อประชาสัมพันธ์ และรองรับผู้โดยสารที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
เมื่อคืนที่ผ่านมา ณ ร้านแรด อ.เมือง จ.ภูเก็ต นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แถลงถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศภูเก็ต เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี โดยใช้งบประมาณในการพัฒนากว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่ง ทอท.ได้เซ็นสัญญาจ้าง บริษัท ชิโน ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 21 ก.ย.55 และ ผู้รับจ้างก่อสร้างได้เริ่มงานแล้วในเดือน ต.ค.55 ที่ผ่านมา นอกจากจะมีการแถลงความคืบหน้าโครงการแล้ว ยังได้มีการเปิดตัวแนะนำทีมงาน HKT PR NETWORK ของท่าอากาศยานภูเก็ตอีกด้วย
นางมนฤดี กล่าวว่า ทภก.ทอท. ได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต (ปีงบประมาณ 2553-2557) ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารสนับสนุนและอาคารทดแทน สร้างหลุมจอดอากาศยาน 10 หลุมจอด สะพานเทียบเครื่องบิน 4 หลุมจอด และระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทางท่อ ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตจะสามารถให้บริการผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่งได้ประมาน 2,400 คน และรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 12.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งสามารถรองรับได้จนถึงปี พ.ศ.2563
สำหรับการปรับปรุงพื้นที่ในส่วนผู้โดยสารขาออก ประกอบไปด้วย 1.ชานชาลาส่งผู้โดยสารขาออก 2.โถงผู้โดยสารขาเข้า ซึ่งประกอบไปด้วย เคาน์เตอร์เช็กอินทั้งหมด 96 ชุดความยาวช่อง 8.0 เมตร 3.โถงตรวจหนังสือเดินทางขาออก ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 34 ชุดความยาวช่องคิว 9.2 เมตร 4.พื้นที่ตรวจสัมภาระผู้โดยสาร ประกอบด้วย เครื่อง X-Ray ตรวจสัมภาระผู้โดยสารทั้งหมด 11 เครื่อง ความยาวช่องคิว 5.0 เมตร 5.โถงรอผู้โดยสารขาออก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย Contact Hold Room มีพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร และ ส่วน Bus Gate Hold Room มีพื้นที่ 1.800 ตารางเมตร 6.พื้นที่ขนถ่ายกระเป๋าผู้โดยสารมีพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร หลุมจอดแบบ Cate จำนวน 4 หลุม
การปรับปรุงในส่วนของผู้โดยสารขาเข้า ประกอบด้วย 1.โถงตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 38 ชุด ความยาวคิว 18 เมตร 2. สายพานรับกระเป๋าขาเขา ประกอบด้วย สายพาน 5 ชุด ความยาวรวมทั้งสิ้น 380 เมตร 3.พื้นที่ตรวจของศุลกากร ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจสัมภาระทั้งหมด 8 ชุด ความยาวช่องคิว 9.2 เมตร 4.โถงรองรับผู้โดยสารขาเขา มีพื้นที่ 5,910 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ปรับอากาศ 2,980 ตารางเมตร และ 5.ชานชาลาส่งผู้โดยสารขาเข้า มีความยาว 300 เมตร
นางมนฤดี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้โครงการฯ อยู่ระหว่างการทดลองใช้งานระบบต่างๆ (TRIAL) ดังนี้ ประกอบด้วย ระบบ ICT ซึ่งทั้งระบบ ประกอบด้วย ระบบเครือข่าย ระบบสัญญาณนาฬิกากลาง ระบบควมคุมการเข้าออก ระบบกล้องวงจรปิด ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบแสดงข้อมูลตารางการบิน ระบบเสียงประกาศและเสียงประกาศอัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยระบบโทรศัพท์ นอกจากนั้น ทางโครงการยังอยู่ระหว่างการทดลองระบบสายพานลำเลียงสัมภาระ
ทั้งนี้ ส่วนราชการ สายการบิน และผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ได้เริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแล้ว และ ทภก.ได้กำหนดให้มีการทดสอบบูรณาการทุกระบบ (Full Scale Trial) ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม-19 สิงหาคม 2559 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้โดยสาร และสายการบินอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในเดือนกันยายน 2559 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทภก. จะปิดปรับปรุงอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานภูเก็ต ที่ให้เปิดบริการในปัจจุบัน เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศต่อไป
นางมนฤดี กล่าวต่อไปว่า ส่วนการตั้งทีม HKT PR Network หรือเครือข่ายประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานภูเก็ต นั้น HKT PR Network มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ในเรื่องที่ส่วนงานนั้นๆ รับผิดชอบ เช่น ฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน ก็จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนเที่ยวบิน เป็นต้น รวมทั้งในกรณีที่มีปัญหาข้อขัดข้อง หรือประเด็นเกี่ยวกับข่าว จะมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมส่งข้อมูลให้ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ
เมื่อคืนที่ผ่านมา ณ ร้านแรด อ.เมือง จ.ภูเก็ต นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แถลงถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศภูเก็ต เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 12.5 ล้านคนต่อปี โดยใช้งบประมาณในการพัฒนากว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่ง ทอท.ได้เซ็นสัญญาจ้าง บริษัท ชิโน ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 21 ก.ย.55 และ ผู้รับจ้างก่อสร้างได้เริ่มงานแล้วในเดือน ต.ค.55 ที่ผ่านมา นอกจากจะมีการแถลงความคืบหน้าโครงการแล้ว ยังได้มีการเปิดตัวแนะนำทีมงาน HKT PR NETWORK ของท่าอากาศยานภูเก็ตอีกด้วย
นางมนฤดี กล่าวว่า ทภก.ทอท. ได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต (ปีงบประมาณ 2553-2557) ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารสนับสนุนและอาคารทดแทน สร้างหลุมจอดอากาศยาน 10 หลุมจอด สะพานเทียบเครื่องบิน 4 หลุมจอด และระบบเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทางท่อ ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตจะสามารถให้บริการผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่งได้ประมาน 2,400 คน และรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 12.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งสามารถรองรับได้จนถึงปี พ.ศ.2563
สำหรับการปรับปรุงพื้นที่ในส่วนผู้โดยสารขาออก ประกอบไปด้วย 1.ชานชาลาส่งผู้โดยสารขาออก 2.โถงผู้โดยสารขาเข้า ซึ่งประกอบไปด้วย เคาน์เตอร์เช็กอินทั้งหมด 96 ชุดความยาวช่อง 8.0 เมตร 3.โถงตรวจหนังสือเดินทางขาออก ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 34 ชุดความยาวช่องคิว 9.2 เมตร 4.พื้นที่ตรวจสัมภาระผู้โดยสาร ประกอบด้วย เครื่อง X-Ray ตรวจสัมภาระผู้โดยสารทั้งหมด 11 เครื่อง ความยาวช่องคิว 5.0 เมตร 5.โถงรอผู้โดยสารขาออก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย Contact Hold Room มีพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร และ ส่วน Bus Gate Hold Room มีพื้นที่ 1.800 ตารางเมตร 6.พื้นที่ขนถ่ายกระเป๋าผู้โดยสารมีพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร หลุมจอดแบบ Cate จำนวน 4 หลุม
การปรับปรุงในส่วนของผู้โดยสารขาเข้า ประกอบด้วย 1.โถงตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง 38 ชุด ความยาวคิว 18 เมตร 2. สายพานรับกระเป๋าขาเขา ประกอบด้วย สายพาน 5 ชุด ความยาวรวมทั้งสิ้น 380 เมตร 3.พื้นที่ตรวจของศุลกากร ประกอบด้วยเคาน์เตอร์ตรวจสัมภาระทั้งหมด 8 ชุด ความยาวช่องคิว 9.2 เมตร 4.โถงรองรับผู้โดยสารขาเขา มีพื้นที่ 5,910 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ปรับอากาศ 2,980 ตารางเมตร และ 5.ชานชาลาส่งผู้โดยสารขาเข้า มีความยาว 300 เมตร
นางมนฤดี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้โครงการฯ อยู่ระหว่างการทดลองใช้งานระบบต่างๆ (TRIAL) ดังนี้ ประกอบด้วย ระบบ ICT ซึ่งทั้งระบบ ประกอบด้วย ระบบเครือข่าย ระบบสัญญาณนาฬิกากลาง ระบบควมคุมการเข้าออก ระบบกล้องวงจรปิด ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบแสดงข้อมูลตารางการบิน ระบบเสียงประกาศและเสียงประกาศอัตโนมัติ ระบบบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยระบบโทรศัพท์ นอกจากนั้น ทางโครงการยังอยู่ระหว่างการทดลองระบบสายพานลำเลียงสัมภาระ
ทั้งนี้ ส่วนราชการ สายการบิน และผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ได้เริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแล้ว และ ทภก.ได้กำหนดให้มีการทดสอบบูรณาการทุกระบบ (Full Scale Trial) ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม-19 สิงหาคม 2559 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้โดยสาร และสายการบินอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในเดือนกันยายน 2559 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทภก. จะปิดปรับปรุงอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานภูเก็ต ที่ให้เปิดบริการในปัจจุบัน เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศต่อไป
นางมนฤดี กล่าวต่อไปว่า ส่วนการตั้งทีม HKT PR Network หรือเครือข่ายประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยานภูเก็ต นั้น HKT PR Network มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ในเรื่องที่ส่วนงานนั้นๆ รับผิดชอบ เช่น ฝ่ายปฏิบัติการเขตการบิน ก็จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนเที่ยวบิน เป็นต้น รวมทั้งในกรณีที่มีปัญหาข้อขัดข้อง หรือประเด็นเกี่ยวกับข่าว จะมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมส่งข้อมูลให้ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ