สุราษฎร์ธานี - ปลัดกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำชับเจ้าหน้าที่บ้านศรีสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วยเหลือชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรอการคัดเลือกเดินทางสู่ประเทศที่ 3 หลังปีที่ผ่านมา เดินทางออกไปแล้วจำนวน 37 คน
เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.วันนี้ (24 มิ.ย.) นายไมตรี อินทุสุด ปลัดกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( ปลัด พม.) และคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่บ้านศรีสุราษฎร์ ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมตรวจตรวจดูแลความเป็นอยู่ของชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ที่พักอาศัยอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่บ้านศรีสุราษฎร์จำนวน 76 คน โดย เป็นเด็กชาย จำนวน 10 คน เด็กหญิง จำนวน 10 คน นอกนั้นเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสตรีทั้งหมด โดยมีการฝึกอบรมอาชีพด้านต่างๆ พร้อมจัดให้มีการเรียนการสอนให้เด็ก และผู้ใหญ่เรียนรู้ 3 ภาษา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3
โดยปลัด พม.ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลช่วยเหลือแก่ชาวโรฮีนจา และให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกล่าวว่า ทางรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการดูแลเอาใจใส่คนเหล่านี้ ซึ่งยอมรับว่าการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับบุคคลที่ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม และต่างศาสนา การจัดระเบียบให้อยู่ในระบบการคุ้มครองย่อมมีอุปสรรคบ้าง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้อดทน และใช้หลักความเมตตาธรรมทุกอย่างย่อมผ่านไปด้วยดี โดยปีที่ผ่านมา มีกลุ่มโรฮีนจาเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3 แล้ว จำนวน 37 คน และในปีนี้คาดว่าจะมีการเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3 เพิ่มมากขึ้น
เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.วันนี้ (24 มิ.ย.) นายไมตรี อินทุสุด ปลัดกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( ปลัด พม.) และคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่บ้านศรีสุราษฎร์ ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมตรวจตรวจดูแลความเป็นอยู่ของชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ที่พักอาศัยอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่บ้านศรีสุราษฎร์จำนวน 76 คน โดย เป็นเด็กชาย จำนวน 10 คน เด็กหญิง จำนวน 10 คน นอกนั้นเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสตรีทั้งหมด โดยมีการฝึกอบรมอาชีพด้านต่างๆ พร้อมจัดให้มีการเรียนการสอนให้เด็ก และผู้ใหญ่เรียนรู้ 3 ภาษา เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3
โดยปลัด พม.ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลช่วยเหลือแก่ชาวโรฮีนจา และให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกล่าวว่า ทางรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการดูแลเอาใจใส่คนเหล่านี้ ซึ่งยอมรับว่าการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับบุคคลที่ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม และต่างศาสนา การจัดระเบียบให้อยู่ในระบบการคุ้มครองย่อมมีอุปสรรคบ้าง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้อดทน และใช้หลักความเมตตาธรรมทุกอย่างย่อมผ่านไปด้วยดี โดยปีที่ผ่านมา มีกลุ่มโรฮีนจาเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3 แล้ว จำนวน 37 คน และในปีนี้คาดว่าจะมีการเดินทางไปสู่ประเทศที่ 3 เพิ่มมากขึ้น