ชลบุรี- ปัญหาภัยแล้งกระทบหนัก เกษตรกรชลบุรีต้องซื้อน้ำใช้ในฟาร์มหมู ส่งผลต้นทุนผลิตปรับสูงขึ้น
จากการติดตามปัญหาภัยแล้งที่ยังทวีความรุนแรง และฝนมีแนวโน้มตกช้ากว่าปกติ ปริมาณน้ำในหลายพื้นที่เริ่มขาดแคลน บ่อน้ำที่เกษตรกรกักเก็บสำรองไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เริ่มแห้งขอด ส่งผลเกษตรกรหลายรายในจังหวัดชลบุรี ต้องซื้อน้ำให้หมูกิน และใช้ทำความสะอาดคอก ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูต้องแบกภาระต้นทุนผลิตที่ปรับสูงขึ้นจากการซื้อน้ำ เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงระยะยาวขึ้นจากวิกฤตแล้ง
นายภมร ภูมรินทร์ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร จังหวัดชลบุรี เจ้าของฟาร์มสุกรอยู่ที่ตำบลหนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า อากาศร้อนจัด และภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณน้ำที่เกษตรกรกักเก็บสำรองไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งเริ่มไม่เพียงพอ เกษตรกรหลายรายในจังหวัดที่ยังเลี้ยงหมูอยู่ เริ่มต้องซื้อน้ำจากแหล่งอื่นมาให้หมูกิน และใช้ทำความสะอาด เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดน้ำสะอาด และอากาศร้อนจัด
“วิกฤตภัยแล้งในปีนี้รุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้เลี้ยงหมูต้องแบกภาระต้นทุนหลายทาง ทั้งค่าอาหารเพื่อใช้เลี้ยงหมูนานขึ้น เพราะอากาศร้อนจัด ทำให้หมูโตช้าอยู่แล้ว เกษตรกรยังต้องแบกภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องซื้อน้ำเพื่อให้หมูกิน และใช้ในฟาร์มอึก เพราะน้ำที่เก็บสำรองไว้เริ่มไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้นทุนค่าน้ำจากเดิม 30 บาทต่อตัว เพิ่มขึ้นเป็น 300-600 บาทต่อหมูขุน 1 ตัว หรือ 3-6 บาทต่อเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ดังนั้น ราคาเนื้อหมูที่ขายหน้าฟาร์มที่เพิ่มขึ้นเพราะหมูออกสู่ตลาดน้อย ไม่ได้ทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เป็นไปตามภาวะต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นจริง” นายภมร กล่าว
นายภมร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ฟาร์มหลายแห่งต้องซื้อน้ำจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพ และสะอาดเพียงพอ สามารถนำมาใช้ให้หมูกินได้ อย่าง น้ำบาดาล ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่ 150-200 บาทต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับน้ำที่ใช้ทำความสะอาดเล้า อาจจะใช้น้ำคุณภาพต่ำลงมาราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งราคาน้ำไม่รวมค่าขนส่ง หากฟาร์มอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ต้นทุนก็จะปรับสูงเพิ่มขึ้นอีกตามระยะทาง
จากการติดตามปัญหาภัยแล้งที่ยังทวีความรุนแรง และฝนมีแนวโน้มตกช้ากว่าปกติ ปริมาณน้ำในหลายพื้นที่เริ่มขาดแคลน บ่อน้ำที่เกษตรกรกักเก็บสำรองไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เริ่มแห้งขอด ส่งผลเกษตรกรหลายรายในจังหวัดชลบุรี ต้องซื้อน้ำให้หมูกิน และใช้ทำความสะอาดคอก ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูต้องแบกภาระต้นทุนผลิตที่ปรับสูงขึ้นจากการซื้อน้ำ เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงระยะยาวขึ้นจากวิกฤตแล้ง
นายภมร ภูมรินทร์ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร จังหวัดชลบุรี เจ้าของฟาร์มสุกรอยู่ที่ตำบลหนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า อากาศร้อนจัด และภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณน้ำที่เกษตรกรกักเก็บสำรองไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งเริ่มไม่เพียงพอ เกษตรกรหลายรายในจังหวัดที่ยังเลี้ยงหมูอยู่ เริ่มต้องซื้อน้ำจากแหล่งอื่นมาให้หมูกิน และใช้ทำความสะอาด เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดน้ำสะอาด และอากาศร้อนจัด
“วิกฤตภัยแล้งในปีนี้รุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้เลี้ยงหมูต้องแบกภาระต้นทุนหลายทาง ทั้งค่าอาหารเพื่อใช้เลี้ยงหมูนานขึ้น เพราะอากาศร้อนจัด ทำให้หมูโตช้าอยู่แล้ว เกษตรกรยังต้องแบกภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องซื้อน้ำเพื่อให้หมูกิน และใช้ในฟาร์มอึก เพราะน้ำที่เก็บสำรองไว้เริ่มไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้นทุนค่าน้ำจากเดิม 30 บาทต่อตัว เพิ่มขึ้นเป็น 300-600 บาทต่อหมูขุน 1 ตัว หรือ 3-6 บาทต่อเนื้อหมู 1 กิโลกรัม ดังนั้น ราคาเนื้อหมูที่ขายหน้าฟาร์มที่เพิ่มขึ้นเพราะหมูออกสู่ตลาดน้อย ไม่ได้ทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น แต่เป็นไปตามภาวะต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นจริง” นายภมร กล่าว
นายภมร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ฟาร์มหลายแห่งต้องซื้อน้ำจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพ และสะอาดเพียงพอ สามารถนำมาใช้ให้หมูกินได้ อย่าง น้ำบาดาล ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่ 150-200 บาทต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับน้ำที่ใช้ทำความสะอาดเล้า อาจจะใช้น้ำคุณภาพต่ำลงมาราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งราคาน้ำไม่รวมค่าขนส่ง หากฟาร์มอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ต้นทุนก็จะปรับสูงเพิ่มขึ้นอีกตามระยะทาง