กระบี่ - สถาบันสิ่งทอฯ นำผู้ประกอบการสิ่งทอ 5 จังหวัดชายแดนใต้ สร้างสรรค์คอลเลกชันใหม่ที่ จ.กระบี่ ตอบโจทย์ความต้องการผลิตภัณฑ์แฟชั่นมุสลิมในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว คู่ขนานยุทธศาสตร์เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน

วันนี้ (2 ก.พ.) ที่ร้านดาหลาบาติก อ.เมือง จังหวัดกระบี นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สำหรับปี 2559 ทางสถาบันฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ประกอบการสิ่งทอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมยกระดับการพัฒนาแฟชั่นมุสลิมภายใต้แนวคิด “Co-Design” หลอมรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยดึง 3 นักออกแบบชื่อดังทั้งในไทย และในภูมิภาคอาเซียน คือ นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบไทยระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ชนะเลิศรางวัลยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดแฟชั่นระดับโลก MANGO Fashion Awards ณ ประเทศสเปน ปี 2012 และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เข้ามาร่วมพัฒนายกระดับแฟชั่นมุสลิม

นายศักดิ์จิระ เวียงเก่า นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และงานผ้าสำหรับของตกแต่งบ้านที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น และมีสไตล์เฉพาะตัว ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการสิ่งทอไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศผ่านงานแสดงสินค้าต่างๆ จนผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และนักออกแบบจากประเทศมาเลเซีย Mr.Eric Choong หนึ่งในสิบสุดยอดนักออกแบบชื่อดังจากประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านการดีไซน์เสื้อผ้าที่เต็มไปด้วยสีสัน ลูกเล่น ผสมผสานอย่างลงตัวกับการตัดเย็บที่ยังคงใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม

ซึ่งทั้ง 3 นักออกแบบจะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในแบรนด์ LAWA@THTI ร่วมกับผู้ประกอบการ และการนำนักออกแบบ และผู้ประกอบการมายัง จ.กระบี่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการค้นหาแรงบันดานใจจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ผสมผสานเข้ากับจุดเด่นของผ้าบาติก ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่ ทำให้เกิดแนวคิดการออกแบบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความสวยงามของธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สัมผัสกับนักออกแบบนานาชาติ สามารถเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการทำงาน และการออกแบบนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

สำหรับผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมฯ ได้ที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 พระโขนง คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2713-5492 - 9 ต่อ 400 หรือเข้าไปที่ www.muslim-thti.org, www.thaitextile.org/muslim นางสุทธินีย์ กล่าวทิ้งท้าย

วันนี้ (2 ก.พ.) ที่ร้านดาหลาบาติก อ.เมือง จังหวัดกระบี นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สำหรับปี 2559 ทางสถาบันฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ประกอบการสิ่งทอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมยกระดับการพัฒนาแฟชั่นมุสลิมภายใต้แนวคิด “Co-Design” หลอมรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน โดยดึง 3 นักออกแบบชื่อดังทั้งในไทย และในภูมิภาคอาเซียน คือ นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบไทยระดับแนวหน้าของประเทศ ที่ชนะเลิศรางวัลยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดแฟชั่นระดับโลก MANGO Fashion Awards ณ ประเทศสเปน ปี 2012 และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เข้ามาร่วมพัฒนายกระดับแฟชั่นมุสลิม
นายศักดิ์จิระ เวียงเก่า นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และงานผ้าสำหรับของตกแต่งบ้านที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น และมีสไตล์เฉพาะตัว ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการสิ่งทอไทยที่ประสบความสำเร็จด้านการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศผ่านงานแสดงสินค้าต่างๆ จนผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และนักออกแบบจากประเทศมาเลเซีย Mr.Eric Choong หนึ่งในสิบสุดยอดนักออกแบบชื่อดังจากประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านการดีไซน์เสื้อผ้าที่เต็มไปด้วยสีสัน ลูกเล่น ผสมผสานอย่างลงตัวกับการตัดเย็บที่ยังคงใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม
ซึ่งทั้ง 3 นักออกแบบจะร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในแบรนด์ LAWA@THTI ร่วมกับผู้ประกอบการ และการนำนักออกแบบ และผู้ประกอบการมายัง จ.กระบี่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการค้นหาแรงบันดานใจจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ผสมผสานเข้ากับจุดเด่นของผ้าบาติก ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่ ทำให้เกิดแนวคิดการออกแบบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความสวยงามของธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้สัมผัสกับนักออกแบบนานาชาติ สามารถเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการทำงาน และการออกแบบนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมฯ ได้ที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม 4 พระโขนง คลองเตย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2713-5492 - 9 ต่อ 400 หรือเข้าไปที่ www.muslim-thti.org, www.thaitextile.org/muslim นางสุทธินีย์ กล่าวทิ้งท้าย