สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ยืนยันราคาหมูหน้าฟาร์มที่ปรับขึ้นสอดคล้องต่อราคาหมูในภาพรวมของประเทศจากปริมาณหมูที่ออกสู่ตลาดลดลง ระบุผู้เลี้ยงหมูไม่ได้ฉวยโอกาสขึ้นราคา และราคาหมูในภาคใต้ปรับขึ้นช้ากว่าภูมิภาคอื่นแม้ว่าต้องแบกต้นทุนสูงขึ้นเหมือนกัน
นายศักดิ์สิทธิ์ โอวรารินทร์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า ราคาหมูหน้าฟาร์มในภาคใต้ที่ปรับขึ้นในขณะนี้เกิดขึ้นสอดคล้องตามภาพรวมภาวะตลาดผลิตผลทางการเกษตรในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง อากาศร้อนจัด ทำให้หมูกินอาหารน้อย และโตช้ากว่าปกติ ส่งผลให้มีปริมาณหมูในช่วงนี้ออกสู่ตลาดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
“เกษตรกรไม่ได้ฉวยโอกาส ราคาหมูของภาคใต้ปรับขึ้นตามกลไกของตลาด ทั้งนี้ เกิดขึ้นเหมือนกันทุกภูมิภาคในประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาเนื้อหมูปรับสูงขึ้น เนื่องจากภัยแล้ง ขาดน้ำ และอากาศร้อนจัด ส่งผลให้ปริมาณหมูในตลาดลดลง และภาระต้นทุนการเลี้ยงที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ต้องซื้อข้าวโพด ปลายข้าว และกากถั่วจากภาคกลาง ที่สำคัญ ราคาหมูในภาคใต้ยังปรับขึ้นช้ากว่าภูมิภาคอื่น” นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
สมาคมฯ ได้มีมติประกาศปรับราคาหมูหน้าฟาร์มในภาคใต้ขึ้นมาอยู่ที่ 78 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับภูมิภาคอื่นที่ได้ปรับราคาหมูขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยราคาในภาคเหนืออยู่ที่ 78-80 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนภูมิภาคอื่นราคาอยู่ระหว่างที่ 77-79 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก่อนหน้านี้ ช่วงเดือนเมษายน ราคาหมูในภาคใต้ยังอยู่ที่ระดับ 66-70 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น
“การปรับขึ้นราคาหมูในครั้งนี้ถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติเป็นไปตามภาพรวมราคาหมูในประเทศ และที่สำคัญ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต้องอยู่ได้ เพราะเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งต้องลดปริมาณเลี้ยงหมูลงทำให้รายได้ลดลงอยู่แล้ว และยังต้องเจอกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ราคาหมูจะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะสมดุล” นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
นายศักดิ์สิทธิ์ โอวรารินทร์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า ราคาหมูหน้าฟาร์มในภาคใต้ที่ปรับขึ้นในขณะนี้เกิดขึ้นสอดคล้องตามภาพรวมภาวะตลาดผลิตผลทางการเกษตรในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง อากาศร้อนจัด ทำให้หมูกินอาหารน้อย และโตช้ากว่าปกติ ส่งผลให้มีปริมาณหมูในช่วงนี้ออกสู่ตลาดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด ประกอบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น
“เกษตรกรไม่ได้ฉวยโอกาส ราคาหมูของภาคใต้ปรับขึ้นตามกลไกของตลาด ทั้งนี้ เกิดขึ้นเหมือนกันทุกภูมิภาคในประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาเนื้อหมูปรับสูงขึ้น เนื่องจากภัยแล้ง ขาดน้ำ และอากาศร้อนจัด ส่งผลให้ปริมาณหมูในตลาดลดลง และภาระต้นทุนการเลี้ยงที่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ต้องซื้อข้าวโพด ปลายข้าว และกากถั่วจากภาคกลาง ที่สำคัญ ราคาหมูในภาคใต้ยังปรับขึ้นช้ากว่าภูมิภาคอื่น” นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
สมาคมฯ ได้มีมติประกาศปรับราคาหมูหน้าฟาร์มในภาคใต้ขึ้นมาอยู่ที่ 78 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับภูมิภาคอื่นที่ได้ปรับราคาหมูขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยราคาในภาคเหนืออยู่ที่ 78-80 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนภูมิภาคอื่นราคาอยู่ระหว่างที่ 77-79 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งก่อนหน้านี้ ช่วงเดือนเมษายน ราคาหมูในภาคใต้ยังอยู่ที่ระดับ 66-70 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น
“การปรับขึ้นราคาหมูในครั้งนี้ถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติเป็นไปตามภาพรวมราคาหมูในประเทศ และที่สำคัญ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต้องอยู่ได้ เพราะเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งต้องลดปริมาณเลี้ยงหมูลงทำให้รายได้ลดลงอยู่แล้ว และยังต้องเจอกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ราคาหมูจะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะสมดุล” นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว