xs
xsm
sm
md
lg

มนร.ร่วมลงนาม MOU ภาคเอกชนยกระดับการศึกษาในพื้นที่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
นราธิวาส - ม.นราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมลงนาม MOU กับบริษัท อีโค เอ็นเนอร์ยี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยกระดับการศึกษาเยาวชนในพื้นที่ สร้างองค์ความรู้ และต่อยอดทางการศึกษา

วันนี้ (12 ม.ค.) เมื่อเวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) มีการจัดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ในโครงการพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวลในชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการร่วมมือข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และบริษัท อีโค เอ็นเนอร์ยี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาวิชาการ สร้างงานวิจัย และร่วมกันประสานความร่วมมือระหว่างกันด้วยการสนับสนุน และร่วมผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ และมีศักยภาพตรงต่อความต้องการในอนาคตของบริษัท

ซึ่งบริษัท อีโค เอ็นเนอร์ยี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเป็นกระบวนการของการสร้างพลังงาน และเชื้อเพลิงชีวมวลที่เป็นสารจากสิ่งมีชีวิตที่มาจากการเกษตร และป่าไม้ เช่น ไม้ฟื้น ไม้ไผ่ กากอ้อย แกลบ หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึงมูลสัตว์ และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร โดยหลังจากนี้ ทางบริษัทจะร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวลในชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน จะมีการพัฒนาในเรื่องของการวิจัย การสนับสนุน การฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษา ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้ความรู้ และนำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต
 

 
อย่างไรก็ตาม ในการร่วมลงนามข้อตกลง MOU ครั้งนี้ มี ผช.ศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิบการดี มนร. นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานกรรมการบริษัท อีโค เอ็นเนอร์ยี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าฯ นราธิวาส นายศุภณัฐ สิรัฐทวิเนติ รองเลขาธิการ ศอ.บต. นายประชา เตรัตน์ อดีตผู้ว่าฯ นราธิวาส นายรุสดีย์ ดอหะ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ผช.ศ.ดร.สุพัฒน์ สรีสวัสดิ์ รองอธิการบดี มนร. และคุณสายทิพย์ แสงสิงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.อาร์เค ไรท์ส โฮสเดอร์ จำกัด ร่วมลงนามด้วยกัน

และหลังจากร่วมลงนามครั้งนี้แล้ว ระหว่าง มนร.และบริษัท อีโค เอ็นเนอร์ยี กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด จะร่วมกันทดลองปลูกพันธุ์พืชไม้ไผ่ในแปลงปลูกสาธิต เพื่อดูการตอบสนองของพืชที่จะใช้ปลูกต่อไปในอนาคต จากนั้นถึงจะขยายผลไปยังกลุ่มเกษตรกร และเปิดโอกาสให้เกษตรเข้าร่วมโครงการ เพื่อต่อยอดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ต่อไป โดยสำหรับไม่ไผ่นั้นมีต้นทุนในการปลูกอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อไร่ และสามารถได้ต้นทุนคืน หรือกำไรกลับมาเลี้ยงครอบครัวภายใน 2 ปี
 

 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น