xs
xsm
sm
md
lg

หน่วยทหารช่างเฉพาะกิจเริ่มปรับปรุงซ่อมแซมถนน 37 สาย งบประมาณกว่า 900 ล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
ยะลา - หน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ เริ่มปรับปรุงซ่อมแซมถนน 37 สาย ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา โดยใช้งบประมาณกว่า 900 ล้านบาท

วันนี้ (7 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.อ.วีระศักดิ์ ทองอร่าม หัวหน้ากองบังคับการควบคุมหน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ เปิดเผยว่า การปฏิบัติงานโครงการ กำลังสร้าง และปรับปรุงถนนที่ชำรุดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 37 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการก่อสร้างถนนดังกล่าวได้นำยางพารามาใช้เป็นส่วนผสมในการก่อสร้างด้วยนั้น

โดยมีหน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ กองทัพภาคที่ 1 รับผิดชอบในพื้นที่ จ.นราธิวาส จำนวน 7 เส้นทาง 7 อำเภอ ระยะทางรวม 29.93 กิโลเมตร ในพื้นที่ อ.เมือง ระยะทาง 7.78 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินโครงการไปแล้ว 43.27% อ.ตากใบ ระยะทาง 4.25 กิโลเมตร อ.เจาะไอร้อง ระยะทาง 2.30 กิโลเมตร อ.สุไหงปาดี ระยะทาง 4.10 กิโลเมตร อ.สุไหงโก-ลก ระยะทาง 4.25 กิโลเมตร อ.แว้ง ระยะทาง 3.05 กิโลเมตร อ.สุคิริน ระยะทาง 4.20 กิโลเมตร ปัจจุบัน ดำเนินการแล้ว 1 เส้นทาง ผลรวม 8.81% จากแผนงาน 12.61%
 

 
หน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ กองทัพภาคที่ 2 รับผิดชอบในพื้นที่ จ.ปัตตานี จำนวน 8 เส้นทาง 8 อำเภอ ระยะทางรวม 26.20 กิโลเมตร ในพื้นที่ อ.ปะนาเระ ระยะทาง 2.10 กิโลเมตร อ.มายอ ระยะทาง 2.30 กิโลเมตร อ.หนองจิก ระยะทาง 4.10 กิโลเมตร อ.แม่ลาน ระยะทาง 2.20 กิโลเมตร อ.โคกโพธิ์ ระยะทาง 5.80 กิโลเมตร อ.ยะรัง ระยะทาง 5.40 กิโลเมตร อ.เมือง ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร อ.ยะหริ่ง ระยะทาง 1.80 กิโลเมตร ปัจจุบัน ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรนนิบัติบำรุงยานพาหนะ และเครื่องมือช่างเพื่อเตรียมออกปฏิบัติงานก่อสร้าง และปรับปรุงถนนที่ชำรุดในพื้นที่รับผิดชอบ

ส่วนหน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ กองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบในพื้นที่ จ.ยะลา จำนวน 8 เส้นทาง 8 อำเภอ ระยะทางรวม 37.050 กิโลเมตร ในพื้นที่ อ.เบตง ระยะทาง 6.15 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 25.56% อ.ธารโต ระยะทาง 4.50 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 22.44% อ.เมือง ระยะทาง 3.30 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 30.89% อ.ยะหา ระยะทาง 6 กิโลเมตร อ.บันนังสตา ระยะทาง 5.6 กิโลเมตร อ.รามัน ระยะทาง 3.8 กิโลเมตร อ.กาบัง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร อ.กรงปินัง ระยะทาง 3 กิโลเมตร ปัจจุบัน ดำเนินโครงการไปแล้วผลรวม 10.95% จากแผนงาน 9.04%
 

 
พ.อ.วีระศักดิ์ ทองอร่าม กล่าวว่า สำหรับหน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ กองทัพภาคที่ 4 รับผิดชอบในพื้นที่ จ.นราธิวาส จำนวน 6 เส้นทาง 6 อำเภอ และ จ.ปัตตานี จำนวน 4 เส้นทาง 4 อำเภอ รวมจำนวน 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 41.635 กิโลเมตร ในพื้นที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ระยะทาง 4.35 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 31.00% อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ระยะทาง 5.255 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 15% อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ระยะทาง 3 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 3.47% อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ระยะทาง 3.58 กิโลเมตร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ระยะทาง 5.50 กิโลเมตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ระยะทาง 8.05 กิโลเมตร อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ระยะทาง 2.20 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 20.43% อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ระยะทาง 3.50 กิโลเมตร อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ระยะทาง 2.80 กิโลเมตร อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ระยะทาง 2.40 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินโครงการไปแล้ว ผลรวม 7.81% จากแผนงาน 2.68%

ด้านหน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ รับผิดชอบในพื้นที่ จ.สงขลา จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 15.757 กิโลเมตร ในพื้นที่ อ.นาทวี ระยะทาง 4.615 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 19.22% อ.เทพา ระยะทาง 3.346 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 7.52% อ.สะบ้าย้อย ระยะทาง 5 กิโลเมตร ดำเนินโครงการไปแล้ว 1.27% อ.จะนะ ระยะทาง 2.40 กิโลเมตร ระยะทาง 2.26 กิโลเมตร ปัจจุบัน ดำเนินโครงการไปแล้ว ผลรวม 9.20% จากแผนงาน 8.94%
 

 
ทั้งนี้ หน่วยทหารช่างเฉพาะกิจ รับผิดชอบปรับปรุงซ่อมแซมถนนที่ชำรุดในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา (ระยะที่ 2) ระยะทางรวม 150,572 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 931,926,700 บาท (เก้าร้อยสามสิบเอ็ดล้านเก้าแสนสองหมื่นหกพันเจ็ดร้อยบาท) ปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้ว 7.54% จากแผนงาน 6.33% โดยโครงการก่อสร้างถนนทั้ง 37 เส้นทางดังกล่าว เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน โดยเป็นถนนแบบแอสฟัลติกคอนกรีตผสมยางพารา ซึ่งจากการวิจัยและทดสอบ พบว่า จะทำให้ถนนมีความทนทาน และยืดอายุการใช้งานมากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศด้วย

นอกจากนี้ แม่ทัพภาคที่ 4/ผอ.รมน.ภาค 4 ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติ โดยให้ทุกหน่วยปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ประสานการปฏิบัติกับนายอำเภอ/ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอำเภออย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมภายในแนวคิดประชารัฐร่วมใจ สร้างอำเภอสันติสุข

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กำลังภาคประชาชนให้เข้ามาร่วมในการรักษาความปลอดภัยเส้นทาง และพื้นที่ให้แก่หน่วยทหารช่างในขณะปฏิบัติงาน สำหรับการใช้จ่ายงบประมาณต้องการให้งบประมาณอยู่ในหมู่บ้าน/ท้องถิ่นให้มากที่สุด เช่น การซื้อเสบียงอาหารในพื้นที่ การจ้างแรงงานจากชาวบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่างบประมาณของรัฐลงไปถึงหมู่บ้าน และพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น